03/26/2023

Success Story

Vulcan Coalition ช่วยคนพิการฝึกสอน AI เป็นอาชีพ

จูน-เมธาวี ทัศนาเสถียรกิจ และ นิรันดร์ ประวิทย์ธนา ผู้ร่วมก่อตั้ง ได้พัฒนาหลักสูตรที่สามารถนําเสนอต่อรัฐบาลไทยเพื่อแสดงให้เห็นว่าคนพิการสามารถปฏิบัติงานได้ดีในฐานะผู้ป้อนข้อมูล หรือ data labeler หลังจากได้รับการพัฒนาทักษะ และสามารถป้อนข้อมูลที่ถูกต้อง วัลแคนร่วมมือกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชน 2,000 คน ฝึกสอนทักษะในการป้อนข้อมูล โดย Vulcan Academy ได้ทําหน้าในการฝึกอบรมและให้การทดสอบสําหรับผู้สมัครที่มีศักยภาพ

(more…)

Veeam ช่วยให้ KBank ประหยัดเวลาได้ 900 ชั่วโมง ประหยัดค่าใช้จ่ายด้านไอทีกว่า 70,000 ดอลลาร์

Veeam® Software ผู้นำด้านโซลูชันการสำรองข้อมูล การกู้คืน และการจัดการข้อมูลที่มีระบบปกป้องข้อมูลที่ทันสมัย ขอประกาศว่าปัจจุบันธนาคารกสิกรไทย (KBank) ซึ่งมีรายชื่ออยู่ใน Forbes Global 2000และเป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุดและประสบความสำเร็จมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย ได้แทนที่โซลูชันการสำรองข้อมูลแบบเดิมด้วย Veeam Availability Suite™ Veeam ดำเนินการปกป้องข้อมูลที่บริษัทเทคโนโลยีในเครือของธนาคาร กล่าวคือ กลุ่มเทคโนโลยีทางธุรกิจกสิกรไทย (KBTG) เพื่อสร้างธนาคารดิจิทัลแห่งอนาคตสำหรับลูกค้ากว่า 16.5 ล้านคน Veeam ยังรองรับข้อบังคับการปฏิบัติตามข้อกำหนดความเป็นส่วนตัวของข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย และช่วย KBank ประหยัดเวลาในงานธุรการ 900 ชั่วโมงในแต่ละเดือน และค่าใช้จ่ายด้านไอที 70,000 ดอลลาร์ในแต่ละปี
(more…)

PPPGC เสริมศักยภาพธุรกิจปาล์มน้ำมันยุคดิจิทัลด้วยโซลูชั่น SAP S4/HANA และคลาวด์ สำเร็จในเวลาเพียง 6 เดือน

บริษัท พีพีพี กรีน คอมเพล็กซ์ จำกัด หรือ (PPPGC) นำโซลูชัน SAP S4/HANA และระบบคลาวด์ มาใช้เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กระบวนการผลิตและดำเนินธุรกิจปาล์มน้ำมันครบวงจรของบริษัทอย่างเต็มรูปแบบ ครอบคลุมทั้ง การผลิต การควบคุมคุณภาพ การขาย รวมถึงการเงิน โดยมีบริษัท ฟูจิตสึ (ประเทศไทย) จำกัด มืออาชีพที่มีความเชี่ยวชาญ เป็นผู้ให้คำปรึกษา วางแผน และดำเนินการติดตั้งระบบจนสามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบภายในระยะเวลาเพียง 6 เดือนเท่านั้น

โซลูชันทั้งหมดที่ ฟูจิตสึ ดำเนินการให้กับ PPPGC ประกอบด้วย MM ( Raw Material Procurement), QM ( quality Management), PP PM (Production), FI CO ( Financial Accounting & Coasting) and SD ( Sales & Distribution) เพื่อการบูรณาการด้านข้อมูล และกระบวนการทำงานให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการควบคุมขั้นตอนภายในที่ดี เพื่อการทำงานบนระบบคลาวด์ ตลอดจนเข้ามาสนับสนุนความสำเร็จของธุรกิจ

– International Financial Reporting Standard (IFRS)
– Sales & Distribution
– Procurement
– Logistics
– Production
– Financial Accounting
– Costing and IT

