April 16, 2024

“ตงเฟิง”ผนึกกำลัง “หัวเว่ย” ส่วนผสมที่ลงตัวระหว่างเทคโนโลยีไอซีที-ยานยนต์

ฉี เว่ย ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนงานไอที แผนกสารสนเทศระดับองค์กรแห่งตงเฟิง มอเตอร์ กรุ๊ป กล่าวว่า “เมื่อมองย้อนกลับไปที่งานที่ผมทำในช่วงปีที่ผ่านมา ผมได้ใช้เวลาส่วนใหญ่กับทีมงานหัวเว่ย ในแง่ของผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นแล้ว หัวเว่ยสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพสูงในแง่ของการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ เมื่อมีฟีดแบคส่งไปยังฝ่าย R&D ทางทีมงานก็จะรีบดำเนินการตรวจสอบและปรับปรุงอย่างรวดเร็ว ส่วนความร่วมมือระดับบุคคลนั้น ทีมงานของหัวเว่ยสามารถรับมือกับความเห็นที่แตกต่างกันได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และในขั้นตอนของการร่วมมือกันนั้น ตงเฟิงยังได้รับประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการที่มีค่าจากโครงการที่โดดเด่นของหัวเว่ยหลายโครงการ ปัจจุบัน เราได้นำความรู้เหล่านี้ไปใช้ในโครงการภายในของบริษัท และนี่คือเหตุผลว่าทำไมเราจึงเชื่อมั่นว่าจะได้รับประโยชน์อย่างมหาศาลจากความร่วมมือกับหัวเว่ย”

dongfeng_motor_logo_download

ตงเฟิงจับมือกับหัวเว่ยในปี 2015 เพื่อจัดตั้งโครงการนำร่องระบบคลาวด์ภายในองค์กรระบบแรกของพวกเขา และได้เปลี่ยนศูนย์ข้อมูลแบบดั้งเดิมไปเป็นศูนย์ข้อมูลคลาวด์เพื่อให้สอดรับกับความต้องการด้านบริการแบบจำเพาะเจาะจงสำหรับบริษัทในเครือกว่า 300 แห่งของกลุ่มบริษัท

ตงเฟิง มอเตอร์ กรุ๊ป ก่อตั้งขึ้นในปี 1969 และได้ก้าวขึ้นเป็นหนึ่งในองค์กรธุรกิจที่เป็นเสาหลักของอุตสาหกรรมยานยนต์จีน บริษัทมีฐานธุรกิจสำคัญกระจายอยู่ในจีน 4 แห่ง ได้แก่ ซื่อหยาง เสียงหยาง อู่ฮั่น และกว่างโจว โดยพวกเขาได้กำหนดแผนกลยุทธ์ธุรกิจ “based in Hubei, influencing the whole country, facing the world” นอกจากนี้ตงเฟิงยังติดอันดับ 109 บนทำเนียบ Fortune Global 500 ในปี 2015 อีกด้วย

ความท้าทาย

ภาคการผลิตของจีนมีการชะลอตัวลงจากผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจระดับมหภาคและปัจจัยอื่นๆ ขณะที่ตงเฟิง มอเตอร์ ก็กำลังเผชิญกับแรงกดดันจากภาวะชะลอตัวและการปรับโครงสร้างธุรกิจ

ด้วยเหตุนี้ ตงเฟิง กรุ๊ป จึงวางแผนงานระยะ 5 ปี ฉบับที่ 13 ของตนเอง โดยในด้านของการพัฒนาระบบสารสนเทศนั้น ทางกลุ่มบริษัทได้เสนอให้ใช้เทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้งเพื่อนำดาต้าเซ็นเตอร์ SDN ไปปฏิบัติงานจริง ซึ่งจะช่วยรองรับงานบริการพัฒนาระบบสารสนเทศของกลุ่มบริษัทโดยรวมได้เป็นอย่างดี

