April 26, 2024

ตามไปดูแนวคิด “มาเลเซีย” เจ้าแรกของเอเชียใช้คลาวด์สร้างโปรเจ็คยักษ์รถไฟ MRT

ถือเป็นอีกหนึ่งการนำคลาวด์เทคโนโลยีมาใช้อย่างชาญฉลาดกับโครงการวางระบบก่อสร้างทางรถไฟ Mass Rapid Transit ใน Klang Valley ความยาว 51 กิโลเมตรของมาเลเซีย โดยการพัฒนาครั้งนี้ใช้งบก่อสร้าง 32,000 ล้านริงกิต หรือประมาณ 7.57 พันล้านเหรียญสหรัฐ

สำหรับโครงการก่อสร้างในเส้นทาง Sungai Buloh-Serdang-Putrajaya หรือ SSP นี้คาดว่าจะสามารถเพิ่มผลผลิตขึ้น 35% ในด้านการออกแบบก่อสร้างเมื่อเทียบกับโครงการ ก่อนหน้าอย่างสาย SBK โดย Poh Seng Tiok ผู้อำนวยการด้านการวางแผนและออกแบบของ Malaysia Mass Rapid Transit Corporation (MRTC) อธิบายว่า วัตถุประสงค์หลักของโปรเจ็คคือการเพิ่มความแม่นยำในการก่อสร้าง ลดปัญหาการออกแบบใหม่ และหวังใช้เพื่อปรับปรุงมาตรฐานด้านความปลอดภัยเพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถเชื่อมต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเวนเดอร์แต่ละรายได้อย่างราบรื่น นอกจากนี้ การนำกระบวนการดิจิตอลเข้ามาช่วยยังลดความท้าทายในการจัดการกับข้อมูลเก่า ๆ อีกด้วย

โดย MRTC เป็นหนึ่งในประเทศแรก ๆ ของเอเชียที่มีการนำคลาวด์มาใช้เพื่อประสานการทำงานของข้อมูลในโปรเจ็คการก่อสร้าง

ด้านพาร์ทเนอร์ผู้ให้บริการคลาวด์แก่ MRTC ก็คือ Bentley Systems ซึ่งเป็นพาร์ทเนอร์แบบ ISV (independent software vendor) ของไมโครซอฟท์ ซึ่งทำให้ MRTC สามารถใช้ Azure ได้ในโปรเจ็คนี้นั่นเอง โดย มร. Poh กล่าวว่า ตอนนี้ทุกโปรเจ็คสามารถทำงานร่วมกันได้แบบไดนามิก และสามารถใช้โมเดลแบบองค์รวมเพื่อนำไปสู่การออกแบบร่วมกันแม้จะมีเวนเดอร์ภายนอกหลาย ๆ เจ้า ซึ่งทำให้โปรเจ็คที่มีความซับซ้อนสูงมากโปรเจ็คนี้สามารถลดการรวมกระจุกของข้อมูลได้นั่นเอง

นอกจากนั้น ยังสามารถให้หน่วยงานที่ปรึกษาเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นได้โดยตรงจากฐานข้อมูลเพื่ออัปเดตข้อมูลการออกแบบ ทำให้ที่ปรึกษาสามารถได้เห็นข้อมูลการออกแบบที่อัปเดตที่สุด และช่วยลดความผิดพลาดของการให้คำปรึกษาลงได้

ทั้งนี้ มาเลเซียคาดว่าโปรเจ็คดังกล่าวจะเสร็จตามกำหนดภายในงบประมาณที่กำหนด และสามารถเพิ่ม Productivity ได้ถึง 35 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับโปรเจ็คก่อนหน้าอย่างสาย SBK มากไปกว่านั้น การทำงานบนคลาวด์ยังสามารถรีวิวการออกแบบในระบบเวอร์ชวลได้ตลอดเวลาด้วย ซึ่งทำให้ทีมสามารถมองเห็นและบริหารจัดการกันได้บนโมเดลเดียวกัน

Construction_of_MRT_-_done_large

ความท้าทายของการรวม

แพลตฟอร์มเข้าด้วยกัน

มร. Poh กล่าวว่า การใช้แพลตฟอร์มแบบรวมศูนย์นี้สามารถช่วยให้ผู้ใช้งาน 1,500 คนใน the Common Data Environment (CDE) เข้ามาเปิดใช้เอกสาร 45,000 ฉบับอย่างไฟล์งานออกแบบร่วมกันได้ แม้จะมีขนาดของไฟล์ใหญ่มากถึง 750 กิกะไบต์

นอกจากนั้นยังทำให้การตัดสินใจทำด้วยความมั่นใจมากขึ้น และสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพในการออกแบบได้ร่วมกัน ซึ่งลดโอกาสที่จะเสียเวลาในการออกแบบลงได้

