03/26/2023

Top Story

จับตาผลกระทบธนาคาร SVB ล้ม โดยคุณแซม ตันสกุล กรุงศรี ฟินโนแวต

จากที่มีข่าวเรื่องธนาคาร Silicon Valley Bank (SVB) ที่ผ่านมาซึ่งหลายท่านอาจจะมีความกังวลในการลงทุน

ซึ่งทาง กรุงศรี ฟินโนเวต ที่เป็นผู้บริหารกองทุน Finnoventure Fund1 ขอเรียนชี้แจงว่า กองทุนไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งทางตรง (เงินฝากของกองทุน)และทางอ้อม ( Startup ฝากเงินที่ได้รับจากกองทุนเพื่อไว้บริหารงาน) กับ SVB แต่อย่างใด

สรุปสถานการ์ล่าสุดถึงเช้าวันที่ 13 มี.ค. 66 ดังนี้

1. SVB เป็นธนาคารที่มีความเชี่ยวชาญในการปล่อยกู้ Tech Startup และมีหนี้เสียเพียง 0.18% และมีการระดมเงินฝากส่วนใหญ่จาก กองทุน Venture Capital (VC) ทั่วโลกที่เน้นลงทุนใน USA (เงินฝากที่รอเรียกเพื่อการลงทุน) และ เงินฝากของ Startup เองที่ได้รับจาก VC เพื่อเอาไว้ใช้บริหารกิจการต่อไป

2. เมื่อ SVB ได้เงินฝากมา ก็เอาเงินไปลงทุนโดยที่เน้นที่พันธบัตร Mortgage-back securities ในในปีที่ลงทุน ได้ดอกเบี้ย 1+% แต่ปัจจุบันอัตรดอกเบี้ยใน USA พุ่งขึ้นถึง 5% ทำให้ราคาตราสารหนี้ตกลง และเมื่อ SVB ต้องเพิ่มสภาพคล่องในธนาคาร เนื่องจากอัตราการฝากลดลง เพราะ startup ต้องใช้เงินมากกว่าได้รับการเพิ่มทุน ทำให้ SVB ต้องขายพันธบัตรออกไปแบบขาดทุนกว่า US$1,800 พันล้านบาท

3. การประกาศดังกล่าวทำให้นักลงทุนไม่เชื่อมั่น หรือเรียกว่า Deeply Shock เพราะก่อนหน้านี้ SVB มีชื่อเสียงและมีความมั่นคงตลอด ทำให้ราคาหุ้นตกไปกว่า 60% จนผู้ฝากเงินเข้ามาถอนเงินแบบไม่หยุดหรือเรียกว่า Bank Run

4. Federal Deposit Insurance Corporation (FDIC) สถาบันคุ้มครองเงินฝากได้เข้ามาปิดธนาคารทันทีหลังจากเกิดเหตุการณ์ไม่กี่วัน และรับประกันให้ $250,0000 ต่อบัญชีต่อคนหรือบริษัท ซึ่งมากกว่า75% มีเงินฝากมากกว่านี้

การวิเคราะห์ของ Krungsri Finnovate

1. SVB ถือว่าเป็นธนาคารที่มีความเสี่ยงสถานการณ์นี้ เพราะบัญชีเงินฝากส่วนใหญ่อยู่กับ VC & Startup มิได้กระจายความเสี่ยงไปใน segment อื่นๆ

2. จากวิกฤติ 2008 เคยเกิด Bank Run กับ Washington Mutual ซึ่งในที่สุดก็มี JP Morgan มาซื้อกิจการและก็ได้รับเงินฝากคืนทั้งหมด

3. ภายในคืนนี้ หรือ สัปดาห์นี้ FED น่าจะประกาศให้ความช่วยเหลือแบบ emergency ซึ่งอาจจะเข้ามาอุ้มดูแล SVB ก่อน และปล่อยขาย ซึ่งเชื่อว่าน่าจะมีหลายธนาคารสนใจเนื่องจากผลงานในการปล่อยกู้ดีมาก และเชื่อว่าส่วนใหญ่สนใจ segment technology เพื่อเสริม port ในระยะยาว

