April 24, 2024

โซลูชั่น IoT เพื่อการเกษตรยุคอนาคตจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้

เมื่อเร็วๆ นี้ Intel มีการจัดงาน Intel IOT Solutions Conference 2016 ภายในงานมีการนำเสนอโซลูชั่น IoT เพื่อการทำธุรกิจและใช้ชีวิตในยุคอนาคตมากมาย หนึ่งในนั้นก็คือบูธของทีมวิจัย MJU Smart Farming & Solutions จากคณะวิทยาศาสตร์ และคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยที่อาจไม่ค่อยมีใครพูดถึงนวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีเท่าไรนัก แต่เมื่อเราได้เห็นโซลูชั่นต่างๆ จากบูธนี้ เห็นได้เลยว่า ในแง่ของงานวิจัยและนวัตกรรมนั้น มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ไม่ธรรมดาจริงๆ 

000

โดยสิ่งที่ทีมวิจัย MJU Smart Farming & Solutions จากคณะวิทยาศาสตร์ และคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำแสดงในงานนี้นั้นได้แก่ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ช่วยในด้านการจัดการข้อมูลการเพาะปลูกเพื่อ พัฒนาคุณภาพผลผลิต  โดยมีทีมงานผู้เชี่ยวชาญจากมาหวิทยาลัยมาค่อยให้ข้อมูลภายในบูธ

008

นอกจากนี้ ผศ.ดร.จตุภัทร วาฤทธิ์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ได้รับเชิญเป็นวิทยากรในการให้ข้อมูลการพัฒนาระบบ MJU Smart Farmiวว่า “เราได้จัดทำระบบ Mobile Application โดยเน้นเรื่องการเก็บข้อมูลให้ครอบคลุม ซึ่งจะทำให้ระบบการผลิตและผลผลิตดีขึ้นได้จริง เนื่องจากแต่ละพื้นที่มีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันไป ปัจจัยการผลิตแตกต่างกัน สิ่งที่เราเน้นคือการรวบรวมข้อมูล Solutions โดยในอนาคตเราจะจัดทำเป็นศูนย์กลางข้อมูล Data Center ที่เป็นประโยชน์ต่อภาคการเกษตรต่อไป ขณะที่เรากำลังอยู่ในยุค IOT (Internet of Things) ดังนั้น เราจึงควรดึงศักยภาพของโลกออนไลน์มาใช้กับภาคการเกษตรเพื่อให้เกษตรกรไทยได้ รับการพัฒนาไปพร้อมๆ กัน ขอขอบคุณ Intel ที่ได้สนับสนุนมหาวิทยาลัยแม่โจ้และช่วยสร้างเครือข่ายที่จะทำให้เกิดความ ร่วมมือต่อไปในอนาคตด้วยครับ ทีมวิจัย ได้แก่ ผศ.ดร.โชติพงษ์ กาญจนประโชติ ดร.สมนึก สินธุปวน อ.อลงกต กองมณี คุณพัชรี ยางยืน และนักศึกษา ป.โทอีก 2 ท่าน ได้จัดนิทรรศการแสดงผลงาน Smart Farming Solutions สำหรับ ข้าว ข้าวโพด และ เห็ด ซึ่งเป็น Highlight ด้าน IOT solutions การเกษตรของงานนี้ ได้รับความสนใจและจะมีการขยายความร่วมมือกับภาคส่วนเอกชน IOT ต่อไป ถือเป็นการเปิดตัวมหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่จะเป็นผู้นำด้าน IOT เกษตรในระดับภูมิภาคต่อไป”

 006

ดร.องอาจ กิตติคุณชัย ประธานคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย ได้ร่วมเป็นวิทยากรในส่วนของภาคเอกชน กล่าวว่า “ผลงานของแม่โจ้ได้สร้างความตื่นตัวให้แก่วงการไอทีของไทย และทำให้ทราบว่า มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งเป็นแหล่งวิชาการเกษตรของไทยได้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศรองรับภาคการ เกษตรไปได้อย่างมีประสิทธิภาพจริงจากแปลงทดลองข้าวโพดของซันสวีท การนำเสนอของมหาวิทยาลัยแม่โจ้จึงได้รับความสนใจอย่างมาก ในงาน Intel IOT Solutions Conference 2016 และทำให้ได้ทราบว่า ศักยภาพองค์ความรู้ของนักวิจัยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ น่าชื่นชมและภาคภูมิใจมาก”

ภายในบูธมีโซลูชั่น IoT เพื่อการเกษตรนำมาแสดงหลายชิ้นไม่ว่าจะเป็น ระบบการติดตามและเก็บข้อมูลภาวะแวดล้อมในโรงเรือนเพาะเห็ด ระบบวัดระดับควบคุมการจ่ายน้ำในแปลงนาข้าว โดยมีการติดตั้งเซนเซอร์ต่างๆ ไว้ในแปลงนา ในโรงเรือนเพาะเห็ด โดยมีการส่งข้อมูลระยะไกลจากเซนเซอร์ไปยังตัวรับผ่านคลื่นวิทยุ แทนการใช้เครือข่ายไร้สาย ซึ่งให้ระยะการส่งสัญญาณไกลกว่ามาก โดยสามารถแจ้งข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการเพาะปลูกและเก็บข้อมูลเหล่าเป็นข้อมูลเพื่อใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการเพาะปลูกในอนาคต

009

ตัวอย่างในแปลงนานั้น นำไปใช้ในประยุกต์ในแปลงนาที่ใช้วิธีการปลูกแบบแก้ลงข้าว กล่าวคือ จะปล่อยให้ข้าวขาดน้ำในช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อเป็นการกระตุ้นให้รากและลำต้นข้าวแข็งแรงส่งผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโต และการสร้างผลผลิต โดยเริ่มต้นจากการขังน้ำในแปลงนาที่ระดับความลึก 5 ซม. ในช่วงหลังปักดำจนกระทั่งข้าวอยู่ในช่วงตั้งท้องออกดอก จึงจะเพิ่มระดับน้ำในแปลงอยู่ที่ 7-10 ซม. จากนั้นจะปล่อยให้ข้าวขาดน้ำครั้งที่ 1 ในช่วงการเจริญเติบโตทางลำต้น หรือข้าวมีอายุประมาณ 35-45 วันเป็นเวลา 14 วัน หรือจนกว่าระดับน้ำในแปลงลดลงต่ำกว่าผิวแปลง 10-15 ซม.หรือดินในแปลงนาแตกระแหง จากนั้นถึงปล่อยน้ำเข้านา จนกระทั่งข้าวแตกกอสูงสุด หรือข้าวอายุประมาณ 60-65 วัน ก็จะปล่อยให้ข้าวขาดน้ำครั้งที่ 2 เป็นระยะเวลาอีก 14 วัน  ทำให้การทำนาแบบนี้ต้องการความเอาใจใส่ และต้องมีการควบคุมน้ำในแปลงนาให้ได้ระดับตามที่กำหนดไว้ นั่นจึงทำให้ระบบการควบคุมน้ำโดยใช้เทคโนโลยี IoT ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้จึงมีประโยชน์มากสำหรับการทำนาแบบแกล้งข้าว

รวมถึงมีการนำโดรนมาเพื่อใช้ในการถ่ายภาพแปลงเพาะปลูก และพัฒนาโซลูชั่นการประมวลผลภาพ (Image Processing) มาให้เพื่อวิเคราะห์สุขภาพของพืชในแปลงเพาะปลูก โดยดูจากสีของใบพืชเป็นต้น

001

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *