March 29, 2024

Fujitsu Store as a Services in Retail Business สร้างความแตกต่าง และขับเคลื่อนธุรกิจค้าปลีกยุคดิจิทัล

ท่ามกลางสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนทั้งการแข่งขันทางธุรกิจ ความต้องการของผู้บริโภค และกฎข้อบังคับของภาครัฐ ผู้ประกอบการจึงต้องเร่งปรับกลยุทธ์ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ผู้ประกอบการร้านค้าปลีกและร้านอาหารที่มีสาขาจำนวนมาก จำเป็นต้องสร้างธุรกิจที่มีความยืดหยุ่น พร้อมปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

ทำให้วันนี้ผู้ประกอบการค้าปลีกและร้านอาหารหลายรายต้องมองหาโซลูชันที่สามารถตอบสนองต่อความรวดเร็ว และถูกต้องมากขึ้น ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวนี้ทำให้เกิดการใช้ทั้งอุปกรณ์ รวมถึงโซลูชันต่าง ๆ ขับเคลื่อนธุรกิจค้าปลีกสู่การเป็นดิจิทัลสโตร์ (Digital Store) เพื่อเก็บข้อมูลส่วนตัวและพฤติกรรมของลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ โดยเน้นสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าผู้ใช้บริการด้วยโซลูชันการจัดการแบบรวมศูนย์ ในธุรกิจค้าปลีกที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในธุรกิจที่มีสาขาจำนวนมาก แน่นอนว่าหากสามารถบริหารจัดการอุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ให้ทำงานได้อย่างคุ้มค่า ก็จะส่งผลทำให้ธุรกิจดำเนินได้อย่างราบรื่นไม่มีสะดุด

แต่ปัจจุบันผู้ประกอบการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ จากหลากหลายผู้จำหน่าย ซึ่งอาจกลายเป็นเรื่องที่ทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นในการบริหารจัดการ และหากมองในแง่มุมของการจัดหาอุปกรณ์นี้เพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบการเอง ย่อมทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อจัดหา ค่าติดตั้งและค่าบำรุงรักษา ในแต่ละอุปกรณ์เอง อีกทั้งยังต้องใช้พื้นที่ในการจัดวางอุปกรณ์เพื่อการซ่อมบำรุง ทำให้เสียเวลาและต้นทุนในการตรวจเช็กทรัพย์สินอีกด้วย หากลองวิเคราะห์กระบวนการ ก็จะเห็นถึงต้นทุนค่าใช้จ่ายและภาระหน้าที่อื่น ๆ ที่แฝงอยู่ และยังหมายถึงการที่ต้องฝึกพนักงานให้มีความรู้ที่ต้องสามารถแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง และบ่อยครั้งพนักงานต้องลงมือบันทึกข้อมูลการขายด้วยมือ ในระหว่างที่ระบบมีปัญหา จนทำให้พนักงานต้องมาทำงานซ้ำ และบันทึกข้อมูลในระบบในภายหลัง ที่อาจเสี่ยงต่อความผิดพลาดจนทำให้กระทบกับลูกค้า
จนทำให้ลูกค้าไม่พอใจได้อีกด้วย

ฟูจิตสึนำเสนอแนวคิดในการเปลี่ยนเม็ดเงินลงทุนในสินทรัพย์ ให้เป็นค่าใช้จ่ายแบบคาดการณ์ได้เป็นรายเดือน

ผู้ประกอบการค้าปลีกและร้านอาหาร ต่างก็ต้องเผชิญกับค่าใช้จ่ายในการลงทุนกับสินทรัพย์ (IT Asset) และวัสดุอุปกรณ์
ต่าง ๆ ต้องจัดหาทีมงานภายในขององค์กรเป็นผู้ดูแล (Internal Resources) ทำให้ต้องมีการจัดเตรียมแผนงบลงทุนให้ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และในบางครั้งก็มีเหตุจำเป็นที่ทำให้การคาดการณ์ แผนงบการลงทุนนั้นมีความคลาดเคลื่อนไปอย่างมากจนทำให้กระทบกับศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ การจัดการกระแสเงินสด หรือแม้กระทั่งกระทบต่อความสามารถในการให้บริการลูกค้า เป็นต้น

ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า การบริหารจัดการธุรกิจด้วยการควบคุมงบประมาณที่ดี มีส่วนสำคัญในการที่จะทำให้ผู้บริหารกิจการมีความมั่นใจในการคิดกำหนดกลยุทธในการแข่งขันทางธุรกิจได้อย่างเหมาะสม อาทิเช่น นำเงินลงทุนไปใช้ต่อยอดในการขยายสาขา การนำเงินไปใช้ในการจัดซื้อวัตถุดิบที่จำเป็นเพื่อไม่ให้เสียโอกาสในการสร้างรายได้ เป็นต้น