ข้อดีอีกข้อหนึ่งคือการทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้ความท้าทายหรือขีดจำกัดต่าง ๆ ที่ MRTC ก็ประสบปัญหาไม่แพ้โปรเจ็คอื่น ๆ โดยหนึ่งในความท้าทายนั้นคือการที่มีการเปลี่ยนแปลงไซต์งานจำนวนมากระหว่างการก่อสร้าง

อย่างไรก็ดี ความท้าทายที่สุดคือเรื่องของข้อมูลที่ต้องมั่นใจได้ว่ากำลังทำงานอยู่บนข้อมูลที่อัปเดตล่าสุดเท่านั้น และการทำงานร่วมกันแบบเรียลไทม์บางทีอาจเกิดความผิดพลาดขึ้นได้สูงหากข้อมูลล่าสุดไม่ได้ถูกดึงขึ้นมาทำงานบน Common Data Environment ซึ่งความผิดพลาดเหล่านี้จะนำไปสู่การก่อสร้างที่ล่าช้า และเกิดค่าใช้จ่ายจากการเปลี่ยนแบบไปมานั่นเอง

นั่นจึงเป็นที่มาว่า การใช้เมโธโดโลจีอย่าง BIM (Building Information Modelling) ในโครงการก่อสร้าง และนำคลาวด์กับโมเดล 3 มิติมาใช้จะช่วยให้โปรเจ็คระดับนี้สามารถเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง

มร.Poh ชี้ว่า BIM methodology นั้นมีความเสถียรมากพอที่จะเปลี่ยนจากการใช้งาน 2D CAD ร่วมกับเอกสาร ไปสู่การทำงาน CAD แบบสามมิติร่วมกับการแชร์ข้อมูลในรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ พร้อมกล่าวด้วยว่าความสำเร็จของโครงการก่อสร้างของ MRTC ที่นำคลาวด์มาใช้และทำให้เวนเดอร์ทุกฝ่ายเข้าถึงข้อมูลได้แบบไร้รอยต่อนี้แสดงให้เห็นว่ามันสามารถเกิดขึ้นได้จริงสำหรับระบบการทำงานร่วมกันแบบ Seamless ของทีมงานจำนวนมาก

ประเด็นนี้จะนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพของแรงงานที่รัฐบาลท้องถิ่นตั้งเป้าไว้ว่าจะเพิ่มให้ได้มากกว่านี้ภายในปี 2020 ซึ่งอาจหมายความว่า MRTC ต้องนำแพลตฟอร์มนี้มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของวิศวกร รวมถึงเรื่องของ Productivity ว่าจะต้องดีขึ้น

ยกตัวอย่างเช่น การได้ดูโมเดลจำลองก่อนจะช่วยให้วิศวกรสามารถตรวจสอบได้ว่า การออกแบบครั้งนี้โอเคหรือไม่ ซึ่ง MRTC พบว่า การตัดสินใจรับ BIM Maturity เลเวล 2 สำหรับรถไฟสาย KVMRT SSP  รวมถึงการใช้ Common Data Environment (CDE) นั้นสามารถลดกระบวนการทำงานแบบแมนนวลลงได้

“นี่เป็นโปรเจ็คแรกของเอเชียที่นำ BIM Level 2 และวิธีการทำงานแบบแอดวานซ์มาใช้ ซึ่งเชื่อว่าจะกลายเป็นมาตรฐานของรัฐบาลชั้นนำหลาย ๆ ประเทศในโปรเจ็คระดับใหญ่ต่อไป”

“โปรเจ็คการก่อสร้างขนาดใหญ่ที่มีรายละเอียดสูง และต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากจะได้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มคลาวด์ที่สามารถแชร์ข้อมูลและการทำงานร่วมกันได้นี้ ซึ่งในภาพรวมแล้วจะส่งผลดีต่อประชาชนในเมืองและเศรษฐกิจ” อัลเบอร์โต กรานาโดส รองประธานของไมโครซอฟท์ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกล่าวพร้อมเสริมว่า

“ภาคอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจจะได้เห็นผลกระทบจาก Digital Transformation ชัดขึ้น รวมถึงองค์กรต่าง ๆ ที่ Go Digital แล้วนั้นจะเริ่มเห็นประโยชน์จากข้อมูลอินไซต์แบบเรียลไทม์ ผ่านเครื่องมือการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่ง MRTC เองก็มีระบบของ Bentley System อย่าง ProjectWise และ AssetWise ให้ใช้งานแล้วเช่นกัน”

ที่มา https://computerworld.com.sg/tech/infrastructure/how-cloud-bursts-through-construction-challenges-in-malaysias-new-mrt-system/