05/30/2023

Top Story

ไมโครซอฟท์แจ้งเตือนว่าจะหยุดบริการ Internet Explorer จริงๆ มิถุนายนนี้

เมื่อสุดสัปดาห์ก่อน ไมโครซอฟท์ได้แจ้งเตือนลูกค้าวินโดวส์อีกครั้งว่าจะปลดระวางเว็บบราวเซอร์ Internet Explorer 11 จากวินโดวส์ 10 เวอร์ชั่นที่จะอัปเดตในเดือนมิถุนายนที่จะถึงนี้ โดยจะแทนด้วยบราวเซอร์ใหม่ที่พัฒนาจาก Chromium อย่าง Microsoft Edge แทน

(more…)

ระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์กลายเป็นวาระสำคัญในที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทขององค์กรในอาเซียน อันเป็นผลจากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเพราะสถานการณ์โรคระบาดครั้งใหญ่

พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ (NASDAQ: PANW) ผู้นำระดับโลกด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ เปิดเผยงานวิจัยฉบับใหม่ที่พบว่า คณะกรรมการบริษัทของเหล่าผู้นำธุรกิจในอาเซียนให้ความสำคัญกับปัญหาด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์อันเป็นผลสืบเนื่องจากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากสถานการณ์โควิด-19 โดยงานศึกษาวิจัยเรื่อง “สถานการณ์ระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ในอาเซียน” ได้สำรวจแนวทางการรับมือต่อความท้าทายด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ในปี 2564 รวมทั้งมุมมองในอนาคตของปัญหานี้ และได้รับคำตอบจากตัวแทนภาคธุรกิจกว่า 500 คน ในประเทศสิงค์โปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย
(more…)

เอ็นทีที จับมือ ซิสโก้ พลิกโฉมการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง ให้กับโรงพยาบาลศิริราชในประเทศไทย

 บริษัท เอ็นทีที จำกัด (NTT Ltd.) ผู้ให้บริการเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก ร่วมมือกับ ซิสโก้ เพื่อช่วยเหลือโรงพยาบาลศิริราช ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดในประเทศไทยในการใช้ระบบการแพทย์ทางไกลเพื่อให้สามารถรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างรวดเร็ว โดยใช้ชื่อว่า “Siriraj Mobile Stroke Unit” ซึ่งเป็นหน่วยรถพยาบาลพิเศษที่สามารถเชื่อมต่อการสื่อสารระหว่างผู้ช่วยเหลือฉุกเฉินในรถพยาบาลกับผู้เชี่ยวชาญที่อยู่โรงพยาบาล ซึ่งช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยและให้การรักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วยได้ทันท่วงทีในระหว่างการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปโรงพยาบาล
(more…)

ตรวจวัดระดับน้ำ-สถานการณ์น้ำเรียลไทม์ด้วยแอพ SWOC WL จากกรมชลประทาน

กรมชลประทานก้าวสู่ยุค 4.0 มุ่งสู่องค์กรอัจฉริยะ เปิดตัว ไม้บรรทัดวัดระดับน้ำ “แอปพลิเคชั่น SWOC WL” บนโทรศัพท์มือถือ สร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมของประชาชนตรวจวัดระดับน้ำได้ด้วยตนเองแบบเรียลไทม์

ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า แอปพลิเคชั่น SWOC WL เป็นแอปพลิเคชั่นตรวจวัดระดับน้ำ ที่กรมชลประทานได้พัฒนาขึ้นมาให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่จะมุ่งขับเคลื่อนประเทศสู่ Thailand 4.0 และเป็นไปตามแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กรมชลประทานภายใต้กรอบแนวคิด RID No.1 ซึ่งได้ตั้งเป้าที่จะนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการบริหารจัดการน้ำและพัฒนาระบบการทำงาน เพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรอัจฉริยะให้ได้ภายในปี 2579 ตลอดจนยังเป็นการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมของประชาชนตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกรมชลประทานอีกด้วย

สำหรับแอปพลิเคชั่น SWOC WL ดังกล่าว สามารถดาวน์โหลดเปิดใช้งานได้บนโทรศัพท์มือถือ ทั้งระบบปฏิบัติการ Android และระบบปฏิบัติการ iOS ซึ่งจะทำให้ประชาชนสามารถตรวจวัดระดับน้ำได้ด้วยตนเอง ด้วยการแสกน AR MARKER แล้ววัดระดับน้ำในบริเวณที่สนใจ ระบบจะประมวลผลและส่งผลการประเมินพร้อมข้อมูลต่างๆ ที่สำคัญ เช่น สถานการณ์น้ำในปัจจุบัน แนวโน้มของระดับน้ำในลำน้ำ กลับไปให้ผู้ใช้งานแบบอัตโนมัติ ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นยำ และเชื่อถือได้