4. เหตุที่ FED จะต้องรีบเข้ามาช่วย เพราะนอกจากตัวเองเป็นผู้ที่ขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง จนทำให้เกิดวิกฤติแล้ว FED ควรต้องมาเสริมสภาพคล่องให้ Startup ที่ฝากเงิน และเป็นเงินที่ต้องใช้บริหารกิจการ โดยที่ต้องทำให้ทันก่อนสิ้นเดือนที่เงินเดือนจะออก รวมถึง VC ต้องใช้เงินในการลงทุน เพราะถ้า FED นิ่งก็จะทำให้วิกฤติที่แท้จริง

โดยสรุปวิกฤติคราวนี้มาได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเกิดจากความไม่มั่นใจ แต่ในที่สุดต้องรอ FED ที่จะมาเข้าจัดการเรื่องนี้ให้กลับมาปกติเร็วที่สุด และทางกองทุนจะมา update สถานการณ์เมื่อมีการเคลื่อนไหวต่อไปครับ

ถอดบทสัมภาษณ์ คุณ อยุช บาทรา ผู้อำนวยการฝ่าย Technology Enablement บริษัท อินเทล คอร์ปอเรชัน

บริษัท อินเทล ได้จัดงานแถลงข่าวใหญ่เปิดตัวผลิตภัณฑ์สำคัญหลายตัว หนึ่งในนั้นคือ Intel Xeon เจนเนอเรชั่น 4 ซีพียูระดับไฮเอนต์ ที่จะตอบโจทย์การประมวลผลแห่งอนาคต อกแบบมาเพื่อตอบโจทย์การทำงานของดาต้าเซ็นเตอร์ยุคใหม่ รวมถึงปัญญาประดิษฐ์ (AI) คลาวด์ เครือข่ายและเอดจ์ และซูเปอร์คอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ

นอกจากจะเป็นการนำเสนอประสิทธิภาพของซีพียู Xeon แล้ว ยังมีการเปิดตัว โมบายซีพียู Intel Core เจนเนอเรชั่น 13 รุ่นใหม่ล่าสุด ที่ได้ผสานประสิทธิภาพและประสบการณ์การใช้งานที่เหนือกว่าเข้าไว้ด้วยกันในแพลตฟอร์มสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ พร้อมนำเสนอ Intel® Arc จีพียูแบบใช้งานแยกอีกด้วย

ภายในงานทีมกองบรรณาธิการของ Enterprise Tech Review ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ คุณอยุช บาทรา หนึ่งในผู้บริหารคนสำคัญของภูมิภาค ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่าย Technology Enablement ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ของบริษัท อินเทล

โดยเราขอสรุปเนื้อหาจากการพูดคุยในวันนั้นมาให้ทราบกัน

ปัจจุบันอินเทลเปลี่ยนจากขายเพียงแค่ CPU แต่เพียงอย่างเดียว แต่มุ่งสร้างโซลูชันต่าง ๆ ให้กับลูกค้า

Ayush Batra: สิ่งสำคัญคือ เราต้องการแก้ปัญหาของลูกค้า ร่วมกับคู่ค้า เพราะลูกค้าของพวกเราไม่เพียงแค่ซื้อชิป แต่พวกเขาซื้อโซลูชันสำหรับผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ของพวกเขา

ดังนั้น ทีมของผมจึงทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์เพื่อให้แน่ใจว่าเราจะแก้ปัญหาเฉพาะของลูกค้าได้อย่างตรงจุดผ่านเทคโนโลยีของอินเทล และการจะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้นั้น เราต้องมีโซลูชันที่มีความยืดหยุ่นเพื่อตอบโจทย์ต่อปริมาณความต้องการเวิร์กโหลดที่แตกต่างกัน และยังตอบโจทย์ความต้องการด้านการเร่งความเร็วที่เหมาะสมในลูกค้าแต่ละราย