ข้อดีของการปรับรูปแบบของการลงทุนในสินทรัพย์ให้เป็นค่าใช้จ่ายคือ ลดภาระการจัดการทางด้านการตรวจสอบทางบัญชี เช่น การต้องหาบุคลากรมาคอยทำหน้าที่ในการตรวจนับทรัพย์สิน การจัดการจำหน่ายทรัพย์สินเมื่อถึงกำหนดขายซาก เป็นต้น และในการประเมินศักยภาพของการดำเนินธุรกิจโดยเฉพาะบริษัทมหาชนอัตราส่วนการใช้ต้นทุนเมื่อเทียบกับทรัพย์สิน (Return on Asset) นั้น เป็นส่วนหนึ่งในการวัดขีดความสามารถในการบริหารกิจการ

001

Store as a Services การให้บริการที่จะแบ่งเบาภาระที่ไม่จำเป็นของผู้ประกอบการค้าปลีก และการบริหารต้นทุนที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 

จากประสบการณ์ในการให้บริการลูกค้าในกลุ่มธุรกิจค้าปลีกในประเทศไทยมามากกว่า 25 ปี โดยมีทั้งกลุ่มค้าปลีกทั้งในส่วนที่เป็นของคนไทยและต่างชาติ ทั้งในรูปแบบร้านสะดวกซื้อ ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหาร และห้างสรรพสินค้า จึงทำให้ฟูจิตสึมองเห็นถึงโอกาสที่จะปรับปรุงพัฒนารูปแบบในการนำเสนอบริการที่จะช่วยตอบโจทย์ทางธุรกิจของผู้ประกอบการค้าปลีกได้ด้วยบริการในรูปแบบที่เรียกว่า Store as a Services (STaaS)

โดยบริการนี้ ได้รวมเอาอุปกรณ์ด้านไอทีที่จำเป็นสำหรับผู้ประกอบการค้าปลีก รวมเข้ากับบริการสนับสนุนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เข้าไว้ด้วยกัน แล้วคิดเป็นค่าใช้จ่ายรายเดือนต่อสาขา ในรูปแบบ Operation Expense (OPEX) โดยที่ผู้ประกอบการค้าปลีกสามารถคาดการณ์ค่าใช้จ่ายล่วงหน้าได้

เปรียบเสมือนบริการสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า ประปา หรืออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง  ทางผู้ประกอบการฯ เพียงแค่แจ้งความต้องการเกี่ยวกับอุปกรณ์ไอที  อาทิเช่น อุปกรณ์มีปัญหา ต้องการเพิ่มจุดขาย ต้องการโยกย้ายอุปกรณ์ หรือต้องการติดตั้งเครื่องสำหรับงาน marketing event แบบเร่งด่วน ฟูจิตสึก็จะจัดส่งเจ้าหน้าที่สนับสนุน ความต้องการในทันที ตามข้อตกลงในการให้บริการที่มีการตกลงกันไว้ ผู้ประกอบการฯ จึงไม่จำเป็นต้องมีความกังวลเรื่องภาระต่าง ๆ เหล่านี้อีกต่อไป และนำเวลาอันมีค่าไปมุ่งเน้นการสร้างยอดขาย และสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้อย่างเต็มที่

002

Fujitsu Store as a Services เป็นมากกว่าการให้บริการซ่อมแซมอุปกรณ์ แต่คือผู้ช่วยสนับสนุนทางเทคโนโลยีในยุคที่ธุรกิจค้าปลีกต้องขับเคลื่อนด้วย Digital Store

หากเรานึกภาพถึงการที่ลูกค้าเดินทางเพื่อมาซื้อสินค้าหรือรับบริการ ตั้งแต่ก้าวแรกที่เข้ามาในร้านค้า ประสบการณ์ของลูกค้าได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว พนักงานที่หน้าร้านต้องให้บริการต้อนรับ แนะนำสินค้าและบริการที่ถูกใจลูกค้า การจัดตกแต่งร้าน การจัดวางสินค้าอย่างเหมาะสม  การให้บริการที่รวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำ การชำระค่าสินค้าและบริการที่ง่ายดาย และการใช้คะแนนคูปองส่วนลดที่ดึงดูดใจ เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกประทับใจ และอยากกลับมาเป็นลูกค้าประจำ  เบื้องหลังภาพที่สวยงามเหล่านั้นเป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากความสามารถของผู้ประกอบการ ในการใช้ข้อมูลทางธุรกิจ (Business Data) ที่มีผลต่อการกำหนดกลยุทธทางธุรกิจและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ซึ่งไม่อาจปฏิเสธได้ว่า การนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลทางด้านค้าปลีก อาทิเช่น POS, IoT camera, Mobile Ordering, Self Check Out, Scan & Go, Click & Collect, Drive-Thru System, Electronics Shelf Label, E-Member, E-Coupon ฯลฯ ล้วนมีส่วนในการเก็บรวมรวมข้อมูลที่สำคัญจนนำไปสู่การเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น