โดยกรมชลประทานมีแผนต่อยอดจุดบริการ SWOC WL ทั้งสิ้น 935 จุด ให้ครอบคลุมลำน้ำต่างๆ ทั่วทั้งประเทศ ภายในระยะเวลา 3 – 5 ปี ซึ่งในปีนี้เป็นปีนำร่อง เริ่มติดตั้งจุดบริการ 3 แห่ง คือ บริเวณท่าเรือวังหลัง (ศิริราช) (กรุงเทพฯ) ท่าเรือนนทบุรี (จ.นนทบุรี) และตลาดน้ำอยุธยา (วัดท่าการ้อง จ.อยุธยา) ในปีงบประมาณ 2562 จะดำเนินการติดตั้งจุดบริการเพิ่มเติมอีก 150 จุด กระจายตามลำน้ำสำคัญทั่วประเทศ ในปีงบประมาณ 2563 ติดตั้งจุดบริการเพิ่มเติมอีก 300 จุด และในปีงบประมาณ 2564 ติดตั้งจุดบริการเพิ่มเติมอีก 482 จุด รวมเป็น 935 จุด ครอบคลุมลำน้ำต่างๆ ทั่วทั้งประเทศ ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้กรมชลประทานได้รับข้อมูลสถานการณ์น้ำ ณ เวลาจริง และประชาชนทั่วประเทศก็สามารถตรวจวัดระดับน้ำ ณ จุดต่างๆ ของลำน้ำที่ตนเองสนใจได้ตลอดเวลา พร้อมทั้งได้รับข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์ของลำน้ำนั้นๆ จากศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ (SWOC) เพิ่มเติมด้วย ในปีแรกนี้ ประชาชนจะสามารถตรวจวัดระดับน้ำ และทราบสถานะของระดับน้ำในลำน้ำว่าอยู่ที่สถานะไหน ปกติ เฝ้าระวัง หรือเตือนภัย เท่านั้น แต่นับเป็นก้าวแรกในการพัฒนาแอปพลิเคชั่นที่ให้ประชาชนสามารถตรวจวัดระดับน้ำ และติดตามสถานการณ์น้ำได้ด้วยตนเอง ซึ่งในปีที่ 2 – 4 SWOC WL จะถูกพัฒนาเพิ่มเติมให้สามารถประมวลผล และรายงานแนวโน้มของสถานการณ์น้ำในลำน้ำที่ตรวจวัดให้ผู้ใช้แอปพลิเคชั่นทราบ รวมถึงสามารถติดตามสถานการณ์น้ำของลำน้ำต่างๆ ทั่วประเทศได้อีกด้วย ซึ่งระบบ SWOC WL คาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ภายในปี พ.ศ. 2564

 

ทั้งนี้ ในปัจจุบัน SWOC จะเป็นศูนย์บัญชาการในการประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ การติดตาม พยากรณ์สถานการณ์น้ำ การจัดสรรน้ำ การเฝ้าระวังเพื่อการเตือนภัยจากน้ำ โดยนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาจัดการกับข้อมูลให้สอดคล้องกับเหตุการณ์ปัจจุบัน รวมถึงการนำข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาเชื่อมโยงและจัดทำเป็นฐานข้อมูลกลาง สะดวกต่อการใช้งาน สามารถนำมาติดตาม วิเคราะห์ และพยากรณ์สถานการณ์น้ำ ได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ รวดเร็ว น่าเชื่อถือ ทันเหตุการณ์ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการบริหารจัดการน้ำสำหรับการเกษตร อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย และทำให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

 

นอกจากนี้ ดร.ทองเปลวยังกล่าวถึงยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีว่า ได้กำหนดเป้าหมายให้ประชาชนมีความสุข ความปลอดภัย ความก้าวหน้า และส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบกับ วิสัยทัศน์เชิงนโยบาย Thailand 4.0 โดยการปรับเปลี่ยนให้ประเทศไทยขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน “สานพลังประชารัฐ” ส่งเสริมโครงสร้างด้านการสื่อสารและโทรคมนาคมที่มีคุณภาพ

“ที่ผ่านมาการดำเนินงานของกรมชลประทาน นอกจากจะสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีแล้ว ยังสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 แผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ 20 ปี ตลอดจนสอดคล้องกับนโยบายต่างๆ ของรัฐบาลอีกด้วย” ดร.ทองเปลว กล่าวในตอนท้าย

 