ซีพียู Intel Xeon เจนเนอเรชั่น 4 มีบทบาทและขับเคลื่อนอุตสาหกรรมในไทยอย่างไรบ้าง

Ayush Batra: โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว ลูกค้าของเราในประเทศไทย รวมถึงลูกค้าทั่วไปกำลังมองหาการปรับใช้ปริมาณงานตามขนาด และปริมาณงานเหล่านั้นก็กลายเป็นความท้าทายอย่างมากเช่นกัน พวกเขาต้องการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่นปัญญาประดิษฐ์ 5G หรือกำลังมองหาระบบที่สามารถช่วยขยายประสิทธิภาพการประมวลผลระบบของพวกเขาได้   ซึ่งแพลตฟอร์ม Intel Xeon ได้ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้

อย่างที่คุณเห็น ปริมาณงานนั้นมีความแตกต่างกันออกไปตามลักษณะโครงสร้าง และองค์กร   พวกเขาเหล่านี้กำลังมองหาพาร์ทเนอร์ที่สามารถส่งมอบประสิทธิภาพระดับสูงได้ผ่านโซลูชันที่มีคุณภาพสูงและยั่งยืน    อย่างที่คุณเห็นจากการนำเสนอจากเหล่าพาร์ทเนอร์ของเรา ทุกคนต่างพูดและยึดถือคำว่า “ความยั่งยืน (Sustainability)” เป็นประเด็นสำคัญ

แพลตฟอร์ม Intel Xeon เจนเนอเรชั่น 4 จึงมาพร้อมกับฟีเจอร์ความปลอดภัยใหม่ ๆ มากมายเพื่อช่วยลูกค้าแก้ปัญหาสำคัญ ๆ ด้านการประมวลผลที่ท้าทาย ไม่ว่าจะเป็น AI, เครื่องมือวิเคราะห์, ระบบเครือข่าย, ความปลอดภัย, การจัดเก็บข้อมูล และระบบคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง (High Performance Computing: HPC) 

ด้วยปัจจัยทั้งหมดเหล่านี้ หากคุณพิจารณาดู สิ่งเหล่านี้คือส่วนที่แพลตฟอร์ม Intel Xeon สามารถแก้ปัญหาเฉพาะด้านได้ ไม่ว่าจะเป็นตามเวิร์กโหลด เรากำลังนำเสนอแพลตฟอร์ม Intel 4th Gen Xeon ซึ่งเป็น Xeon ที่มีความยั่งยืนที่สุดเท่าที่เคยมีมา เรากำลังบรรลุเป้าหมายความยั่งยืนเหล่านั้น และในขณะเดียวกัน เรากำลังมอบความยืดหยุ่นและโซลูชันที่สามารถปรับได้ ให้แก่ลูกค้าของเราเพื่อให้พวกเขาสามารถปรับใช้ได้ตามขนาด

สุดท้ายนี้ Intel Xeon มาพร้อมกับฟีเจอร์ความปลอดภัยที่หลากหลาย และเทคโนโลยีความปลอดภัยขั้นสูง เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่าพวกเขาสามารถมีแพลตฟอร์มที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้ เพื่อช่วยปกป้องข้อมูลในขณะที่ปลดล็อกโอกาสใหม่สำหรับข้อมูลเชิงลึกทางธุรกิจ

กราฟผลการทดสอบ ที่แสดงประสิทธิภาพที่ดีขึ้น อยู่ที่แอปพลิเคชันได้รับการ Optimized มาแล้วใช่ไหม

Ayush Batra: โดยทั่วไปแล้ว เวลาที่เรานำเสนอคุณสมบัติใหม่ ๆ บนแพลตฟอร์ม Xeon®เราก็จะทำงานร่วมกับผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์อิสระ (Independent Software Vendors) และเหล่านักพัฒนาซอฟต์แวร์ Open Sourceไปพร้อม ๆ กันเพื่อให้พวกเขาและแอปพลิเคชันของพวกเขาสามารถใช้ประโยชน์จากโปรเซสเซอร์ใหม่และแพลตฟอร์มใหม่ที่เราพัฒนาขึ้นมาได้ ทั้งในแง่ของซอฟท์แวร์และฮาร์ดแวร์ และนั่นคือโซลูชันทั้งหมดที่มารวมกันเพื่อแก้ปัญหาความท้าทายของเหล่าลูกค้าของเรา