ทำให้ PPPGC ทรานสฟอร์มองค์กร ขับเคลื่อนสู่ Smart Complex ยกระดับความทันสมัยของธุรกิจ เพื่อรองรับการเตรียมเข้าจดทะเบียนเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในปี 2565 เป็นองค์กรมหาชน ที่มีธรรมาภิบาล มุ่งสร้างความยั่งยืนในระดับสากลเพื่อคนไทยต่อไป

กฟผ. ใช้ซอฟต์แวร์โซลูชันของซีเมนส์ในโครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดขนาดใหญ่ที่สุดในโลก

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เดินหน้านโยบายการใช้พลังงานสะอาดและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะ นำระบบ SICAM Microgrid Control และ Photovoltaic Plant Control ของซีเมนส์ มาใช้ควบคุมการจ่ายพลังงานไฟฟ้าในโครงการโรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดเขื่อนสิรินธรจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นโครงการที่มีกำลังการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ขนาด 45 เมกะวัตต์ และมีกำลังการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำขนาด 36 เมกะวัตต์ที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนได้ทั้งกลางวันและกลางคืน ล่าสุดได้เริ่มดำเนินการจ่ายกระแสไฟฟ้าเชิงพาณิชย์แล้ว (more…)

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ยกระดับการให้บริการด้านไอทีด้วยแพลตฟอร์ม Intel vPro

ในฐานะของสถาบันการศึกษาชั้นนำของภาคเหนือ ที่มุ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของอาเซียนที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มหาวิทาลัยแม่ฟ้าหลวงจึงไม่เพียงมุ่งสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเป็น Digital University หรือมหาวิทยาลัยในยุคดิจิทัลที่พร้อมเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของภูมิภาค

(more…)

ฟูจิตสึ เสริมประสิทธิภาพการทำงาน และเพิ่มรายได้อย่างรวดเร็วด้วยโซลูชัน RPA

เทคโนโลยีดิจิทัลที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว สร้างคลื่นแห่งการเปลี่ยนแปลง ที่ส่งผลกระทบถึงทุกธุรกิจ ทั้งคู่แข่งหน้าใหม่ที่เพิ่มขึ้น เศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนไป รวมถึงสถานการณ์ที่ยากจะคาดการณ์ กลายเป็นความท้าทายที่ทุกองค์กรต้องปรับตัว

002

ฟูจิตสึ ในฐานะขององค์กรด้านเทคโนโลยี ซึ่งเป็นผู้นำด้าน Digital Transformation ได้ให้ความสำคัญและเริ่มต้นกระบวนการ Digital Transformation ภายในองค์กร เพื่อปรับการทำงานและแนวทางการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้สอดรับกับชีวิตวิถีใหม่ ทำให้เกิดผลลัพธ์เชิงบวกมากมาย

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ฟูจิตสึเข้าไปช่วยให้ธุรกิจต่างๆ ขับเคลื่อนสู่ดิจิทัล ปรับปรุงกระบวนการดำเนินงาน เพิ่มประสิทธิภาพ ลดเวลาการทำงาน ยกระดับการให้บริการลูกค้า สร้างโอกาส และบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ ด้วยความเชี่ยวชาญจากหลากหลายโซลูชันดิจิทัล หนึ่งในนั้นคือ RPA

 

RPA คืออะไร

RPA หรือ Robotic Process Automation คือระบบอัตโนมัติที่มี AI เป็นหัวใจในการทำงาน ช่วยลดเวลาการทำงานที่มีกระบวนการเป็นมาตรฐานได้แบบทันตาเห็น ทำงานที่ต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงเสร็จได้ภายในไม่กี่นาที ลดข้อผิดพลาดในการเตรียมข้อมูล ลดการใช้กระดาษ และลดกระบวนการทำงานที่ต้องใช้คน

 

ทำให้พนักงานมีเวลาทุ่มเทให้กับงานที่สร้างมูลค่ามากขึ้น เพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้า ด้วยบริการที่รวดเร็ว ผลลัพธ์ที่ตามมาคือรายได้และโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจ

 

เพิ่มรายและประสิทธิภาพการทำงานด้วย RPA

001

ฟูจิตสึประเทศไทย ไม่ได้เป็นเพียงผู้เชี่ยวชาญที่ให้คำปรึกษา วางยุทธศาสตร์ด้านข้อมูล และติดตั้งระบบ RPA ให้แก่ลูกค้าเท่านั้น แต่เรายังนำ RPA มาใช้งานในองค์กรอย่างจริงจัง เสริมศักยภาพให้กับการทำงานของทีมขายสัญญาการบำรุงรักษา หรือทีม MA (Maintenance Agreement) ซึ่งมีภารกิจสำคัญคือ การเป็นผู้ช่วยให้คำปรึกษา เสนอบริการบำรุงรักษาที่เหมาะสมและคุ้มค่าให้แก่ลูกค้า

