03/26/2023

Success Story

Samsung งานเข้าเจอรูรั่วในชิปเซ็ต Exynos แค่รู้เบอร์โทรก็แฮกเครื่องได้แล้ว

นักวิเคราะห์ด้านความปลอดภัยของ Google ได้เตือนผู้ใช้อุปกรณ์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ว่า ตรวจพบช่องโหว่แบบ Zero-day หลายจุดในชิปเซ็ต Samsung บางรุ่นอาจทำให้ผู้โจมตีสามารถเข้าถึงและควบคุมสมาร์ทโฟน หรืออุปกรณ์ของผู้ใช้ได้จากระยะไกล ขอเพียงแค่รู้หมายเลขโทรศัพท์เท่านั้น

เรื่องราวนี้เกิดขึ้นเมื่อทีมล่าบั๊ก Project Zero ของ Google ค้นพบและรายงานช่องโหว่แบบ Zero-day 18 รายการในชิปเซ็ต Exynos ของ Samsung ที่ใช้ในอุปกรณ์พกพา อุปกรณ์สวมใส่ และรถยนต์

ข้อบกพร่องด้านความปลอดภัยของโมเด็มในชิปเซ็ต Exynos ถูกรายงานระหว่างปลายปี 2565 ถึงต้นปี 2566 ซึ่ง 4 ใน ใน 18 รายการ ถูกระบุว่าช่องโหว่ที่ร้ายแรง ที่ทำให้แฮกเกอร์สามารถรันโค้ดจากระยะไกลในอุปกรณ์ปลายทางโดยที่ผู้ใช้ไม่รู้ตัว

“การทดสอบที่ดำเนินการโดย Project Zero ยืนยันว่าช่องโหว่ทั้งสี่นี้ทำให้แฮกเกอร์สามารถโจมตีโทรศัพท์ในระดับเบสแบนด์จากระยะไกลโดยไม่ต้องโต้ตอบกับผู้ใช้ และขอเพียงแค่รู้หมายเลขโทรศัพท์ของเหยื่อเท่านั้น”

หนึ่งในข้อบกพร่องร้ายแรงทั้งสี่นี้ได้รับการกำหนดหมายเลข CVE และติดตามเป็น CVE-2023-24033 ส่วนอีกสามรายการกำลังรอกำหนดหมายเลข

Tขณะที่ช่องโหว่อีก 5 รายการประกอบด้วย CVE-2023-26072, CVE-2023-26073, CVE-2023-26074, CVE-2023-26075, CVE-2023-26076

อุปกรณ์ที่ได้รับผลกระทบ

อุปกรณ์ที่ใช้ชิปเซ็ต Exynos ของ Samsung นั้น ไม่ได้มีแค่สมาร์ทโฟนหรือแท๊บเล็ตของ Samung เองเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงอุปกรณ์ของผู่ผลิตรายอื่นๆ ประกอบด้วย

  • สมาร์ทโฟน Samsung ตระกูล S22, M33, M13, M12, A71, A53, A33, A21, A13, A12 และ A04
  • สมาร์ทโฟน Vivo ในซีรีส์ S16, S15, S6, X70, X60 และ X30
  • สามาร์ทโฟน Google Pixel 6 และ Pixel 7
  • อุปกรณ์สวมใส่ที่ใช้ชิปเซ็ต Exynos W920
  • ยานพาหนะที่ใช้ชิปเซ็ต Exynos Auto T5123

การแก้ไข

ถึงตอนนี้ Google ได้ออกตัวแก้ไขประจำเดือนมีนาคม เพื่ออุดช่องโหว่ CVE-2023-24033 ที่ส่งผลต่ออุปกรณ์ Pixel แล้ว

ในส่วนของ Samsung เอง ขณะนี้บริษัทได้ออกตัวอัปเดทเพื่ออุดช่องโหว่นี้แล้วเช่นกัน และได้ส่งให้ผู้ผลิตรายอื่นที่ใช้ชิปเซ็ต Exynos แล้ว แต่แพตช์ดังกล่าวยังไม่เปิดเผยต่อสาธารณะและผู้ใช้ทั่วไปยังไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตัวเอง

ขณะที่อุปกรณ์ของผู้ผลิรายอื่นที่ยังไม่มีการออกตัวแก้ไขออกมา ผู้เชี่ยวชาญของ Google แนะนำให้ปิดการโทรผ่าน Wi-Fi และ Voice-over-LTE (VoLTE) เพื่อป้องกันการเรียกใช้รหัสเบสแบนด์จากระยะไกล

ที่มา : Theregister, Bleepingcomputer

เฟ้นหาตัวแทนเยาวชนไทยสู้ศึกระดับเอเชียในการแข่งขัน ICDL Digital Challenge 2023

ถึงเวลาประกาศศักดาความสามารถของเด็กไทยไทยให้โลกรู้! นักเรียนนักศึกษา สถาบันต่างๆเตรียมความพร้อมให้ดี ICDL Digital Challenge 2023 การแข่งขันเพื่อคัดเลือกตัวแทนสุดยอดด้านทักษะความรู้ดิจิทัลได้เริ่มขึ้นแล้ว โดยทาง ICDL Thailand จะเดินหน้าหาตัวแทนประเทศไทยโดยการคัดเลือกที่เข้มข้นจากการสอบแข่งขันระดับภูมิภาคจากสถาบันต่างๆกว่า100 แห่งทั่วประเทศ จำนวนกว่า 1,000 คน ในหลากหลายสาขา

(more…)

ไมโครซอฟท์ ประกาศผู้ชนะการแข่งขัน อิมเมจิ้นคัพ ประเทศไทย 2023 ชูนวัตกรรม AI for All เพื่อผู้มีความเสี่ยงโรคหัวใจ

ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย ประกาศผลทีมผู้ชนะการแข่งขันรายการอิมเมจิ้นคัพ ประเทศไทย 2023 (Imagine Cup Thailand 2023) โดยทีม CS-M จากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย เป็นผู้คว้าชัยชนะอันทรงเกียรติในครั้งนี้ ถือเป็นการเปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของการแข่งขันอิมเมจิ้นคัพ ประเทศไทย กับครั้งแรกที่นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาคว้าชัยชนะมาครอง จากนวัตกรรม CS-M Tool : Cardiac Self-Monitoring Tool หรือ เครื่องมือการตรวจสอบการเต้นของหัวใจด้วยตนเอง

(more…)

แซดทีอีและพันธมิตรร่วมคว้ารางวัล“5G เอเนอร์จี ชาลเลนจ์ อวอร์ด” จากสมาคมจีเอสเอ็ม

แซดทีอี คอร์ปอเรชั่น (ZTE Corporation) (0763.HK / 000063.SZ) ผู้ให้บริการด้านโซลูชันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารชั้นนำระดับโลก ได้ประกาศว่า บริษัทฯ พร้อมด้วยพันธมิตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหมืองถ่านหินต้าไห่เจ๋อ (Dahaize) ของบริษัทไชน่า โคล กรุ๊ป ส่านซี (China Coal Group Shaanxi Company) 

(more…)

PwC ประเทศไทย คว้ารางวัล Microsoft Thailand Partner of the Year ประจำปี 2565

PwC ประเทศไทย ได้รับรางวัล Microsoft Thailand Partner of the Year ประจำปี 2565 ในสาขา Customer Success – Strategic Alliance จากไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) โดย PwC เป็นหนึ่งในพันธมิตรชั้นนำระดับโลกที่นำเสนอนวัตกรรมและโซลูชันเชิงกลยุทธ์เพื่อช่วยยกระดับองค์กรให้บรรลุเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงไปสู่ดิจิทัลโดยอาศัยเทคโนโลยีของไมโครซอฟท์

(more…)

ดีแทค-ทรูควบรวมเสร็จสมบูรณ์จดทะเบียนบริษัทใหม่ในนาม “บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)”

ดีแทคและทรูได้ดำเนินการควบรวมเป็นบริษัทใหม่ร่วมกันเสร็จสมบูรณ์ โดยได้หนังสือรับรองบริษัทใหม่ตามที่ยื่นจดทะเบียนต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์อย่างเป็นทางการในชื่อ “บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)”

(more…)

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เสริมรากฐานเทคโนโลยีและก้าวสู่ Smart University ด้วยบริการจากเอไอเอสบิสสิเนสและซิสโก้

ท่ามกลางภูมิประเทศอันสวยงามกว่า 5,000 ไร่ ในจังหวัดเชียงราย คือที่ตั้งของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง สถาบันอุดมศึกษาชั้นแนวหน้าของประเทศไทย ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ อันพิสูจน์ได้จากการเป็นมหาวิทยาลัยไทยที่ได้รับอันดับสูงที่สุดจากการจัดลำดับ THE World University Rankings 2023 โดย Times Higher Education (THE) องค์กรจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก

สิ่งเหล่านี้คงไม่สามารถเกิดขึ้นได้หาก มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงไม่มีพื้นฐานด้านวิชาการ การบริหารจัดการที่เป็นเลิศ และอีกสิ่งที่ขาดไม่ได้คือ พื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูง มีความยืดหยุ่นพร้อมปรับตัวรับกับทุกความเปลี่ยนแปลง

“ เพื่อตอบสนองวิสัยทัศน์ การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของอาเซียน ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ และยุทธศาสตร์ดิจิทัล เพื่อก้าวสู่ Smart University  เราให้ความสำคัญกับการวางโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี ที่พร้อมต่อยอดสู่การศึกษาที่พัฒนาอย่างไม่สิ้นสุด “ รศ. ดร.ชยาพร วัฒนศิริ อธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กล่าว

รศ. ดร.ชยาพร วัฒนศิริ อธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ระบบไอทีเพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ดิจิทัล

การจะเดินตามวิสัยทัศน์ที่วางไว้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ มหาวิทยาลัยต้องมีการพัฒนาด้านเทคโนโลยี โดยมีการกำหนดยุทธศาสตร์ดิจิทัล เพื่อการพัฒนาด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย การรองรับการเติบโตของอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง (GMS) และภาคเหนือตอนบน

การอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตแบบ Digital Life Style มอบประสบการณ์การเรียนการสอนที่ไม่มีขีดจำกัด สนองตอบต่อรูปแบบการเรียนรู้แบบ Blended Learning ที่รองรับการเรียนรู้แบบผสมผสาน และการให้บริการการแพทย์ด้วยเทคโนโลยี Telemedicine

รวมถึงการใช้บุคลากรที่มีจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด สามารถให้การบริการที่รวดเร็วต่อความต้องการ พร้อมใช้งานได้ทันท่วงที รวมถึงปรับตัวเพื่อรับมือกับทุกความเปลี่ยนแปลง ท้ายสุดคือการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์

นั่นทำให้ มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องยกระดับการเรียนการสอนด้าน การดำเนินงาน และที่สำคัญคือโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี ถึงที่พร้อมทั้งประสิทธิภาพ ความสเถียร และมีความยืดหยุ่นสูง

การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีครั้งสำคัญ

นี่จึงเป็นที่มาของการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานระบบเครือข่ายทั้งแบบใช้สาย และไร้สาย รวมถึงเสริมประสิทธิภาพด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ครั้งสำคัญ ด้วยการเลือกใช้โซลูชันจากซิสโก้ โดยมีเอไอเอสบิสสิเนส พันธมิตรด้านเทคโนโลยีที่มหาวิทยาลัยให้ความไว้วางใจ

เอไอเอสบิสสิเนส ช่วยวางแผน ออกแบบ จัดหา และติดตั้งโซลูชันต่าง ๆ ด้วยแนวคิด Intelligent Network ประกอบด้วย

  1. Intelligent Connectivity โครงข่ายการเชื่อมต่ออัจฉริยะ
  • การขยายแบนวิดธ์ระบบเครือข่ายจาก 1 Gbps เป็น 10 Gbps ครอบคลุมทั้งการปรับปรุงเครือข่าย Fiber ทั่วมหาวิทยาลัย และอัปเกรดสวิตช์ทั้ง Core, Distributed และ Access เพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีทั้งความเร็ว และความเสถียร
  • การอัปเกรดเครือข่ายไร้สายด้วยมาตรฐาน Wi-Fi 6 ด้วยอุปกรณ์แอคเซสพอยต์จากซิสโก้มากกว่า 2000 จุด โดยใช้อุปกรณ์มาตรฐานสูงอย่าง Cisco Catalyst 9800 Wireless Controller และ Catalyst 9120AX Access Point

ที่ไม่เพียงขยายพื้นที่การใช้งานมากขึ้น แต่ยังรองรับสื่อการเรียนการสอนสมัยใหม่ และ Blended Learning ซึ่งมีการใช้งานจากอุปกรณ์ต่าง ๆ มากขึ้น ทั้งโน๊ตบุ๊ก สมาร์ทโฟน และคอมพิวเตอร์แท๊ปเล็ต ที่จำเป็นต้องมีระบบเครือข่าย และอินเทอร์เน็ต ที่มีประสิทธิภาพ

2. Intelligent Security ระบบความปลอดภัยไซเบอร์อัจฉริยะ

การเสริมความปลอดภัยไซเบอร์ เพื่อรับมือกับภัยคุกคามทั้งในปัจจุบัน และอนาคต พร้อมปกป้องเครือข่าย รวมถึงผู้ใช้จากภัยไซเบอร์ทุกรูปแบบ ด้วย Cisco Firepower อุปกรณ์ Next Generation Firewall ที่สามารถให้บริการ Advanced Malware Protection (AMP) และ Next-generation IPS (NGIPS) เพิ่มเติมได้ในเครื่องเดียว

3. Intelligent Managed Service บริการช่วยจัดการอัจฉริยะ

สนับสนุนการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยด้วยบริการ Managed Services ด้วยทีมงานผู้เชี่ยวชาญจากเอไอเอส เพื่อช่วยดูแลระบบไอทีต่าง ๆ ให้ทำงานอย่างราบรื่น รวมถึงช่วยแบ่งภาระของหน่วยงานหลักด้านไอทีอย่างศูนย์บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สามารถทุ่มเทกับการพัฒนาบริการดิจิทัลต่างๆ ได้อย่างเต็มที่

ความเป็นมืออาชีพ และประสบการณ์ในการวางโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่

ด้วยประสบการณ์ในการออกแบบ ติดตั้งดิจิทัลโซลูชัน และทำงานอย่างใกล้ชิดกับสถาบันการศึกษา และองค์กรขนาดใหญ่มากมาย ทำให้เอไอเอสบิสสิเนสมีความเข้าใจความต้องการของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงเป็นอย่างดี จึงสามารถจัดหาโซลูชันที่สามารถตอบสนองต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านต่างๆ ของมหาวิทยาลัยได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ขณะเดียวกันก็สามารถเลือกใช้อุปกรณ์ที่มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมการใช้งาน เพื่อเพิ่มความเสถียร และป้องกันความเสียหายแก่อุปกรณ์ดิจิทัล เช่น ภายใต้สภาพแวดล้อมการใช้งานที่เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่กว่า 5,000 ไร่ มีทั้งภูเขา และป่าไม้ เอไอเอสบิสซิเนสจึงเลือกใช้สายไฟเบอร์ออปติกชนิดพิเศษที่สามารถป้องกันการกัดแทะจากกระรอก รวมถึงมีการป้องกันมด หรือแมลง เข้าไปสร้างความเสียหายแก่อุปกรณ์แอคเซสพอยต์  เป็นต้น

“ ในฐานะผู้นำด้านบริการดิจิทัลโซลูชัน เราทำงานอย่างใกล้ชิดกับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ในการสร้าง Smart Education Solution ที่จะช่วยสนับสนุนวิสัยทัศน์ในการก้าวสู่ Smart University เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของนักศึกษา, บุคคลากรของมหาวิทยาลัย และรูปแบบการศึกษาในยุคใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ “ คุณพรสิทธิ์ ปาลิไลยก์ Solution Sales and Partner Management Manager, AIS กล่าว

คุณพรสิทธิ์ ปาลิไลยก์ Solution Sales and Partner Management Manager, AIS

พร้อมต่อยอดความก้าวหน้าอย่างไม่สิ้นสุด

ด้วยความพร้อมของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี ด้วยโซลูชันจากซิสโก้ และการให้บริการโดยเอไอเอสบิสสิเนส ทำให้มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง พร้อมรับมือกับทุกความท้าทาย และพัฒนาตามวิสัยทัศน์ที่มุ่งสู่การเป็น มหาวิทยาลัยชั้นนำของอาเซียนที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ  (A Leading University in ASEAN with International Recognition) ได้อย่างยั่งยืน

AIS Business พาร์ทเนอร์ที่ช่วยตอบโจทย์ทุกเรื่อง ICT & Digital ที่คุณมั่นใจ
“Your Trusted Smart Digital Partner”


ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่

Email : business@ais.co.th
Website : https://business.ais.co.th

สาวไทยทีมพัฒนา แอป 7-Eleven คว้ารางวัล Tech Women’s Award จากเวที Huawei Global App Contest

 แอปพลิเคชั่น 7-Eleven ประเทศไทย คว้ารางวัล Tech Women’s Award จากเวทีหัวเว่ย โกลบอล แอป อินโนเวชัน คอนเทสต์ (Huawei Global App Innovation Contest “Apps UP 2022”) เวทีที่รวบรวมเหล่านักพัฒนาแอปพลิเคชั่นทั่วโลก ที่มีส่วนช่วยให้ผู้ใช้งานได้รับประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมที่สุดบนระบบแอปพลิเคชั่นของหัวเว่ย

(more…)

ท่าเรือเทียนจิน เดินหน้าสู่ท่าเรืออัจฉริยะเต็มรูปแบบ

เมื่อเร็วๆ นี้ Tianjin Port Group ผู้บริหารท่าเรือเทียนจิน ในประเทศจีน ประกาศจับมือกับ Huawei เพื่อสร้างแบบจำลองเสมือนดิจิทัลของท่าเรือ เพื่อทำสร้างระบบที่เป็นอัตโนมัติและชาญฉลาดมากขึ้น Yang Jiemin รองประธาน Tianjin Port Group อธิบายว่าแผนนี้ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ การก่อสร้างท่าเทียบเรืออัตโนมัติใหม่ การยกระดับท่าเทียบเรือแบบดั้งเดิม และการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลอย่างครอบคลุม

ท่าเทียบเรือส่วน C ในบริเวณท่าเรือปักกิ่งของท่าเรือเทียนจินเป็นท่าเทียบเรืออัจฉริยะไร้คาร์บอนแห่งแรกของโลก ซึ่งเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ในเดือนตุลาคม 2021 และดำเนินการอย่างมีเสถียรภาพตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา มีการนำเทคโนโลยีการขับขี่อัตโนมัติแบบ 5G และ L4 มาใช้ที่อาคารผู้โดยสารนี้เพื่อให้ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ที่อาคารผู้โดยสาร เครนตู้คอนเทนเนอร์จะทำงานโดยอัตโนมัติ และหุ่นยนต์อัจฉริยะของระบบขนส่งแนวนอนจะเคลื่อนที่ไปมาอยู่บ่อยๆ เครนท่าเรือที่ควบคุมจากระยะไกลจะยกตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรทุกจากเรือบรรทุกสินค้าและวางลงบนหุ่นยนต์อัจฉริยะสำหรับการขนส่งในแนวราบ หุ่นยนต์เหล่านี้ได้รับการสนับสนุนจากระบบดาวเทียมนำทาง BeiDou ซึ่งนำทางไปยังสถานีล็อก/ปลดล็อกอัตโนมัติเพื่อปลดล็อกตู้คอนเทนเนอร์ จากนั้นจะไปยังลานตู้คอนเทนเนอร์ตามเส้นทางการขับเคลื่อนที่เหมาะสมที่คำนวณตามเวลาจริง กระบวนการทั้งหมดดำเนินไปอย่างราบรื่น

Yang Jiemin อธิบายว่าโซลูชันใหม่นี้ ซึ่งรวมเทคโนโลยีการขับขี่อัตโนมัติ 5G และ L4 เข้าด้วยกัน ได้มีการนำไปใช้งานเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่เป็นครั้งแรกในสถานการณ์สาธารณะบางส่วนที่ท่าเทียบเรือส่วน C เทคโนโลยีนี้ได้เตรียมแบบจำลองใหม่สำหรับการอัปเกรดและเปลี่ยนแปลงท่าเทียบเรือตู้สินค้าแบบดั้งเดิมที่มีอยู่ทั่วโลก “นวัตกรรมเหล่านี้ที่นำมาใช้ที่ท่าเรือเทียนจินส่งผลอย่างมากต่ออุตสาหกรรมท่าเรือ สร้างมูลค่าใหม่ให้กับท่าเรือด้วยการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน ขับเคลื่อนการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและคาร์บอนต่ำ และเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน เราเชื่อว่าแนวทางปฏิบัติเหล่านี้จะส่งเสริมการพัฒนาอย่างชาญฉลาดของอุตสาหกรรมท่าเรือทั่วโลก” คุณหยางกล่าว

Yue Kun ซีทีโอของ Smart Road, Waterway & Port BU ของ Huawei กล่าวว่า “ท่าเรือเป็นจุดเชื่อมโยงที่สำคัญในการขนส่งทางทะเล เชื่อมโยงการค้าและตลาดอุปทานทั่วโลก การสร้างพอร์ตอัจฉริยะที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นกำลังกลายเป็นความต้องการที่เร่งด่วนมากขึ้นสำหรับห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก ท่าเทียบเรือส่วน C ของท่าเรือเทียนจินได้ดำเนินการอย่างมีเสถียรภาพมากว่าหนึ่งปีแล้ว สิ่งนี้พิสูจน์ให้เห็นว่า 5G และ L4 ขับเคลื่อนอัตโนมัติได้ถูกนำมาใช้อย่างประสบความสำเร็จในอุตสาหกรรมต่างๆ ของจีนแล้ว และกำลังสร้างมูลค่าเชิงพาณิชย์และสังคมอย่างแท้จริง” Yue เชื่อว่าความก้าวหน้านี้จะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมต่างๆ ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลยุคหน้า เช่น 5G และ AI ที่รวมกันเพื่อแก้ปัญหาในอุตสาหกรรม ส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงและยกระดับอุตสาหกรรมดิจิทัล และสร้างคุณค่าทางสังคม

ในฐานะท่าเรือสมัยใหม่ที่สำคัญแห่งหนึ่ง ท่าเรือเทียนจินมีท่าเทียบเรือระดับ 300,000 ตันที่มีความลึกของทางเดินเรือ 22 ม. มีท่าเทียบเรือ 213 ท่าประเภทต่างๆ ในปี 2022 ปริมาณงานของตู้สินค้ามีมากกว่า 21 ล้าน TEU ซึ่งจัดอยู่ใน 10 อันดับแรกของท่าเรือทั่วโลก

โรงพยาบาลรามาธิบดี ยกระดับการให้บริการ และเสริมประสิทธิภาพการทำงาน ด้วย SAP S/4 HANA

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล อัปเกรดระบบ SAP เป็นเวอร์ชัน S/4 HANA เพื่อยกระดับระบบการจัดการทรัพยากรให้ก้าวทันกับความต้องการ มีความอัจฉริยะมากขึ้น และพร้อมรองรับเทคโนโลยีแห่งอนาคตอย่างเอไอและแมชชีนเลิร์นนิ่ง สนับสนุนภารกิจของโรงพยาบาลที่รองรับคนไข้ราว 2 ล้านคนและผลิตบุคลากรทางการแพทย์ 18,000 คน ในแต่ละปี

ศ.คลินิก นพ.อาทิตย์ อังกานนท์ รองคณบดี  (ขวา) และ อ. พญ.ศนิ มลกุล รองคณบดีฝ่ายสารสนเทศ (ซ้าย) จาก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ศ.คลินิก นพ.อาทิตย์ อังกานนท์ รองคณบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงที่มาที่ไปในการอัปเกรดระบบในครั้งนี้ว่า มาจากปริมาณข้อมูลที่ต้องใช้ในโรงพยาบาล เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา ทั้งข้อมูลเกี่ยวกับการให้บริการ การเงินต่างๆ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบุคลากร ซึ่งระบบเดิมที่ใช้อยู่ไม่ตอบโจทย์กับการทำงานในปัจจุบัน  “ทางรพ.รามาฯ ได้ใช้ระบบ SAP มาตั้งแต่ปี 2552 แต่ในปัจจุบันทางรพ.รามาฯ มีการให้บริการมากขึ้นกว่าเดิมทำให้จำนวนคนไข้มีเพิ่มมากขึ้น จึงส่งผลให้ปริมาณข้อมูลก็เพิ่มสูงขึ้นตามตัวเลขของผู้มาใช้บริการ เช่นเดียวกับจำนวนของบุคลากร และสินทรัพย์ที่มากขึ้นกว่าเดิมด้วย จากสาเหตุทั้งหมดคิดว่าถึงเวลาที่ทางรพ.ต้องทำให้ระบบสารสนเทศและการใช้งานของข้อมูลเกิดประสิทธิภาพ และสามารถนำไปใช้กับการตัดสินใจได้

ปัจจุบันเอไอเข้ามามีบทบาทเยอะขึ้นในหลากหลายอุตสาหกรรม ทางด้าน Healthcare ก็เช่นเดียวกัน เราไม่สามารถหลีกเลี่ยง Digital Transformation ได้ อีกทั้งการที่รพ.รามาฯ ได้นำระบบใหม่อย่าง Business Intelligence ของ SAP มาใช้ก็ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลได้ละเอียดขึ้น และมีข้อมูลอินไซต์มากขึ้น เพื่อให้ทางรพ.รามาฯ สามารถดูแลคนไข้ได้อย่างดี ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพมากขึ้น”