ซีพียู Xeon Sapphire Rapids ตัวใหม่นี่จะถูกนำไปใช้ที่ Edge ด้วยหรือไม่

หรืออยู่บน Data Centre อย่างเดียว

Ayush Batra: อย่างที่ทุก ๆ คนทราบว่าเรากำลังผลักดันให้ศูนย์ข้อมูลเข้าสู่ยุคใหม่ ตั้งแต่ Edge ไปจนถึง Hyperscale Cloud  ดังนั้น เราจึงให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์จำพวก IPU และหน่วยความจำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผลิตภัณฑ์สำหรับศูนย์ข้อมูลของเรา

เหตุผลที่เราเรียกโปรเซสเซอร์ Xeon Scalable ของเราว่า “Scalable” เพราะมันได้รับการออกแบบเพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของสถานที่สำหรับรองรับ Edge Computing (Edge locations) เหล่านั้นได้ โดยมันยังถูกออกแบบมาเพื่อการจัดการพลังงานและการระบายความร้อนที่ดี

ในขณะเดียวกัน เราก็ยังคงตั้งใจที่จะตอบโจทย์ความคาดหวังในการปฏิบัติงานขั้นสูง สำหรับระบบคลาวด์และศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ ที่จำเป็นต้องมีการประมวลผลระดับสูง ความสามารถในการ “Scale” ที่มากกว่า  นี่จึงเป็นข้อพิสูจน์ว่าแพลตฟอร์ม Xeon ของมีความยืดหยุ่นมาก เพื่อให้ผู้ใช้งานของเราสามารถประยุกต์ใช้งานได้อย่างราบรื่น ไร้รอยต่อ

ที่คุณได้พบในวันนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของพาร์ทเนอร์ของเรา โดยพวกเขาเป็นพาร์ทเนอร์รายใหญ่ที่คุณน่าจะรู้จักในประเทศไทย นอกจากนี้ เรายังมีพาร์ทเนอร์อีกมากมายในประเทศไทยที่กำลังนำแพลตฟอร์ม Intel Xeon Scalable เจนเนอเรชั่น 4 ที่อยู่บนพื้นฐานของคลาวด์ไปใช้

ซีพียู Intel Xeon ได้ถูกจำหน่ายให้ผู้บริการ Edge หรือคลาวด์และลูกค้า ในประเทศไทยแล้วหรือยัง

Ayush Batra: แพลตฟอร์มที่มีโปรเซสเซอร์Intel® Xeon® สามารถพบได้แล้วในหลาย ๆ อุตสาหกรรมในประเทศไทย แม้ Intel® Xeon® Scalable เจนเนอเรชั่น 4จะเพิ่งเปิดตัวไปได้ไม่นาน แต่คุณก็สามารถพบมันได้แล้วในลูกค้าหลาย ๆ รายของเรา ในหลาย ๆ แพลตฟอร์ม โดยอินเทลมุ่งมั่นที่จะรับฟังความคิดเห็นจากเหล่าผู้ใช้และลูกค้าของเรา เพื่อทำให้ โปรเซสเซอร์Intel® Xeon®เจนเนอเรชั่นนี้สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากที่สุด

การทำงานร่วมกับ Software Vendor/Developer อย่างเช่นการ Optimize product ให้สามารถทำงานกับตัว  Intel Xeon ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยปกติแล้วจะมีระยะเวลาในการดำเนินการ การเตรียมงาน การทดสอบก่อนจะเปิดตัวจริง นานแค่ไหน