 

จากประสบการณ์ในการเป็นผู้ช่วย นำระบบ RPA ไปประยุกต์ใช้ในธุรกิจที่มีความต้องการแตกต่างกัน ได้อย่างประสบความสำเร็จและเป็นที่พึงพอใจของลูกค้า ฟูจิตสึใช้เวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ในการศึกษาการทำงาน เตรียมการติดตั้งและปรับจูนการทำงานของระบบ RPA โดยไม่กระทบต่อกระบวนการทำงานปรกติของทีม MA แต่อย่างใด

003

ได้ผลลัพธ์ในเวลาอันรวดเร็ว

ด้วยการนำระบบ RPA มาใช้งาน เพื่อสร้างกระบวนการอัตโนมัติ ในการเข้าถึงฐานข้อมูลการขาย แล้วรวบรวมเป็นรายงานที่สามารถดำเนินการติดต่อลูกค้าได้ทันที ช่วยประหยัดเวลาให้ทีมได้ทันทีถึง 90% จากเดิมใช้เวลามากกว่าวันละ 3 ชั่วโมง เหลือเพียง 20 นาที

004

ทำให้พนักงานมีเวลามากขึ้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน สามารถให้คำปรึกษาแก่ลูกค้าได้ดีขึ้น มีเวลาพัฒนากระบวนการทำงาน เพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ

 

ขณะเดียวกันระบบ RPA ก็ช่วยให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องในเวลาอันรวดเร็ว ปราศจากข้อผิดพลาด ทำให้สามารถให้บริการลูกค้าได้ตรงตามความต้องการ ผลที่ได้รับคืออัตราความพึงพอใจของลูกค้าเพิ่มสูงขึ้น เช่นเดียวกับอัตราการตัดสินใจเลือกใช้บริการจากฟูจิตสึก็เพิ่มขึ้นมากกว่า 15%

 

ผลที่ตามมาคือ สามารถต่อยอดธุรกิจ และมีรายได้เพิ่มขึ้นกว่า 20%

005

สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องพิสูจน์ว่า RPA คือโซลูชันที่วัดผลได้และให้ผลตอบแทนการลงทุนในเวลาอันรวดเร็ว แต่ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานเพื่อเสริมศักยภาพให้ทุกธุรกิจ และก้าวทันทุกความเปลี่ยนแปลงในโลกดิจิทัล

‘ไออาร์พีซี’ จับมือ ‘ไอบีเอ็ม’ ดึงออโตเมชัน พลิกโฉมการเพิ่มประสิทธิภาพ ติดสปีดงานปฏิบัติการเร็วขึ้นเกือบเท่าตัว

วันนี้ ไอบีเอ็ม (NYSE: IBM) ประกาศว่าบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (IRPC) หนึ่งในบริษัทปิโตรเคมีครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ประสบความสำเร็จในการนำ IBM Robotic Process Automation (RPA) with Automation Anywhere ไปใช้ในกระบวนการทำงานด้านการเงิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความแม่นยำ ความรวดเร็ว และประหยัดต้นทุนอีกทั้ง ยังช่วยเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) ในการทำงานให้กับพนักงาน ท่ามกลางความท้าทายในยุคปัจจุบั

(more…)

เอ็นทีที จับมือ ซิสโก้ พลิกโฉมการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง ให้กับโรงพยาบาลศิริราชในประเทศไทย

 บริษัท เอ็นทีที จำกัด (NTT Ltd.) ผู้ให้บริการเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก ร่วมมือกับ ซิสโก้ เพื่อช่วยเหลือโรงพยาบาลศิริราช ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดในประเทศไทยในการใช้ระบบการแพทย์ทางไกลเพื่อให้สามารถรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างรวดเร็ว โดยใช้ชื่อว่า “Siriraj Mobile Stroke Unit” ซึ่งเป็นหน่วยรถพยาบาลพิเศษที่สามารถเชื่อมต่อการสื่อสารระหว่างผู้ช่วยเหลือฉุกเฉินในรถพยาบาลกับผู้เชี่ยวชาญที่อยู่โรงพยาบาล ซึ่งช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยและให้การรักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วยได้ทันท่วงทีในระหว่างการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปโรงพยาบาล
(more…)

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จับมือซิสโก้ มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้เทคโนโลยีในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง สถาบันอุดมศึกษาชั้นนำแห่งอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกับ บริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อนำเทคโนโลยีต่างๆ ที่ทันสมัยเข้ามาใช้งานเพื่อพัฒนาบุคลากรและนักศึกษา รวมถึงพัฒนาศักยภาพของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ครอบคลุมทั้งองค์กร เพื่อการเป็น Digital University และ ศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยีในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง”

Test4

วิสัยทัศน์การก้าวสู่ Digital University ของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มีการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ครอบคลุม 3 ด้านหลักๆ ได้แก่  Digital Learning, Digital Living และ Digital Managing โดยเป็นการขับเคลื่อน Digital University ด้วยหัวใจ สร้างขึ้นด้วยวัฒนธรรมขององค์กร ไม่ได้เป็นเพียงวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร แต่นักศึกษา บุคลากร อาจารย์ และผู้เกี่ยวข้อง ทุกคนของมหาวิทยาลัยต่างมีส่วนร่วม มาเรียนรู้ร่วมกัน ทำด้วยกัน ก้าวไปข้างหน้าพร้อมกัน ขับเคลื่อนแนวคิด Digital University เข้าไปในหัวใจของทุกคน

IMG_0301

รศ. ดร.ชยาพร วัฒนศิริ อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กล่าวว่า “ หนึ่งในวิสัยทัศน์ Digital University ของเราคือสร้างให้มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยี ไม่ใช่แค่เฉพาะในภาคเหนือ หรือในประเทศไทย แต่เรามุ่งไปสู่ระดับอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยที่ผ่านมาเราประสบความสำเร็จกับการเป็นศูนย์กลางการศึกษาและการให้บริการสุขภาพเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่จะดำเนินการต่อไปคือการมุ่งสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพและมีความเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงในโลกดิจิทัลในทุกระยะ ดังนั้นการร่วมมือกับบริษัทเทคโนโลยีระดับโลกอย่างซิสโก้ ถือเป็นแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาความรู้ สร้างงานวิจัย และนวัตกรรมในเชิงเทคโนโลยีร่วมกันในอนาคต “

IMG_0376
รศ. ดร.ชยาพร วัฒนศิริ อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ดร. ธีรวิศิฏฐ์ เลาหะเพ็ญแสง คณบดีสำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ กล่าวว่า “ ปัจจุบันเรามีการเรียนการสอนด้านเทคโนโลยีมากมาย รวมถึงมีการทำงานวิจัยด้าน Embedded System, AI, IoT และ Software Development มากมาย นอกจากนี้ เรามีการจัดตั้งห้องแลปด้านเทคโนโลยีระบบเครือข่าย โดยมี ดร. มาหะมะ เซะบากอ เป็นผู้รับผิดชอบ ความร่วมมือกับซิสโก้ในครั้งนี้จะทำให้เรามีเนื้อหาการเรียนการสอนในหลักสูตรเกี่ยวกับระบบเครือข่ายมากขึ้น ด้วยจุดแข็งต่างๆ ที่มี ทำให้เราตั้งเป้าหมายว่า นักศึกษาที่จบหลักสูตรนี้จะมีความพร้อมสำหรับการทำงานและเติบโตในหน้าที่การงานสายเทคโนโลยีระบบเครือข่ายในระดับนานาชาติ “

 

ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยแม่ฟังหลวงมีจุดแข็งที่เอื้อต่อการเป็น ศูนย์กลางการเรียนรู้เทคโนโลยีในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง” เช่น การมีหลักสูตรการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ ทำให้บุคลากรของทางมหาลัยแม่ฟ้าหลวงสามารถเรียนรู้ สามารถติดต่อสื่อสารกับต่างประเทศได้อย่างชำนาญ เช่นเดียวกับนักศึกษาก็มีความพร้อมที่จะทำงานในระดับภูมิภาคหรือระดับนานาชาติได้ทันที

 