ในส่วนของการพลิกโฉมบริการห่วงโซ่เชิงยุทธศาสตร์ทั้งหมดให้เป็นดิจิทัลนั้น จะมีงานสนับสนุนที่คอยรองรับการพัฒนาบริการรูปแบบดั้งเดิม อาทิ การผลิต การตลาด การซื้อ และการเงินในระบบของตงเฟิง มอเตอร์ กรุ๊ป ทั้งหมด

ส่วนงานสนับสนุนด้านสารสนเทศจะช่วยให้บริษัทรุดหน้าตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในสมาร์ทคาร์และรถยนต์ที่มีระบบเครือข่ายเชื่อมต่อถึงกันในยุคแห่งอินเทอร์เน็ต

 

โซลูชั่น

ในแง่การพลิกโฉมบริการนั้น ตงเฟิง มอเตอร์ กรุ๊ป ได้มุ่งมั่นคิดค้นโมเดลธุรกิจใหม่อย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมให้เกิดการหลอมรวมอย่างลึกซึ้งระหว่างรถยนต์กับอินเทอร์เน็ต โดยตงเฟิงได้จับมือเป็นพันธมิตรกับหัวเว่ยในปี 2015 และอยู่ในระหว่างดำเนินโครงการนำร่องระบบคลาวด์ภายในองค์กรโครงการแรก เพื่อตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกันของบริษัทในเครือกว่า 300 แห่งและเคลื่อนย้ายศูนย์ข้อมูลดั้งเดิมไปบนระบบคลาวด์ โดยในเบื้องต้นได้เกิดผลสำเร็จแล้ว 4 ด้าน ดังนี้

คลาวด์ส่วนบุคคลที่ตอบสนองข้อกำหนดด้านบริการอันรวดเร็ว:

บริษัทได้ตั้งโจทย์ไว้ว่าคลาวด์ส่วนบุคคลต้องช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูง โดยทำให้บริการต่างๆมีความราบรื่นขึ้น การใช้งานมีความยืดหยุ่นขึ้น และสามารถตอบสนองได้อย่างรวดเร็วเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนผู้ใช้หรือเงื่อนไขบริการ โซลูชั่นศูนย์ข้อมูลคลาวด์จากหัวเว่ยนำเสนอบริการดาต้าเซ็นเตอร์เสมือน (VDC) ที่ให้ความสำคัญกับงานบริการ และสอดรับกับโครงสร้างปัจจุบันของบริษัท การแยก VDC ต่างๆให้เป็นเอกเทศจะช่วยให้ฝ่าย Tier-2 สามารถทำงานอย่างมีอิสระและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ความทุ่มเทของทีมงานไอทียังช่วยให้บริษัทในเครือของตงเฟิงกว่า 10 แห่งสามารถใช้บริการคลาวด์คอมพิวติ้งผ่านทางการดำเนินงานของ VDC ซึ่งถือเป็นการวางรากฐานบริการคลาวด์คอมพิวติ้งให้มีความแข็งแกร่ง

แพลตฟอร์มการจัดการอัตโนมัติแบบครบวงจรและแสดงผลได้:

เป็นเวลายาวนานที่การดำเนินงานของศูนย์ข้อมูลจำเป็นต้องพึ่งพาการลงทุนด้านบุคลากรเป็นอย่างมาก แต่ก็ยังไม่สามารถดูแลรักษาได้อย่างทั่วถึง ดังนั้นโซลูชั่นศูนย์ข้อมูลคลาวด์ของหัวเว่ยจึงนำเสนอแพลตฟอร์มการจัดการอัตโนมัติแบบครบวงจรและแสดงผลได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพในขั้นตอนการดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) ได้เป็นอย่างดี ในขณะเดียวกัน โครงสร้างแบบรวมศูนย์ยังมอบประโยชน์อีกมากมาย ซึ่งรวมถึงการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรได้เพิ่มขึ้นและงาน O&M ที่สะดวกสบายขึ้น โดยจากการประเมินในเบื้องต้นของตงเฟิง พบว่า ต้นทุนด้านไอทีของบริษัทลดลงราว 30% นอกจากนี้ การทำงานในขั้นตอนหลังจากนี้ก็มีสัญญาณบ่งชี้ถึงความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง

 

รับประกันความปลอดภัยในการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบ E2E:

ตงเฟิง กรุ๊ป มีความกังวลเรื่องความปลอดภัยของระบบคลาวด์เป็นอย่างมาก ดังนั้นศูนย์ข้อมูลคลาวด์ของหัวเว่ยจึงสร้างหลักประกันความปลอดภัยในการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบ E2E ทั้งจากฝั่งผู้ใช้งาน, เครือข่าย, ข้อมูล และแพลตฟอร์มคลาวด์ เพื่อการันตีความปลอดภัยของโครงสร้าง ข้อมูลองค์กร และบริการทั้งหมดขององค์กร

 

สถาปัตยกรรมแบบเปิดและรวมศูนย์:

ในที่สุด ระบบปฏิบัติการคลาวด์ Huawei FusionSphere ก็ได้รับการพัฒนาขึ้นบนสถาปัตยกรรมแบบเปิด OpenStack โดยระบบดังกล่าวช่วยให้สามารถบริหารจัดการแหล่งทรัพยากรและฟังก์ชั่นการสร้างระบบเสมือนที่ทรงพลัง, เครื่องมือและองค์ประกอบของบริการคลาวด์ที่หลากหลาย รวมถึงอินเทอร์เฟส API แบบเปิดสำหรับคลาวด์คอมพิ้วติ้งและการปรับปรุงระบบ อีกทั้งสนับสนุนการเข้าถึงอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และไฮเปอร์ไวเซอร์ที่แตกต่างกัน ซึ่งความสามารถเหล่านี้สอดคล้องกับความต้องการสถาปัตยกรรมแบบเปิดและรวมศูนย์ที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จในการลงทุนอย่างคุ้มค่าและการพิจารณาศักยภาพในการพัฒนาของตงเฟิง กรุ๊ปในอนาคต

ประโยชน์ที่ได้รับ

ตงเฟิงมองว่าการเลือกทำงานร่วมกับหัวเว่ย จะช่วยให้พวกเขาสามารถคว้าโอกาสจากอินเทอร์เน็ต, การเข้าถึงระบบอัจฉริยะ, บิ๊กดาต้า, การขับเคลื่อนเองอย่างอัตโนมัติ ตลอดจนโอกาสเชิงกลยุทธ์อื่นๆ จากบรรดาอุตสาหกรรมเกิดใหม่ โดยการจับกระแสคลื่นลูกใหม่ของการปฏิวัติอุตสาหกรรม สำหรับหัวเว่ยแล้ว ความร่วมมือกับตงเฟิงครั้งนี้จะช่วยขยายบทบาทของบริษัทในด้านเทคโนโลยี IoV ให้ลึกซึ่งยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันก็ทำให้ผลิตภันฑ์และเทคโนโลยีของหัวเว่ยถูกนำไปใช้ในยานพาหนะเพิ่มขึ้น

ในฐานะผู้ให้บริการโซลูชั่นไอซีทีระดับโลก หัวเว่ยมีความเข้าใจตลาดอย่างชัดเจน, มีข้อได้เปรียบอันแข็งแกร่งในด้านการวิจัยและพัฒนา, มีแบรนด์สินค้าที่ทรงอิทธิพลในวงกว้าง อีกทั้งสามารถรับประกันการให้บริการได้อย่างครอบคลุม โดยหัวเว่ยได้เริ่มพัฒนาเทคโนโลยี IoV และโดเมนยานพาหนะอันชาญฉลาดนี้มาเป็นระยะเวลานาน ด้วยความมุ่งมั่นที่จะก้าวขึ้นเป็นองค์กรชั้นนำในด้านโมดูล IoV

ปัจจุบันมีบริษัท 197 แห่งที่ติดทำเนียบ Fortune Global 500 และองค์กรชั้นนำระดับโลก 45 จาก 100 แห่ง ที่วางใจเลือกหัวเว่ยเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์เพื่อช่วยในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถอ่านได้ที่