Ayush Batra: เราได้มีการเริ่มทดสอบและลองผิดลองถูกไปกับเหล่าผู้ใช้และลูกค้าของเรามาหลายปีเพื่อให้แพลตฟอร์มที่มีโปรเซสเซอร์ Xeon® สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงที่สุด

รายละเอียดเชิงเทคนิคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ และ ISA สามารถดูได้จากที่นี่

ส่วนในเรื่องของการใช้งานและระยะเวลาในการปรับแต่งต่าง ๆ อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อมและการปรับแต่งระบบของลูกค้า

IceFire แรนซัมแวร์ตัวร้าย เล่นงานได้ทั้ง Linux และ Windows

หลังจากคุกคามระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ Windows อยู่ระยะหนึ่ง ล่าสุดแรนซัมแวร์ตัวแสบอย่าง ได้พัฒนาตัวเองใหม่ ให้สามารถเล่นงานเครื่องที่ใช้ Linux

โดยนักวิจัยด้านความปลอดภัยของ SentinelLabs พบว่ากลุ่มคนร้ายเจาะระบบเครือข่ายขององค์กรด้านสื่อและความบันเทิงหลายแห่งทั่วโลกในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์

เมื่อเข้าไปในเครือข่ายแล้ว ผู้โจมตีจะใช้มัลแวร์รูปแบบใหม่เพื่อเข้ารหัสไฟล์ Linux ของเหยื่อ

แรนซัมแวร์ IceFire จะเข้ารหัสและตั้งนามสกุลไฟล์ใหม่ว่า ‘.ifire’ จากนั้นก็จะทำการกลบเกลื่อนร่องรอย ด้วยการลบตัวเองและเอาข้อมูลออกจากไฟล์ไบนารี

ที่แสบคือ IceFire ไม่ได้เข้ารหัสไฟล์ทั้งหมดบน Linux แต่จะเลือกเข้ารหัสไฟล์อย่างมียุทธวิธี เพื่อให้ระบบยังคงสามารถทำงานอยู่ได้ แรนซัมแวร์หลีกเลี่ยงการเข้ารหัสเส้นทางเฉพาะอย่างมีกลยุทธ์ ช่วยให้ส่วนสำคัญของระบบยังคงทำงานได้

SentinelLabs ระบุว่า “เมื่อเปรียบเทียบกับ Windows แล้ว Linux นั้นติดตั้งแรนซัมแวร์ได้ยากกว่า ระบบ Linux จำนวนมากเป็นเซิร์ฟเวอร์ ”

ความเคลื่อนไหวของแรนซัมแวร์ IceFire ที่ขยายการจู่โจมไปยัง Linux หลังจากที่ก่อนหน้านี้เน้นไปที่การโจมตีเฉพาะระบบ Windows เป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับกลุ่มแรนซัมแวร์อื่นๆ ที่เริ่มโจมตี Linux ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

SentinelLabs กล่าวว่า “วิวัฒนาการของ IceFire นี้เป็นการเสริมความแข็งแกร่งให้กับแรนซัมแวร์ที่มีเป้าหมายที่ Linux ซึ่งยังคงได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงปี 2023”

สิ่งเหล่านี้สอดคล้องกับแนวโน้มที่องค์กรเปลี่ยนไปสู่สภาพแวดล้อมเวอร์ชวลไลเซชัน VMware ESXi ที่ขับเคลื่อนด้วย Linux ซึ่งมีการจัดการอุปกรณ์ที่ได้รับการปรับปรุงและการจัดการทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ตัวเข้ารหัสที่คล้ายกันได้รับการเผยแพร่โดยแก๊งแรนซัมแวร์อื่น ๆ หลายตัว เช่น Conti, LockBit, HelloKitty, BlackMatter, REvil, AvosLocker, RansomEXX และ Hive