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงก็เป็นหน่วยงานภาครัฐเพียงไม่กี่แห่งของประเทศไทย ซึ่งมีบุคลากรที่ได้รับประกาศนียบัตร CCIE ซึ่งเป็นประกาศนียบัตรระดับผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีเครือข่ายในระดับสูงสุดจากซิสโก้ รวมถึงยังมี DevNet Certification สำหรับฝั่ง Software Development ได้แก่ ดร. มาหะมะ เซะบากอ ทำให้สามารถนำความรู้มาพัฒนาบุคลากรและนักศึกษาต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

นายวัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทยของซิสโก้ กล่าวว่า “เนื่องจากต้นกำเนิดของซิสโก้ เกิดมาจากสถาบันการศึกษา ทำให้เรามีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาความแข็งแกร่งทางด้านเทคโนโลยีของภาคการศึกษาในประเทศไทยมาโดยตลอด นอกเหนือจากความร่วมมือทางด้านเทคโนโลยี ซึ่งซิสโก้จะให้คำปรึกษาและจัดหาเทคโนโลยีในการวางระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที ให้การสนับสนุนด้านวิชาการและพัฒนาทักษะให้บุคลากรของมหาวิทยาลัย ซิสโก้ยังพร้อมที่จะให้การสนับสนุนเพื่อช่วยผลักดันวิสัยทัศน์การเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีในระดับอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงด้วยเช่นกัน “

 

“เรามีความเชื่อมั่นว่าการสร้างความเสมอภาคให้กับสังคมได้จะต้องมี 2 ปัจจัยประกอบกันนั่นคือ การให้บริการสุขภาพ และการให้การศึกษา เราให้การสนับสนุนสถาบันการศึกษาทั่วโลกในหลายมิติ และเราก็มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีในครั้งนี้ “

 

สำหรับความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงในครั้งนี้ บริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด จะให้การสนับสนุนด้านเทคโนโลยีครอบคลุมด้านต่างๆ ได้แก่ การให้คำปรึกษาสำหรับการวางแผน ออกแบบโครงสร้างพื้นฐานระบบไอทีทั้งในส่วนของระบบเครือข่าย ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และบริการที่เกี่ยวข้อง ครอบคลุมกิจกรรมการเรียนการสอน การพัฒนา Digital Learning Platform, การประสานการทำงานภายในองค์กร, Smart Education, Smart Healthcare เป็นต้น

shutterstock_488140138

รวมถึงการสนับสนุนทางด้านความรู้ และการพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีให้กับบุคลากรของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับทางมหาวิทยาลัยและชุมชน รวมถึงการร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพ และ ยกระดับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงจาก Cisco Network Academy เป็น Cisco Instructor Center (ศูนย์พัฒนาและผลิตอาจารย์ผู้สอน) เป็นต้น

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พัฒนา ‘Smart Connected Healthcare’ มุ่งสู่การเป็นโรงเรียนแพทย์ดิจิทัลระดับสากล วางใจใช้ “Intelligent Video Collaboration” ของซิสโก้ รองรับการแพทย์ยุคดิจิทัล และยกระดับประสบการณ์ดิจิทัลเฮลท์แคร์ (Digital Healthcare Experience)

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พัฒนา ‘Smart Connected Healthcare’ มุ่งสู่การเป็นโรงเรียนแพทย์ดิจิทัลระดับสากล

วางใจใช้ “Intelligent Video Collaboration” ของซิสโก้ รองรับการแพทย์ยุคดิจิทัล

และยกระดับประสบการณ์ดิจิทัลเฮลท์แคร์ (Digital Healthcare Experience)

 

  คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันการแพทย์ชั้นนำระดับมาตรฐานสากล พัฒนา Smart Connected Healthcare’ ผ่าน ศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีแพทยศาสตรศึกษา (Medical Technology Education Center – MTEC)” เพื่อเป็นแหล่งสนับสนุนด้านเทคโนโลยีการศึกษาทางการแพทย์ให้กับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มุ่งสู่การเป็นโรงเรียนแพทย์ดิจิทัลระดับสากล

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางด้านการแพทย์ที่ค่าใช้จ่ายไม่สูงมากแต่มีคุณภาพระดับสูง ขณะที่การบริการยังถูกจำกัดอยู่ในเขตเมืองใหญ่ และมีความต้องการทำงานร่วมกันเพื่อสนับสนุนงานการศึกษา การวิจัย และการบริการสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงได้ติดตั้งโซลูชั่นต่าง ๆ ภายในศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีแพทยศาสตรศึกษา ซึ่งประกอบด้วย:

