Smart Agriculture การนำไอทีมาให้กับอุตสากรรมการปลูกข้าวเพื่อทำเหล้าสาเก

สาเกยี่ห้อดัสไซเป็นสาเกที่มีคุณภาพสูงและมีความแตกต่างจากสาเกยี่ห้ออื่นตรงที่เป็นเหล้าสาเกที่บริสุทธิ์และปราศจาก สารเจือปน ดัสไซกลั่นมาจากข้าวพันธุ์ยามาดะ นิชิกิ ซึ่งมีการนวดและขัดเนื้อข้าวเกินกว่าร้อยละ 50 เหลือไว้แต่เพียงแกนข้าวตรงกลางที่ให้รสชาติที่ละมุนลิ้น คุณสมบัตินี้เองที่ทำให้ดัสไซเป็นสาเกบริสุทธิ์สีขาวใส มาพร้อมกับกลิ่นหอมรัญจวน ส่งผลให้การผลิตดัสไซต้องใช้ จำนวนข้าวต่อขวดมากกว่าสาเกทั่วไป
ข้าวพันธุ์ยามาดะ นิชิกินั้นขึ้นชื่อในเรื่องการปลูกยาก เพราะเป็นข้าวที่มีความบอบบาง และต้องมีการควบคุมปริมาณปุ๋ยและน้ำอย่างถี่ถ้วน นอกจากนี้ การปลูกข้าวพันธุ์นี้ไม่ใช่ทักษะที่เรียนรู้กันได้ง่ายๆ สำหรับเกษตรกรที่ไม่มีประสบการณ์ โดยองค์ความรู้ด้านการปลูกข้าวส่วนใหญ่จะตกทอดกันจากรุ่นสู่รุ่นและแย่ยิ่งไปกว่านั้น มีเกษตรกรหลายรายที่ถอดใจเลิกอาชีพนี้ไปแล้ว ด้วยจำนวนเกษตรกรที่ลดลงนี้ ทำให้ทักษะและประสบการณ์ในการปลูกข้าวยามาดะ นิชิกิ จึงเริ่มสูญหายไปตามกาลเวลา
ในปัจจุบันความนิยมบริโภคสาเกมีเพิ่มสูงขึ้น และความกดดันในเรื่องอุปทานจึงเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย บริษัทอาซาฮี ชูโซะดำเนินมาตรการหลายประการเท่าที่จะทำได้เพื่อขจัดปัญหานี้ถึงแม้ปกติแล้ว สาเกจะมีการเตรียมการผลิตในช่วงฤดูหนาวและใช้เวลาตลอดฤดูใบไม้ผลิในการกลั่น แต่ทางอาซาฮี ชูโซะก็ใช้กระบวนการกลั่นที่กินเวลาตลอดทั้งปี เพื่อรองรับกับความต้องการจำนวนมาก นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้มีการใช้การวัดที่มีความละเอียดรอบคอบ พร้อมกับการวิเคราะห์ข้อมูลเข้ามาร่วมในกระบวนการผลิตอีกด้วย
ในปี 2013 บริษัทอาซาฮี ชูโซะ ก็ยังต้องการข้าว ยามาดะ นิชิกิจำนวนถึง 4,800 ตัน เพื่อรองรับความต้องการ แต่บริษัทฯ ก็ไม่สามารถจัดหามาได้เพียงพอ โดยหาได้เพียงแค่ครึ่งเดียวของจำนวนนั้น อาซาฮี ชูโซะ จะเปลี่ยนมาขึ้นราคาสาเกแทนก็ได้ แต่บริษัทต้องการให้สาเกเข้าถึงกลุ่มตลาดในวงกว้างขึ้น ดังนั้นการหาหนทางจัดหาข้าวยามาดะ นิชิกิให้ได้ปริมาณสูงขึ้น จึงกลายเป็นงานสำคัญของบริษัท
การใช้ข้อมูลการเพาะปลูกในการผลิตสาเก
โซลูชั่นที่อาซาฮี ชูโซะ พบว่าสามารถตอบสนองความท้าทายได้มากที่สุดคือ โซลูชั่น Akisai ของฟูจิตสึ ซึ่งเป็นบริการคลาวด์เพื่ออุตสาหกรรมอาหารและเกษตรกรรม โดยนำข้อมูลและการวิเคราะห์เพื่อมาบริหารจัดการการเพาะปลูก เนื่องจากอาซาฮี ชูโซะได้นำวิธีการทางด้านข้อมูลมาใช้บ้างแล้วนั้น Akisai จึงมีความเหมาะสมเป็นอย่างมาก