ทางด้าน นายภาสกร เงินเจริญกุล ผู้อำนวยการฝ่ายขายภาครัฐ บริษัท ฟูจิตสึ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวเพิ่มเติมว่า บริษัท ฟูจิตสึ (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับความไว้วางใจให้เป็นผู้วางระบบแอปพลิเคชั่น SWOC WL ให้กับกรมชลประทาน ซึ่งเป็นแอปพลิเคชั่นทีมีประโยชน์กับประชาชนบริเวณพื้นที่ชายฝั่งแม่น้ำและพื้นที่ใกล้เคียง รวมทั้งประชาชนทั่วไปที่จะได้รับรู้สถานการ์ณน้ำ ณ.ขณะนั้น ซึ่งแอปพลิเคชั่น SWOC WL เป็นเหมือนไม้บรรทัด ดิจิทัลวัดระดับน้ำในแม่น้ำ ซึ่งรองรับทั้งระบบปฏิบัติการ iOS และ Android  โดยสามารถทําการค้นหาและติดตั้งแอปพลิเคชั่น SWOC WL ได้จาก App Store สำหรับ iOS และ Google Play Store สำหรับ Android เมื่อเปิดแอปพลิเคชั่น SWOC WL และสแกน AR MARKER ตามจุดที่มีการติดตั้งไว้ ไม้บบรทัด ดิจิทัลวัดระดับน้ำ ก็จะปรากฎขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้แอปพลิเคชั่นทำการวัดระดับน้ำในแม่น้ำ เพื่อตรวจสอบระดับน้ำในขณะนั้น โดยจะเทียบระดับน้ำปัจจุบัน กับ ระดับน้ำเตือนภัย และระดับน้ำวิกฤต ทำให้ผู้ใช้แอปพลิเคชั่นทราบว่าระดับน้ำ ณ ขณะนั้นอยู่ในเกณฑ์เช่นใด โดยลักษณะข้อมูลจะเป็นแบบเรียลไทม์ตลอด 24 ชั่วโมง โดยทุกครั้งที่มีการสแกน AR MARKER  ข้อมูลจะถูกส่งมายังกรมชลประทาน ทำให้กรมชลประทานสามารถทราบข้อมูลที่เป็นจริงเพื่อเตรียมพร้อมในการดูแลความปลอดภัย

PRO TREK Smart WSD-F20 สมาร์ทวอชรุ่นสมบุกสมบันจาก Casio

หลังจากรอกันมานาน ในที่สุด Casio ก็เปิดตัวสมาร์ทวอชของตัวเองออกมาแล้วที่งาน CES 2017 แค่เห็นหน้าตาก็อยากได้มาเป็นเจ้าของกันแล้วใช่ไหมครับ สำหรับ PRO TREK Smart WSD-F20 สมาร์ทวอชรุ่นสมบุกสมบันรุ่นล่าสุดจาก Casio

bg

003

PRO TREK Smart WSD-F20 ใช้ระบบปฏิบัติการ Android Wear 2.0 และออกแบบมาด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตัวของ Casio นั่นคือเป็นนาฬิการุ่นสมบุกสมบันตามมาตรฐาน  MIL-STD-801G กันน้ำน้ำลึก 50 เมตร กันกระแทก ติดตั้งเซ็นเซอร์ GPS รุ่นกินพลังงานต่ำ และแผนที่ที่สามารถใช้งานแบบ off-line ได้ รวมถึงมีความสามารถพื้นฐานแบบเดียวกับอุปกรณ์ fitness trackers ทั่วไปอย่างครบถ้วน

สามารถใช้งานร่วมกับสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต ทั้ง Android และ iOS มาพร้อมกับฟังก์ชั่นการสื่อสารไร้สายทั้ง  Bluetooth V4.1 (Low Energy) และ Wi-Fi (IEEE 802.11 b/g/n)

004

001

PRO TREK Smart WSD-F20 ติดตั้งจอแสดงผล LCD สีแบบสัมผัสขนาด 1.32 นิ้ว ด้านบนติดตั้งกระจกกันรอขีดข่วน จอขนาดใหญ่ที่สามารถแสดงข้อมูลต่างๆ รวมถึงแสดงพิกัด GPS และแผนที่ตำแหน่งที่เราอยู่ได้เลย รวมถึงสามารถเปลี่ยนฟังก์ชั่นการแสดงผลหน้าจอด้านหลังได้หลากหลายตามแต่่วัตถุประสงค์การใช้งาน

002
มีหน้าจอให้เลือกใช้งานมากมาย และสามารถดาวน์โหลดเพิ่มได้

ข้อมูลจากเว็บไซต์ของ Casio ระบุว่า แบตเตอรี่สามารถใช้งานได้นานประมาณ 1 เดือน ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง ในกรณีใช้งานเป็นาฬิกาเพียงอย่างเดียว แต่หากใช้งานทั่วไปในแบบสมาร์ทวอชจะใช้งานได้นานประมาณ 1 วัน หน้าปัดกว้าง 56.4 มิลลิเมตา น้ำหนักประมาณ 92 กรัม

Casio เตรียมวางขาย PRO TREK Smart WSD-F20 ในเดือนเมษายนนี้ มีให้เลือก 2 สี คือสีส้มและสีดำ แม้จะยังไม่ระบุราคาออกมา แต่เชื่อว่าหลายคนคงเตรียมหยอดกระปุกไว้แล้วอย่างแน่นอน สาวก Casio ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง

000

 

โซลูชั่น IoT เพื่อการเกษตรยุคอนาคตจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้

เมื่อเร็วๆ นี้ Intel มีการจัดงาน Intel IOT Solutions Conference 2016 ภายในงานมีการนำเสนอโซลูชั่น IoT เพื่อการทำธุรกิจและใช้ชีวิตในยุคอนาคตมากมาย หนึ่งในนั้นก็คือบูธของทีมวิจัย MJU Smart Farming & Solutions จากคณะวิทยาศาสตร์ และคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยที่อาจไม่ค่อยมีใครพูดถึงนวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีเท่าไรนัก แต่เมื่อเราได้เห็นโซลูชั่นต่างๆ จากบูธนี้ เห็นได้เลยว่า ในแง่ของงานวิจัยและนวัตกรรมนั้น มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ไม่ธรรมดาจริงๆ 