ด้วยอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ที่มีจำนวนมากขึ้น และต้องใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในการดูแลมากขึ้น  บริการ Fujitsu Store as a Service จึงตอบโจทย์ผู้ประกอบการค้าปลีกในการลดภาระค่าใช้จ่ายและความยุ่งยากในการดูแลเรื่องดังกล่าว  ด้วยการออกแบบโซลูชันที่มีการเก็บข้อมูลรายละเอียดอุปกรณ์ทุกชิ้น (Equipment Data) การตรวจสอบสถานะการใช้งานอุปกรณ์แบบเรียลไทม์ (Real Time Monitoring) การวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับอุปกรณ์ผ่านระบบ Big Data และสร้างรายงาน (Visualization) หลากหลายมุมมองเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต  (Predictive) และดำเนินการเข้าแก้ไขก่อนที่จะเกิดปัญหาร้ายแรงจนทำให้บริการต้องหยุดชะงัก รวมถึงออกแบบช่องทางการติดต่อและให้บริการช่วยเหลือกับผู้ประกอบการฯ โดยการนำเอา แชทบอท (ChatBots) ปัญญาประดิษฐ์ (AI)
มาประยุกต์ใช้ ซึ่งทำให้สามารถลดความเสี่ยงที่ธุรกิจจะเกิดการสะดุดเป็นเวลานาน ที่อาจส่งผลเสียกับการดำเนินธุรกิจและความประทับใจในการให้บริการลูกค้า

ด้วยบริการ Fujitsu Store as a Service ธุรกิจค้าปลีกสามารถวางใจในเรื่องเหล่านี้ได้ และสามารถพัฒนาต่อยอดเพื่อประสบการณ์ของลูกค้า และขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตจนสามารถเรียกได้ว่าเป็น Digital Store” ได้อย่างแท้จริง

โซลูชันที่หลากหลายจากฟูจิตสึที่ตอบสนองกับความเปลี่ยนแปลงของธุรกิจค้าปลีกแห่งอนาคต (Retail Next Normal)

นอกเหนือจากบริการ Store as a Service ที่เป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนการปฏิบัติงานที่หน้าร้าน Physical Store ให้กับผู้ประกอบการฯ แล้ว  ฟูจิตสึก็ยังมี โซลูชันที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจค้าปลีก อีกมากมาย ซึ่งเราเรียกกลุ่มผลิตภัณฑ์เหล่านี้ว่า Fujitsu Connected Retail Platform อันเกิดจากการผนวกเอาหลากหลาย โซลูชันที่เกี่ยวข้องเข้ามาเชื่อมโยงกัน เพื่อสร้างประสบการณ์ในการเลือกซื้อสินค้าและบริการได้แบบไร้รอยต่อ
สารมารถเก็บรวบรวมข้อมูลลูกค้าจากช่องทางการขายรูปแบบต่าง ๆ (Touch Point) ให้เป็นหนึ่งเดียว ได้อย่างเป็นระบบ เพื่อให้สามารถสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้าแบบเฉพาะบุคคล (Personalization) ให้เกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์  ยกตัวอย่างเช่น Commerce Solution, Omni-channel Solution, Retail Platform Solution, Data Analytics for Retail Solution, Warehouse Management Solution
และ In-store Technology Solution เป็นต้น

ทีมงานที่พร้อมด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในธุรกิจค้าปลีกของฟูจิตสึและพันธมิตร

ด้วยทีมงานของฟูจิตสึที่มีอยู่ 126,400 คน ทั่วโลก และพันธมิตรทางธุรกิจมากกว่า 30,000 ราย ทำให้ฟูจิตสึ พร้อมนำประสบการณ์และทีมงานที่เชี่ยวชาญมาสนับสนุนและให้บริการแก่ผู้ประกอบการที่ต้องการก้าวสู่การเป็นธุรกิจค้าปลีก
และร้านอาหารยุคดิจิทัล เพื่อก้าวสู่ความสำเร็จไปด้วยกัน

มาร่วมสัมผัสบริการและเทคโนโลยีที่ช่วยขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของฟูจิตสึได้ที่ Fujitsu ActivateNow 2021

ดูข้อมูลและลงทะเบียนได้ที่นี่

005