ขั้นตอนแรกนั้นเริ่มต้นในเดือนเมษายน 2014 โดยมีการใช้ Akisai ในที่นาปลูกข้าว 2 แห่ง พร้อมกับการติดตั้งเซ็นเซอร์ที่นาข้าว เพื่อวัดอุณหภูมิและความชื้นในอากาศ อุณหภูมิ, ความชื้นในดิน และความอุดมสมบูรณ์ของดิน มีการเก็บข้อมูลเหล่านี้ทุกชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีการติดตั้งกล้องเพื่อคอยสังเกตการณ์ จับภาพท้องนาในแนวพาโนรามาในแต่ละวันเพื่อแสดงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ในส่วนการสรุปข้อมูลของ Akisai จะแสดงข้อมูลให้เกษตรกรเห็นว่ามีการฉีดปุ๋ยในปริมาณเท่าใดและในช่วงเวลาไหนบ้าง โดยข้อมูลเหล่านี้พร้อมให้ใช้งานทันทีเพียงแค่กดปุ่มคอมพิวเตอร์หรือบนสมาร์ตโฟน
เครือข่ายการทำงานเพื่อขยายผลิตผลข้าวยามาดะ นิชิกิ
เกษตรกรสามารถใช้ข้อมูลที่ว่านี้ในการประเมินว่าช่วงเวลาไหนคือช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการให้ปุ๋ยและเก็บเกี่ยวผลิตผลและตอนนี้แม้แต่เกษตรกรที่ไม่มีประสบการณ์ในการปลูกข้าวยามาดะ นิชิกิก็สามารถใช้ Akisai เพื่อช่วยในการปลูกข้าวชนิดนี้ให้ได้ในจำนวนที่เพียงพอ

อาซาฮี ชูโซะเริ่มเปิดโปรแกรมการสอนการปลูกข้าวยามาดะ นิชิกิ ซึ่งเป็นโครงการริเริ่มเพื่อการแบ่งปันข้อมูลและพัฒนาองค์ความรู้ในอุตสาหกรรมนี้ ทางบริษัทฯ หวังที่จะขยายระบบนิเวศนี้ และดึงดูดให้มีเกษตรกรหันมาปลูกข้าวพันธุ์นี้มากขึ้น
โดยใช้ข้อมูลที่บริษัท ได้ผ่านโซลูชั่น Akisai ซึ่งส่งผลให้มีผลิตผลข้าวยามาดะ นิชิกิเพิ่มสูงขึ้น ในปัจจุบันมีองค์กรเกษตรกรรม 4 รายที่ต้องการเข้าร่วมโครงการนี้ และจะเริ่มต้นการทำงานตั้งแต่ฤดูใบไม้ผลิ ในปี 2015
นอกจากนี้ ยังมีผู้สนับสนุนอาซาฮี ชูโซะอีกหลายราย ซึ่งหวังที่จะปรับใช้งานระบบไอซีทีในอุตสาหกรรมการเกษตรของตนเอง ตัวอย่างเช่น บริษัทผู้ผลิตปุ๋ยคาดหวังว่า ข้อมูลใน Akisai จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาปุ๋ยสำหรับข้าวยามาดะ นิชิกิ นอกจากนี้โซลูชั่นยังเปิดโอกาสให้มีการกระตุ้นเศรษฐกิจและเกษตรกรรมท้องถิ่น ในพื้นที่แถบภูเขาที่ในชนบทของประเทศให้กลับมาคึกคักอีกครั้งหนึ่ง และประโยชน์ที่เราได้เห็นจากแอพพลิเคชั่นไอซีทีนี้ก็จะส่งผลให้ระบบนิเวศด้านอุตสาหกรรมการเกษตรที่สร้างบนแพลตฟอร์ม Akisai มีการขยายตัวอย่างแน่นอนในอนาคต