000

โดยสิ่งที่ทีมวิจัย MJU Smart Farming & Solutions จากคณะวิทยาศาสตร์ และคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำแสดงในงานนี้นั้นได้แก่ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ช่วยในด้านการจัดการข้อมูลการเพาะปลูกเพื่อ พัฒนาคุณภาพผลผลิต  โดยมีทีมงานผู้เชี่ยวชาญจากมาหวิทยาลัยมาค่อยให้ข้อมูลภายในบูธ

008

นอกจากนี้ ผศ.ดร.จตุภัทร วาฤทธิ์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ได้รับเชิญเป็นวิทยากรในการให้ข้อมูลการพัฒนาระบบ MJU Smart Farmiวว่า “เราได้จัดทำระบบ Mobile Application โดยเน้นเรื่องการเก็บข้อมูลให้ครอบคลุม ซึ่งจะทำให้ระบบการผลิตและผลผลิตดีขึ้นได้จริง เนื่องจากแต่ละพื้นที่มีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันไป ปัจจัยการผลิตแตกต่างกัน สิ่งที่เราเน้นคือการรวบรวมข้อมูล Solutions โดยในอนาคตเราจะจัดทำเป็นศูนย์กลางข้อมูล Data Center ที่เป็นประโยชน์ต่อภาคการเกษตรต่อไป ขณะที่เรากำลังอยู่ในยุค IOT (Internet of Things) ดังนั้น เราจึงควรดึงศักยภาพของโลกออนไลน์มาใช้กับภาคการเกษตรเพื่อให้เกษตรกรไทยได้ รับการพัฒนาไปพร้อมๆ กัน ขอขอบคุณ Intel ที่ได้สนับสนุนมหาวิทยาลัยแม่โจ้และช่วยสร้างเครือข่ายที่จะทำให้เกิดความ ร่วมมือต่อไปในอนาคตด้วยครับ ทีมวิจัย ได้แก่ ผศ.ดร.โชติพงษ์ กาญจนประโชติ ดร.สมนึก สินธุปวน อ.อลงกต กองมณี คุณพัชรี ยางยืน และนักศึกษา ป.โทอีก 2 ท่าน ได้จัดนิทรรศการแสดงผลงาน Smart Farming Solutions สำหรับ ข้าว ข้าวโพด และ เห็ด ซึ่งเป็น Highlight ด้าน IOT solutions การเกษตรของงานนี้ ได้รับความสนใจและจะมีการขยายความร่วมมือกับภาคส่วนเอกชน IOT ต่อไป ถือเป็นการเปิดตัวมหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่จะเป็นผู้นำด้าน IOT เกษตรในระดับภูมิภาคต่อไป”

 006

ดร.องอาจ กิตติคุณชัย ประธานคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย ได้ร่วมเป็นวิทยากรในส่วนของภาคเอกชน กล่าวว่า “ผลงานของแม่โจ้ได้สร้างความตื่นตัวให้แก่วงการไอทีของไทย และทำให้ทราบว่า มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งเป็นแหล่งวิชาการเกษตรของไทยได้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศรองรับภาคการ เกษตรไปได้อย่างมีประสิทธิภาพจริงจากแปลงทดลองข้าวโพดของซันสวีท การนำเสนอของมหาวิทยาลัยแม่โจ้จึงได้รับความสนใจอย่างมาก ในงาน Intel IOT Solutions Conference 2016 และทำให้ได้ทราบว่า ศักยภาพองค์ความรู้ของนักวิจัยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ น่าชื่นชมและภาคภูมิใจมาก”

ภายในบูธมีโซลูชั่น IoT เพื่อการเกษตรนำมาแสดงหลายชิ้นไม่ว่าจะเป็น ระบบการติดตามและเก็บข้อมูลภาวะแวดล้อมในโรงเรือนเพาะเห็ด ระบบวัดระดับควบคุมการจ่ายน้ำในแปลงนาข้าว โดยมีการติดตั้งเซนเซอร์ต่างๆ ไว้ในแปลงนา ในโรงเรือนเพาะเห็ด โดยมีการส่งข้อมูลระยะไกลจากเซนเซอร์ไปยังตัวรับผ่านคลื่นวิทยุ แทนการใช้เครือข่ายไร้สาย ซึ่งให้ระยะการส่งสัญญาณไกลกว่ามาก โดยสามารถแจ้งข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการเพาะปลูกและเก็บข้อมูลเหล่าเป็นข้อมูลเพื่อใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการเพาะปลูกในอนาคต

009

ตัวอย่างในแปลงนานั้น นำไปใช้ในประยุกต์ในแปลงนาที่ใช้วิธีการปลูกแบบแก้ลงข้าว กล่าวคือ จะปล่อยให้ข้าวขาดน้ำในช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อเป็นการกระตุ้นให้รากและลำต้นข้าวแข็งแรงส่งผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโต และการสร้างผลผลิต โดยเริ่มต้นจากการขังน้ำในแปลงนาที่ระดับความลึก 5 ซม. ในช่วงหลังปักดำจนกระทั่งข้าวอยู่ในช่วงตั้งท้องออกดอก จึงจะเพิ่มระดับน้ำในแปลงอยู่ที่ 7-10 ซม. จากนั้นจะปล่อยให้ข้าวขาดน้ำครั้งที่ 1 ในช่วงการเจริญเติบโตทางลำต้น หรือข้าวมีอายุประมาณ 35-45 วันเป็นเวลา 14 วัน หรือจนกว่าระดับน้ำในแปลงลดลงต่ำกว่าผิวแปลง 10-15 ซม.หรือดินในแปลงนาแตกระแหง จากนั้นถึงปล่อยน้ำเข้านา จนกระทั่งข้าวแตกกอสูงสุด หรือข้าวอายุประมาณ 60-65 วัน ก็จะปล่อยให้ข้าวขาดน้ำครั้งที่ 2 เป็นระยะเวลาอีก 14 วัน  ทำให้การทำนาแบบนี้ต้องการความเอาใจใส่ และต้องมีการควบคุมน้ำในแปลงนาให้ได้ระดับตามที่กำหนดไว้ นั่นจึงทำให้ระบบการควบคุมน้ำโดยใช้เทคโนโลยี IoT ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้จึงมีประโยชน์มากสำหรับการทำนาแบบแกล้งข้าว

รวมถึงมีการนำโดรนมาเพื่อใช้ในการถ่ายภาพแปลงเพาะปลูก และพัฒนาโซลูชั่นการประมวลผลภาพ (Image Processing) มาให้เพื่อวิเคราะห์สุขภาพของพืชในแปลงเพาะปลูก โดยดูจากสีของใบพืชเป็นต้น

001

 

โรงพยาบาลธนบุรี 2 เสริมความแกร่งระบบเครือข่ายเพื่อก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง

Print

ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทและยกระดับการให้บริการสุขภาพของโรงพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ (Hospital Information System : HIS) เครื่องเอ็กซเรย์ที่ทันสมัย อุปกรณ์แพทย์ต่างๆ เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับแพทย์และพยาบาล รวมถึงการให้บริการเครือข่ายไร้สายแก่ผู้มาใช้บริการ เหล่านี้ ล้วนแล้วแต่ต้องการระบบเครือข่ายประสิทธิภาพสูง ที่ไม่เพียงช่วยให้การรับส่งข้อมูลทางการแพทย์ต่างๆ ทำได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัยเท่านั้นหากแต่ต้องสามารถรองรับการขยายตัวตามการเติบโตของโรงพยาบาลได้

โรงพยาบาลธนบุรี 2 ในฐานะของโรงพยาบาลชั้นนำมุ่งมั่นพัฒนาการให้บริการทางการแพทย์ และการให้บริการที่เป็นเลิศ อบอุ่นดุจญาติมิตรมุ่งเน้นการสร้างความปลอดภัยและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ โดยให้บริการรักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วยโดยมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญครอบคลุมทุกสาขา ได้แก่ สาขาอายุรกรรม ศัลยกรรม สูติ-นรีเวชกรรม กุมารเวชศัลยกรรมกระดูกและข้อ ศัลยกรรมประสาท ศัลยกรรมตกแต่ง อายุรกรรมหัวใจ ทางเดินอาหาร ทางเดินปัสสาวะ โรคปอด โรคไต ไขข้อ โรคเลือดประสาทวิทยา ผิวหนัง จักษุ-โสต-ศอ นาสิก จิตเวช ศูนย์จิตวิทยาและพัฒนาเด็ก เวชศาสตร์ฟื้นฟูและฝังเข็ม กายภาพบำบัด และทันตกรรม ระบบปลอดเอดส์ พร้อมเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทันสมัย เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง ทางโรงพยาบาลสามารถให้บริการผู้ป่วยนอกได้วันละ 1,000 คน

วางระบบเครือข่ายใหม่ เพื่อรองรับการขยายตัว

ตลอดระยะเวลาการดำเนินงานที่ผ่านมา โรงพยาบาลธนบุรี 2 มีการขยายตัว เพื่อรองรับผู้ใช้บริการที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องตามการขยายตัวของชุมชนเมือง ล่าสุดโรงพยาบาลได้มีการปรับปรุงระบบเครือข่ายภายในโรงพยาบาลใหม่ทั้งหมดเพื่อรองรับปริมาณการใช้งานข้อมูลขนาดใหญ่ที่มากขึ้น และเพิ่มความรวดเร็วในการรับส่งข้อมูลรวมถึงสร้างโอกาสการขยายตัวของระบบไอทีในอนาคต

