April 20, 2024

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จับมือซิสโก้ มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้เทคโนโลยีในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง สถาบันอุดมศึกษาชั้นนำแห่งอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกับ บริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อนำเทคโนโลยีต่างๆ ที่ทันสมัยเข้ามาใช้งานเพื่อพัฒนาบุคลากรและนักศึกษา รวมถึงพัฒนาศักยภาพของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ครอบคลุมทั้งองค์กร เพื่อการเป็น Digital University และ ศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยีในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง”

Test4

วิสัยทัศน์การก้าวสู่ Digital University ของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มีการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ครอบคลุม 3 ด้านหลักๆ ได้แก่  Digital Learning, Digital Living และ Digital Managing โดยเป็นการขับเคลื่อน Digital University ด้วยหัวใจ สร้างขึ้นด้วยวัฒนธรรมขององค์กร ไม่ได้เป็นเพียงวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร แต่นักศึกษา บุคลากร อาจารย์ และผู้เกี่ยวข้อง ทุกคนของมหาวิทยาลัยต่างมีส่วนร่วม มาเรียนรู้ร่วมกัน ทำด้วยกัน ก้าวไปข้างหน้าพร้อมกัน ขับเคลื่อนแนวคิด Digital University เข้าไปในหัวใจของทุกคน

IMG_0301

รศ. ดร.ชยาพร วัฒนศิริ อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กล่าวว่า “ หนึ่งในวิสัยทัศน์ Digital University ของเราคือสร้างให้มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยี ไม่ใช่แค่เฉพาะในภาคเหนือ หรือในประเทศไทย แต่เรามุ่งไปสู่ระดับอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยที่ผ่านมาเราประสบความสำเร็จกับการเป็นศูนย์กลางการศึกษาและการให้บริการสุขภาพเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่จะดำเนินการต่อไปคือการมุ่งสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพและมีความเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงในโลกดิจิทัลในทุกระยะ ดังนั้นการร่วมมือกับบริษัทเทคโนโลยีระดับโลกอย่างซิสโก้ ถือเป็นแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาความรู้ สร้างงานวิจัย และนวัตกรรมในเชิงเทคโนโลยีร่วมกันในอนาคต “

IMG_0376
รศ. ดร.ชยาพร วัฒนศิริ อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ดร. ธีรวิศิฏฐ์ เลาหะเพ็ญแสง คณบดีสำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ กล่าวว่า “ ปัจจุบันเรามีการเรียนการสอนด้านเทคโนโลยีมากมาย รวมถึงมีการทำงานวิจัยด้าน Embedded System, AI, IoT และ Software Development มากมาย นอกจากนี้ เรามีการจัดตั้งห้องแลปด้านเทคโนโลยีระบบเครือข่าย โดยมี ดร. มาหะมะ เซะบากอ เป็นผู้รับผิดชอบ ความร่วมมือกับซิสโก้ในครั้งนี้จะทำให้เรามีเนื้อหาการเรียนการสอนในหลักสูตรเกี่ยวกับระบบเครือข่ายมากขึ้น ด้วยจุดแข็งต่างๆ ที่มี ทำให้เราตั้งเป้าหมายว่า นักศึกษาที่จบหลักสูตรนี้จะมีความพร้อมสำหรับการทำงานและเติบโตในหน้าที่การงานสายเทคโนโลยีระบบเครือข่ายในระดับนานาชาติ “

 

ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยแม่ฟังหลวงมีจุดแข็งที่เอื้อต่อการเป็น ศูนย์กลางการเรียนรู้เทคโนโลยีในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง” เช่น การมีหลักสูตรการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ ทำให้บุคลากรของทางมหาลัยแม่ฟ้าหลวงสามารถเรียนรู้ สามารถติดต่อสื่อสารกับต่างประเทศได้อย่างชำนาญ เช่นเดียวกับนักศึกษาก็มีความพร้อมที่จะทำงานในระดับภูมิภาคหรือระดับนานาชาติได้ทันที

 

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงก็เป็นหน่วยงานภาครัฐเพียงไม่กี่แห่งของประเทศไทย ซึ่งมีบุคลากรที่ได้รับประกาศนียบัตร CCIE ซึ่งเป็นประกาศนียบัตรระดับผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีเครือข่ายในระดับสูงสุดจากซิสโก้ รวมถึงยังมี DevNet Certification สำหรับฝั่ง Software Development ได้แก่ ดร. มาหะมะ เซะบากอ ทำให้สามารถนำความรู้มาพัฒนาบุคลากรและนักศึกษาต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

นายวัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทยของซิสโก้ กล่าวว่า “เนื่องจากต้นกำเนิดของซิสโก้ เกิดมาจากสถาบันการศึกษา ทำให้เรามีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาความแข็งแกร่งทางด้านเทคโนโลยีของภาคการศึกษาในประเทศไทยมาโดยตลอด นอกเหนือจากความร่วมมือทางด้านเทคโนโลยี ซึ่งซิสโก้จะให้คำปรึกษาและจัดหาเทคโนโลยีในการวางระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที ให้การสนับสนุนด้านวิชาการและพัฒนาทักษะให้บุคลากรของมหาวิทยาลัย ซิสโก้ยังพร้อมที่จะให้การสนับสนุนเพื่อช่วยผลักดันวิสัยทัศน์การเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีในระดับอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงด้วยเช่นกัน “

 

“เรามีความเชื่อมั่นว่าการสร้างความเสมอภาคให้กับสังคมได้จะต้องมี 2 ปัจจัยประกอบกันนั่นคือ การให้บริการสุขภาพ และการให้การศึกษา เราให้การสนับสนุนสถาบันการศึกษาทั่วโลกในหลายมิติ และเราก็มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีในครั้งนี้ “

 

สำหรับความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงในครั้งนี้ บริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด จะให้การสนับสนุนด้านเทคโนโลยีครอบคลุมด้านต่างๆ ได้แก่ การให้คำปรึกษาสำหรับการวางแผน ออกแบบโครงสร้างพื้นฐานระบบไอทีทั้งในส่วนของระบบเครือข่าย ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และบริการที่เกี่ยวข้อง ครอบคลุมกิจกรรมการเรียนการสอน การพัฒนา Digital Learning Platform, การประสานการทำงานภายในองค์กร, Smart Education, Smart Healthcare เป็นต้น

shutterstock_488140138

รวมถึงการสนับสนุนทางด้านความรู้ และการพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีให้กับบุคลากรของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับทางมหาวิทยาลัยและชุมชน รวมถึงการร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพ และ ยกระดับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงจาก Cisco Network Academy เป็น Cisco Instructor Center (ศูนย์พัฒนาและผลิตอาจารย์ผู้สอน) เป็นต้น