  • Tele-education: การเรียนรู้และการเรียนการสอนทางไกลผ่านระบบจัดการสื่อดิจิทัล (Digital Media Information Technology) ระบบการเรียนการสอนทางไกล รองรับการจัดการเรียนการสอนทางการแพทย์อย่างครบวงจร เพื่อให้นักศึกษาแพทย์ทุกคนสามารถเข้าถึงเนื้อหา บทเรียน ประสบการณ์ในการวินิจฉัยโรค และการผ่าตัดที่มีความซับซ้อนได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม

  • Tele-medicine: ระบบแพทย์ทางไกล และการปรึกษาอาการเจ็บป่วยทางไกลกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางจากโรงพยาบาลศูนย์ ผ่านระบบวิดีโอคอลล์ที่มีประสิทธิภาพสูงทั้งการเห็นและการได้ยิน เสมือนได้ปรึกษากับแพทย์ที่โรงพยาบาลโดยตรง โดยที่ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปโรงพยาบาลเอง ซึ่งช่วยประหยัดเวลา ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง แต่ยังได้รับการวินิจฉัยที่แม่นยำ

  • Tele-training / Tele- R&D: การแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ทางการแพทย์ร่วมกับสถาบันการแพทย์ต่างประเทศ รวมถึงโรงเรียนแพทย์และสถาบันการแพทย์ภายในประเทศ เพื่อส่งเสริมความรู้ทางการแพทย์ให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา

  • Live surgery: การถ่ายทอดหัตถการทางการแพทย์จากห้องผ่าตัด และห้องฝึกหัตถการจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ส่งสัญญานภาพและเสียงที่สมบูรณ์แบบซึ่งสามารถโต้ตอบกันได้ทั้ง 2 ทาง เชื่อมโยงไปยังโรงพยาบาลร่วมสอน สถาบันการศึกษา และสถาบันการแพทย์ เพื่อให้นักศึกษาแพทย์ได้เห็นมุมมองการทำงาน การใช้อุปกรณ์การแพทย์ รวมทั้งประสบการณ์ในการผ่าตัดแบบเรียลไทม์เพื่อเป็นกรณีศึกษา และช่วยทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากขึ้น”

  • Digital Medical Media: เป็นแหล่งผลิตและเผยแพร่สื่อดิจิทัลทางการแพทย์ (digital medical media) เพื่อถ่ายทอดความรู้ทางการแพทย์ ให้แก่นักศึกษา บุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนทั่วไปได้ใช้เป็นแหล่งศึกษาสำหรับการเรียนรู้ทางการแพทย์ตลอดชีวิต

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาศัยแนวคิดด้านการเรียนการสอนแบบ Asynchronous learning ที่ผู้สอน และผู้เรียนไม่จำเป็นต้องพบกันตามเวลาในตารางที่กำหนดไว้ แต่สามารถติดต่อกันได้ตลอดเวลา โดยใช้เครื่องมือสื่อสารต่างๆ ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา และสถานที่ ผู้เรียนสามารถเรียนที่ไหน เวลาใดก็ได้ ตามความต้องการและความสะดวกของผู้เรียน โดยอาศัยการสื่อสารระยะไกล (Telecommunication) แต่ใกล้เคียงกับการเรียนในระบบห้องเรียน หรือการเรียนการสอนที่ผู้สอนกับผู้เรียนได้พบหน้ากัน (Face- to- Face Learning)

โดยคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ขยายขอบเขตการถ่ายทอดการเรียนการสอนไปยังโรงพยาบาลอีก 6 แห่งในภาคเหนือ ได้แก่ โรงพยาบาลนครพิงค์ โรงพยาบาลลำพูน โรงพยาบาลลำปาง โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ โรงพยาบาลน่าน โรงพยาบาลแม่สอด โดยมีนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ถึงปีที่ 6 ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำอยู่ที่โรงพยาบาลเหล่านั้นเพื่อแลกเปลี่ยนทักษะ เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ทางการแพทย์

โซลูชันการทำงานร่วมกัน (Intelligent Video Collaboration) ของซิสโก้ถือเป็นโซลูชั่นสื่อสารที่ครบถ้วน เป็นการรวมเอาเทคโนโลยีการสื่อสาร ข้อมูล เสียง ภาพเคลื่อนไหว และเว็บ (Data, Voice, VDO และ Web) มาเชื่อมโยงให้เป็นระบบเดียวกัน ช่วยให้เกิดการประสานความร่วมมือในการทำงาน เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานมากขึ้น ทำให้แพทย์ให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับผู้ป่วยได้ดียิ่งขึ้นในกรณีที่แพทย์จะต้องตรวจวินิจฉัยหรือบอกค่าผลตรวจต่างๆ กับผู้ป่วย ขณะที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนการดำเนินงานได้ในเวลาเดียวกัน