“ระบบไอทีมีบทบาทและถือว่าเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการดำเนินงานของโรงพยาบาล ซึ่งต้องมีความเกี่ยวข้องกับชีวิตของผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการบุคคลากรของเราจำเป็นต้องมีระบบไอทีที่ทันสมัย และมีความแม่นยำในการช่วยประมวลผลข้อมูลการรักษาและต้องสามารถผสานการทำงานของระบบไอทีทางการแพทย์ต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น ระบบ HIS (Hospital Information System) ซึ่งเป็นระบบหลักของโรงพยาบาล ระบบ LIS (Lab Information System) ซึ่งเป็นระบบไอทีช่วยให้การวินิจฉัยโรคต่างๆ ระบบ PACS ซึ่งเป็นระบบช่วยในการอ่านภาพการเอ็กซเรย์ในระบบดิจิตอล รวมถึงการเชื่อมโยงกับอุปกรณ์การแพทย์ เพื่อให้สามารถวินิจฉัยอาการเจ็บป่วยได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็ว” คุณกีรติ อภิบุณโยภาส ผู้ช่วยผู้อำนวยการสายบริหาร โรงพยาบาลธนบุรี 2 กล่าว

KMIT-Eworld May-June 2016 -Output
คุณกีรติ อภิบุณโยภาส ผู้ช่วยผู้อำนวยการสายบริหาร โรงพยาบาลธนบุรี 2

อย่างไรก็ตาม การจัดหารระบบไอทีมาใช้งานภายในโรงพยาบาล ไม่ใช่การจัดซื้อโซลูชั่นไอทีต่างๆ มาใช้งานแต่เพียงอย่างเดียว แต่หน้าที่ของฝ่ายไอทีในโรงพยาบาลคือต้องนำระบบไอทีมาทำงานร่วมกันอย่างมีเสถียรภาพ เพื่อช่วยยกระดับการให้บริการสุขภาพให้ได้มาตรฐานในระดับสากล การสร้างความประทับใจแก่ผู้ใช้บริการ

“เพื่อระบบต่างๆ ทำงานประสานกันอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพเราต้องมีระบบเครือข่ายความเร็วสูง สามารถรับส่งข้อมูลทางการแพทย์และข้อมูลผู้ใช้บริการได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องแม่นยำ ด้วยเหตุนี้เราจึงมีการปรับปรุงระบบเครือข่ายทั้งหมดของโรงพยาบาล โดยเป็นการปรับปรุงระบบเครือข่ายที่มีอยู่แล้วในอาคาร 1 และออกแบบระบบเครือข่ายใหม่พร้อมๆ กับการก่อสร้างอาคารโรงพยาบาลหลังที่ 2 โดยเลือกใช้บริการจากบริษัท เคมิท กรุ๊ป จำกัด” คุณกีรติ กล่าวเสริม

ความไว้วางใจในผู้ให้บริการ

เรารู้จักและใช้บริการจากบริษัท เคมิท กรุ๊ป มาเป็นระยะเวลามากกว่า 7 ปี โดยในระยะแรกโรงพยาบาลเลือกใช้บริการดูแลรักษาระบบไอทีหรือ MA (Maintenance Service Agreement) ซึ่งด้วยความเอาใจใส่ในการให้บริการ และมีทีมงานที่มีความรู้ความชำนาญ ทำให้เมื่อเราต้องการปรับปรุงระบบเครือข่ายทั้งหมดในโรงพยาบาล เราจึงวางใจเลือกใช้บริการจาก เคมิท กรุ๊ป อีกครั้งหนึ่ง

IMG_2878
คุณกีรติ อภิบุณโยภาส ผู้ช่วยผู้อำนวยการสายบริหาร โรงพยาบาลธนบุรี 2 (กลาง) คุณธีรวัฒน์ วงศ์ทาเครือ (ขวา) คุณฉัตรณรงค์ กุลมา (ซ้าย) ประธานและรองประธานกรรมการผู้จัดการ บริษัท เคมิท กรุ๊ป จำกัด

เคมิท กรุ๊ป เข้ามาทำหน้าที่ ให้คำปรึกษา ออกแบบ และติดตั้งระบบเครือข่ายใหม่ทั้งหมดให้กับโรงพยาบาล ครอบคลุมทั้งระบบเครือข่ายแบบใช้สายและไร้สายความเร็วสูงสำหรับบุคคลากร แพทย์ และพยาบาล โดยสิ่งที่โรงพยาบาลต้องการคือ ระบบเครือข่ายความเร็วสูง พร้อมระบบสำรองที่สามารถทำงานได้ทันทีหากระบบหลักเกิดปัญหา ขณะเดียวกันก็ต้องสามารถขยายตัวตามการเติบโตของโรงพยาบาลได้ด้วย คุณกีรติกล่าวว่า