ที่มา : bleepingcomputer

บริษัทที่ปรึกษาไอที Thoughtworks เลย์ออฟไป 500 คน

ให้หลังแค่เดือนเดียวหลังซื้อกิจการบริษัทพาร์ทเนอร์ที่ปรึกษาของ Amazon Web Services (AWS) อย่าง Itoc บริษัท Thoughtworks ก็ออกมายืนยันว่าจะมีการเลย์ออฟพนักงานจำนวนประมาณ 500 คนทั่วโลก ขึ้นแท่นบริษัทไอทีที่หั่นคนในปี 2023 ไปอีกเจ้า

(more…)

Veeam ออกอัปเดตแก้ไขช่องโหว่ ที่ทำให้แฮกเกอร์เจาะโครงสร้างพื้นฐานการสำรองข้อมูลได้

Veeam แจ้งให้ลูกค้ารีบแก้ไขช่องโหว่ด้านความปลอดภัยของ Backup Service ที่มีความรุนแรงสูง ซึ่งส่งผลกระทบต่อซอฟต์แวร์ในการแบ็กอัปและทำสำเนาข้อมูล Backup & Replication

ข้อบกพร่อง CVE-2023-27532 ได้รับการรายงานเมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์โดยนักวิจัยด้านความปลอดภัยที่รู้จักกันในชื่อ Shanigen โดย Veeam Backup & Replication (VBR) ทุกเวอร์ชัน

ข้อบกพร่องนี้ ทำให้แฮกเกอร์ถอดรหัสข้อมูลการตั้งค่า VeeamVBR เพื่อเข้าถึงข้อมูลประจำตัว จากนั้นจึงใช้มันเพื่อเจาะเข้าถึงโฮสต์โครงสร้างพื้นฐานสำรองข้อมูล

ตามคำแนะนำของ Veeam advisory สาเหตุของข้อบกพร่องนี้คือไฟล์ Veeam.Backup.Service.exe (TCP 9401 ตามค่าเริ่มต้น) ที่อนุญาตให้ผู้ใช้ที่ไม่ผ่านการรับรองความถูกต้องสามารถขอข้อมูลประจำตัวที่เข้ารหัสได้

“เราได้พัฒนาแพตช์สำหรับ V11 และ V12 เพื่อบรรเทาช่องโหว่นี้ และเราขอแนะนำให้คุณอัปเดตการติดตั้งทันที” บริษัทกล่าวในอีเมลที่ส่งถึงลูกค้าเมื่อวันอังคาร

“หากคุณไม่ใช่ดูแลระบบของ Veeam โปรดส่งต่ออีเมลนี้ไปยังบุคคลที่เหมาะสม”

บริษัทได้ออกการอัปเดตความปลอดภัย เพื่อแก้ไขช่องโหว่นี้สำหรับ VBR V11 และ V12 โดยลูกค้าที่ใช้ซอฟท์แวร์รุ่นเก่าจะได้รับคำแนะนำให้อัปเดตเป็นผลิตภัณฑ์ให้รองรับหนึ่งในสองผลิตภัณฑ์นี้ก่อน

ที่มา : Bleepingcomputer

HPE ซื้อ Axis Security เสริมความแกร่งการรักษาความปลอดภัยบนสถาปัตยกรรม SASE

HPE วางแผนที่จะขยายศักยภาพของแพลตฟอร์ม Aruba SASE ด้วย Atmos จาก Axis Security ซึ่งเป็นโซลูชันระบบเครือข่ายและการรักษาความปลอดภัยแบบ edge-to-cloud ที่ครอบคลุมยิ่งขึ้น

Hewlett Packard Enterprise ได้ตกลงที่จะซื้อกิจการของผู้ให้บริการรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์อย่าง Axis Security ถือเป็นการซื้อกิจการครั้งที่สามนับตั้งแต่เดือนมกราคม เพื่อเป็นทำให้ผลิตภัณฑ์ภายใต้สถาปัตยกรรม Unified Secure Access Service Edge (SASE) ที่มีอยู่แล้วแข็งแกร่งยิ่งขึ้น