 

ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์นิเวศน์ นันทจิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า “ท่ามกลางยุคเทคโนโลยีดิสรัปชั่น หลายอุตสาหกรรมต้องเร่งปรับตัวเพื่อความอยู่รอดและเติบโต ในฐานะที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำแห่งหนึ่งของประเทศ ได้เล็งเห็นประโยชน์ของการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบและยกระดับการเรียนการสอน และการให้บริการทุกภาคส่วน เพราะเชื่อว่าเทคโนโลยีคือกุญแจสำคัญที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน เรายังพบว่ามีความเป็นไปได้อีกมากที่การเชื่อมโยงถึงกันบนโครงสร้างพื้นฐานที่สมบูรณ์จะสามารถสร้างประโยชน์ให้เกิดกับองค์กร ผู้ปฏิบัติงาน ผู้รับบริการ และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเฮลท์แคร์ ที่ปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาททางการแพทย์มากขึ้น ช่วยคนให้มีชีวิตยืนยาวขึ้น ปลอดภัยขึ้น สุขภาพแข็งแรงขึ้น และใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพได้ดีขึ้น เราจึงไม่หยุดที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน และการให้บริการที่ครอบคลุมที่สุด เพื่อให้องค์กรของเราเป็นหนึ่งในองค์กรที่พัฒนาและขับเคลื่อนผ่านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น (Digital Transformation) อย่างสมบูรณ์”

 

ศ.นพ.บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า “คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นสถาบันการแพทย์ชั้นนำระดับมาตรฐานสากล และด้วยพันธกิจที่ต้องสร้างสรรค์งานวิจัย และการบริการสุขภาพมาตรฐานระดับสากล เรามีความวางใจในคุณภาพเทคโนโลยี และการให้บริการของซิสโก้ รวมถึงการให้คำปรึกษาและแนวทางต่างๆ พร้อมการสนับสนุนเครื่องมือและโซลูชั่นที่หลากหลาย ส่งเสริมให้คณะแพทยศาสตร์ของเรามีความพร้อมในด้านเทคโนโลยี สามารถเชื่อมโยงทุกแผนกที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน ทำให้บุคลากรของเราก็ทำงานง่ายขึ้น ขณะเดียวกันผู้ป่วยที่มาใช้บริการของเราก็สามารถสื่อสาร และขอรับบริการต่างๆ ของโรงพยาบาลได้สะดวกมากขึ้น ซึ่งพื้นฐานสำคัญที่จะก้าวสู่การเป็นโรงเรียนแพทย์ดิจิทัลระดับสากล และ Connected Healthcare อย่างแท้จริง”

 

นายวัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทยของซิสโก้ กล่าวว่า “หลายประเทศได้ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไอทีเข้ากับการแพทย์และประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ขณะที่ประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขกำลังอยู่ระหว่างการร่างแผนยุทธศาสตร์ eHealth ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการผลักดัน Digital Healthcare ให้ก้าวไปสู่การแพทย์ที่เข้าถึงและอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในทุกพื้นที่

ซิสโก้สนับสนุน Connected Health โดยนำเทคโนโลยีไอทีมาเชื่อมโยงกับโรงพยาบาลเพื่อให้บริการแบบครบวงจรโดยไร้ข้อจำกัดของการบริการสุขภาพตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำที่เป็นผู้รับบริการปลายทาง ช่วยให้แพทย์สามารถหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาด และให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญคือเข้าถึงผู้ป่วยได้ก่อนที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาล และช่วยให้ผู้ป่วยมีบทบาทในการตัดสินใจเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลของตนเองมากขึ้น ซิสโก้มีความยินดีที่เทคโนโลยีของเราช่วยสนับสนุนให้คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำทางการแพทย์เปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอน การรักษาที่ทันสมัย โดยไม่มีข้อจำกัด ส่งเสริมทักษะด้านดิจิทัลสำหรับการเรียนรู้ทางการแพทย์ให้สอดคล้องกับการเรียนการสอนทางการแพทย์ในศตวรรษที่ 21”