ความร่วมมือกันในการวางระบบเครือข่ายของโรงพยาบาลกับ เคมิท กรุ๊ป ดำเนินการโดยอ้างอิงตามมาตรฐาน ISO 27001 โดยมีหนึ่งในหัวใจหลักคือ ระบบเครือข่ายจะต้องมีความปลอดภัยในการรับส่งข้อมูลทางการแพทย์ที่สำคัญด้วย เช่นกัน ซึ่ง เคมิท กรุ๊ป ก็มีการให้คำแนะนำโซลูชั่นที่เหมาะกับการใช้งานของโรงพยาบาลได้เป็นอย่างดี คุณกีรติกล่าวเสริม “จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ตั้งแต่การเปิดให้บริการในอาคาร 2 ระบบเครือข่ายของโรงพยาบาลถือว่ามีเสถียรภาพและมีความมั่นคงสูงมาก ทำให้การทำงานของแพทย์ พยาบาล และบุคคลากรในส่วนงานต่างๆ ของโรงพยาบาลเป็นไปได้อย่างราบรื่น ถ้าหากระบบเครือข่ายมีปัญหา เคมิท กรุ๊ป ก็พร้อมส่งเจ้าหน้าที่มาดูแลแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การดำเนินงานของโรงพยาบาลเป็นไปอย่างต่อเนื่อง”

นอกเหนือจากเครือข่ายแบบใช้สายแล้ว เครือข่ายไร้สายความเร็วสูงที่ เคมิท กรุ๊ป ติดตั้งให้ก็ช่วยอำนวยความสะดวกแพทย์สามารถเข้าถึงข้อมูลการรักษาต่างๆ ผ่านคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กและอุปกรณ์โมบาย ทำให้การดูและและวินิจฉัยอาการป่วยทำได้อย่างรวดเร็ว

การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานระบบเครือข่ายของโรงพยาบาลในครั้งนี้ ไม่เพียงทำให้โรงพยาบาลสามารถให้บริการผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้น หากแต่ยังรองรับการเติบโตในอนาคตของกลุ่มโรงพยาบาลที่มีแผนในการขยายตัวสู่ภูมิภาค AEC รวมถึงการก้าวไปสู่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ด้วย

KMIT GROUP CO., LTD.

333/105 Moo 4, Lak Si Plaza Building Tower 2 Floor 7 Kamphaeng Phet 6 Rd.,

Tarad Bang Khen, Lak Si, Bangkok 10210 Tel. 02-576-1304-5 Fax. 02-576-1306

www.kmit-group.com E-Mail : sales@kmit-group.com

Picture

แฮกเกอร์ พบช่องในเว็บไซต์กระทรวงกลาโหมสหรัฐ

AA004533.jpeg

หลังจากทางเพนทากอน ประกาศเชิญชวนเหล่าแฮกเกอร์ให้เข้าร่วมการการทดสอบและหาช่องโหว่ที่อาจมีอยู่ในเว็บไซต์ในสังกัดกระทรวงกลาโหมสหัรฐจำนวน 5 เว็บไซต์ ได้แก่ defense.gov, dodlive.mil, dvidshub.net, myafn.net และ dimoc.mil  ซึ่งทดสอบระหว่างวันที่ 18 เมษายนถึง 12 พฤษภาคมที่ผ่านมา

งานนี้มีเหล่าเฮกเกอร์และผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์จำนวนกว่า 1400 คน เข้าร่วมทดสอบระบบในครั้ง ผลปรากฏออกมาว่า เหล่าแฮกเกอร์ได้ค้นพบช่องโหว่ที่ความเสี่ยงต่างๆ ในเว็บไซต์ทั้ง 5 แห่งจำนวนถึง 1189 จุด หนึ่งในนั้นมีช่องโหว่ที่ที่มีความเสี่ยงสูงจำนวนมากถึง 138 จุด ซึ่งเพนทากอนก็จ่ายเงินรางวัลแก่แฮกเกอร์ผู้ค้นพบเป็นจำนวนรวมกว่า 70000 เหรียญ หรือราว 2.5 ล้านบาท

ทั้งนี้ นายแอชตัน คาร์เตอร์ รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐ เปิดเผยว่า หากต้องจ้างบริษัทภายนอกมาทดสอบระบบ และประเมินความเสี่ยง เพื่อหาช่องโหว่ดังกล่าว ต้องใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 1 ล้านเหรียญ ซึ่งการอาศัยความเชี่ยวชาญจากกเหล่าแฮกเกอร์ถือเป็นไอเดียที่ดีอยู่ไม่น้อยเลย นอกจากจะช่วยประหยัดงบประมาณแล้ว โครงการเชิญแฮกเกอร์นอกจากช่วยหาช่องโหว่ด้านความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ของกระทรวงยังเป็นการสร้างสัมพันธ์อันดีและหาพันธมิตร ซึ่งอาจกลายเป็นกำลังสำคัญด้านไซเบอร์ของอเมริกาในอนาคตได้ด้วย

matt-cutts-google-1465584196

นอกเหนือจากโครงการเชิญชวนแฮกเกอร์มีร่วมเจาะระบบแล้ว ล่าสุดเพนทากอนยังได้จ้าง Matt Cutts หัวหน้าของทีมเว็บสแปมของ Google มาดูแลหน่วยงาน Defense Digital Serve  ของเพนทากอนอีกด้วย

ใช่ใช่เฉพาะเพนทากอนเท่านั้น แต่ยักษ์ไอทีใหญ่อย่าง Facebook, Twitter และ Google เองก็มีโครงการลักษณะนี้เช่นเดียวกัน