การเข้าซื้อกิจการครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อรวมเอาแพลตฟอร์ม Axis Security Service Edge (SSE) เข้ากับความสามารถในการรักษาความปลอดภัยเครือข่ายแบบ Edge-to-Cloud ของ HPE เพื่อนำเสนอโซลูชันเครือข่ายและความปลอดภัยแบบบูรณาการในรูปแบบ as-a-service SSE

Phil Mottram รองประธานบริหารและผู้จัดการทั่วไปของ HPE กล่าวว่า “ในขณะที่เราเปลี่ยนผ่านจากโลกหลังการระบาดของโควิด และสภาพแวดล้อมการทำงานแบบ Hybrid กลายเป็นเรื่องปกติ แนวทางการรักษาความปลอดภัยรูปแบบใหม่จึงเป็นสิ่งจำเป็น”

โดย HPE จะรวม Aruba SASE เข้ากับ Atmos ของ Axis Security

HPE วางแผนที่จะผสานรวม Atmos ของ Axis Security เข้ากับ Aruba ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มสำหรับเครือข่ายแบบ Edge-to-Cloud ด้วยระบบเครือข่ายอัตโนมัติที่ใช้ AI

HPE คาดว่าจะสรุปการซื้อกิจการภายในสิ้นเดือนเมษายน 2566 โดยขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตามเงื่อนไขการปิดบัญชีบางประการ และจะทำให้ผลิตภัณฑ์พร้อมใช้งานภายในสิ้นเดือนกรกฎาคม

ที่มา : csoonline

Nvidia อาจขายชิปให้ Huawei ไม่ได้อีก ถ้าสหรัฐฯ บังคับใช้กฎกีดกันการค้า

ผู้ผลิตชิปจากสหรัฐฯ Nvidia Corp อาจไม่สามารถขายผลิตภัณฑ์ตัวเองให้ Huawei ที่เป็นบริษัทจีนได้ตามแผน ถ้าทางการสหรัฐฯ เอาจริงกับการกีดกันการส่งขายสินค้าทางเทคโนโลยีแก่บริษัทที่ติดแบล็กลิสต์ อ้างอิงตามร่างรายงานที่หลุดมาจากคู่สัญญาของภาครัฐรายหนึ่ง

(more…)

Acer งานเข้าหลังถูกแฮกและขโมยข้อมูล

Acer ยักษ์ใหญ่ด้านคอมพิวเตอร์ของไต้หวันออกมายอมรับว่า ถูกแฮกระบบคอมพิวเตอร์และขโมยข้อมูลทางเทคนิคต่างๆ ออกไปจำนวนหนึ่ง อย่างไรก็ตาม บริษัทยืนยันว่า จากการตรวจสอบจนถึงขณะนี้ไม่ได้บ่งชี้ว่าเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยนี้ส่งผลกระทบต่อข้อมูลลูกค้า

(more…)

AWS เตรียมทุ่ม 6 พันล้านดอลลาร์ ดันมาเลเซียเป็น Region แห่งใหม่

หลังจากการประกาศความร่วมมือกับไทยว่าจะลงทุน 5,000 พันล้านดอลลาร์ ในระยะเวลา 15 ปี และตั้ง AWS Asia Pacific (Bangkok) ไปเมื่อปีที่แล้ว ล่าสุด อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (Amazon Web Services: AWS) บริษัทในเครือ Amazon.com เผยแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ ด้วยการเปิดตัว Region ในประเทศมาเลเซียเช่นกัน งานนี้ต้องดูกันว่า ใครจะได้ตั้งก่อนกัน

(more…)

นักลงทุนรายใหญ่ Dan Loeb ประกาศลงทุนใน AMD

มีแหล่งข่าววงในเผยว่า นักลงทุนเศรษฐีพันล้าน อย่าง Daniel Loeb ได้กล่าวกับนักลงทุนของบริษัทเฮดจ์ฟันด์ของเขา Third Point ว่าได้ลงทุนในบริษัทผู้ผลิตชิปรายใหญ่ Advanced Micro Devices (AMD.O)

(more…)