เทคโนโลยีชีวะเรืองแสง เมื่อแสงสว่างยามค่ำคืน ไม่ต้องง้อไฟฟ้าอีกต่อไป

ข่าวคราวเกียวกับการนำสิ่งมีชีวิตเล็กๆ อย่างแบคทีเรียมาสร้างประโยชน์ให้กับมวลมนุษย์มีอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น แบตเตอรีที่จากแบคที่เรีย ที่สามารถชาร์จพลังงานได้เองอัตโนมัติเมื่อแบตใกล้หมด หุ่นยนต์ที่ใช้พลังงานจากแบคทีเรีย หรือเสื้อผ้าที่เปลี่ยนแปลงลวดลายได้ตามการเปล่ยนแปลงของอุณหภูมิ โดยมีแบคทีเรียเป็นหัวใจในงานวิจัย

001

ล่าสุด Glowee บริษัทสตาร์ทอัปสัญชาติฝรั่งเศสปิ้งไอเดีย ความสามารถในการเรืองแสงในท้องทะเลของปลาหมึก ในยามค่ำคืน มาวิจัยเป็นเทคโนโลยีชีวะเรืองแสง (bioluminescence) ของแบคทีเรีย และต่อยอดไปสู่วัสดุที่สามารถเรืองแสงได้ด้วยตนเองในยามค่ำคืน โดยไม่ต้องอาศัยพลังงานไฟฟ้าจากภายนอกอีกต่อไป

002

สิ่งที่สามารถนำไปประยุกต์ เช่น ป้ายโฆษณาหน้าร้าน ไฟประดับตามอาคาร ใครจะไปรู้ว่างานวิจัยนี้อาจพัฒนาต่อยอดไปสู่หลอดไฟ และโซลูชั่นส่องสว่างสำหรับสมาร์ทซิตี้ก็เป็นได้

004 003

วิดีโอเกี่ยวกับงานวิจัย

https://www.youtube.com/watch?v=SEh7Jh775iM

ข้อมูลเพิ่มเติม : www.glowee.eu

เวียดนามก้าวไปอีกขั้นในอุตสาหกรรมหุ่นยนต์เพื่อความบันเทิง แล้วไทยล่ะ?

ขณะที่คนไทยกำลังเห่อกับตุ๊กตาหุ่นยนต์เฟอร์บี้ (FURBY) ประเทศเพื่อนบ้านของเรากำลังก้าวไปอีกขั้น เมื่อในงาน CES ที่ผ่านมา (งานแสดงสินค้าและผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยในปี 2013 นั้น จัดขึ้นที่ลาสเวกัส สหรัฐอเมริกา) เป็นครั้งที่ 2 บริษัทผู้ผลิตหุ่นยนต์ TOSY (http://www.tosy.com) ของเวียดนาม ได้ทำการแสดงผลิตภัณฑ์หลักของบริษัทสองชนิด ซึ่งจะทำการวางจำหน่ายภายในปี 2013 ได้แก่ mRobo และ DiscoRobo

Image

ในบูธหมายเลข 400m2 TOSY Robot ได้ทำการนำเสนอหุ่นยนต์ที่มีประสิทธิภาพเยี่ยม 2 ตัว (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง mRobo) ทั้งนี้คงต้องขอบคุณการพัฒนาด้านรูปลักษณ์และระบบปฏิบัติการที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งทำให้ mRobo สามารถสะกดผู้ชมได้ ด้วยความสามารถในการกระโดดและเคลื่อนที่อย่างลื่นไหล

ใน CES 2012 ที่ผ่านมา mRobo อาจได้รับความสนใจจากการนำเสนอของนักร้องเพลงป๊อปชื่อดังอย่างจัสติน บีเบอร์ ทว่าในปีนี้ mRobo ก็กลายมาเป็นจุดสนใจได้ด้วยตนเอง เมื่อการแสดงของมันเป็นที่สนใจของผู้เข้าชมงานหลายร้อยคน ผู้ชมต่างก็ยกกล้องขึ้นมาบันทึกการแสดงของมัน และอีกหลายคนก็ไม่ลังเลที่จะเต้นไปกับมัน เมื่อเพลงยอดนิยมอย่าง Gangnam Style หรือ Sexy and I know it ดังขึ้นมาในบูทของ TOSY

Stephen Morrow รองประธานของ Hyperlync Technologies กล่าวว่า “ยังไม่เคยเห็นหุ่นยนต์ที่ไหน เต้นได้น่าทึ่งเท่า mRobo มาก่อน ผมแวะเข้าไปที่บูทของ TOSY ไม่ต่ำกว่า 3 ครั้ง เพื่อชมการแสดงนี้ แต่ก็ไม่มีเบื่อเลย สนุกมาก ผมเชื่อเลยว่า เมื่อไรก็ตามที่หุ่นตัวนี้วางขายในท้องตลาด mRobo จะขายดีเป็นเทน้ำเทท่า และจะเป็นสินค้าที่ร้อนแรงที่สุดตัวหนึ่งของปีนี้”

แล้วประเทศไทยของเราล่ะครับ จะก้าวไปในทิศทางไหนในอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ หรือจะบ้าตุ๊กตาเฟอร์บี้กันต่อไป