สำหรับการอัปเกรดระบบ SAP จาก ECC6 เป็นรุ่น S/4 HANA ของทางรพ.รามาฯ เน้นไปที่ระบบการคลัง การจัดการพัสดุ และการบริหารทรัพยากรบุคคลเป็นหลัก เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการทำงาน และรองรับกับความต้องการใหม่ๆ ของผู้ใช้งาน

อ. พญ.ศนิ มลกุล รองคณบดีฝ่ายสารสนเทศ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงการปรับระบบ SAP ให้เป็นเวอร์ชันที่มีประสิทธิภาพพร้อมรองรับความต้องการในปัจจุบันว่า เป็นโอกาสในการปรับขั้นตอนการทำงานให้คล่องตัวมากขึ้น และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งานในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น “รพ.รามาฯ ถือว่าเป็นผู้นำทางด้าน Digital Transformation ในด้าน Healthcare และน่าจะเป็นที่แรกๆ ที่นำระบบ SAP S/4 HANA มาใช้งาน แน่นอนว่า การทำอะไรก่อนคนอื่นย่อมมีปัญหาที่เกิดขึ้นให้แก้ไข โดยเฉพาะปัญหาจากการปรับตัวของผู้ใช้งานจากการย้ายระบบครั้งใหญ่ แต่ไอทีวันเป็นพาร์ตเนอร์ที่ทางรพ.รามาฯ มั่นใจที่พร้อมช่วยแนะนำและแก้ปัญหาในจุดต่างๆ วิเคราะห์ความต้องการ และเติมเต็มในจุดที่ควรจะเป็น มองไปถึงความเป็นไปได้ในอนาคตด้วย นอกจากนั้น ยังมีความเป็นมืออาชีพในการบริหารจัดการความต้องการใหม่ๆ จากผู้ใช้งานในระหว่างการขึ้นระบบ และสามารถทำโครงการได้สำเร็จตามกำหนด นอกจากนี้ทีมงานของไอทีวันยังได้ถ่ายทอดความรู้ให้กับทีมไอทีของรพ.รามาฯ ให้สามารถจัดการและดูแลระบบได้เองซึ่งโดยรวมรู้สึกพึงพอใจกับการทำงานร่วมกับไอทีวันเป็นอย่างมาก”  

อ. พญ.ศนิ กล่าวเสริมว่า “ในเวอร์ชันใหม่นี้ ส่วนที่น่าประทับใจคือ SAP Fiori ที่รองรับการทำงานบนมือถือ ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งานของเราได้เป็นอย่างดี ช่วยให้การทำงานคล่องตัว และสามารถทำงานนอกสถานที่ได้ด้วย อีกส่วนที่ประทับใจคือ Data Services ที่เป็นการนำข้อมูลเข้าระบบได้สะดวกมากขึ้น”

นัฎฐาพร นิลศิลา Chief Growth and Strategy Officer จาก ไอทีวัน กล่าวว่า “การอัปเดตระบบ SAP ครั้งนี้ เป็นการต่อยอดจากแพลตฟอร์มเดิมที่เป็น SAP ECC 6.0 นับตั้งแต่การวางระบบและการติดตั้ง รวมถึงฝึกอบรมบุคลากร สามารถทำได้ภายใน 7 เดือน ซึ่งไม่เพียงยกระดับระบบของโรงพยาบาลให้ตอบโจทย์ความต้องการในปัจจุบัน แต่ยังเป็นการพัฒนาระบบให้สามารถรองรับการเติบโตในอนาคตได้ด้วย ทางไอทีวันต้องขอขอบคุณทางรพ.รามาฯ ที่วางใจให้เราร่วมทำงานเป็นพันธมิตร และได้ให้โอกาสเราในการนำความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและการบริหารโครงการอย่างมืออาชีพ เข้ามาช่วยพัฒนาระบบและยกระดับการบริการทางการแพทย์ของไทยให้ดียิ่งขึ้น”

ความสำเร็จของโครงการในครั้งนี้เป็นไปตามความคาดหวังและตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ซึ่งเป็นผลมาจากด้านความสามารถในการบริหารโครงการที่มีการวิเคราะห์ปัญหาและความเสี่ยงต่างๆ ตั้งแต่แรกเริ่ม รวมถึงทางทีมงานไอทีวันได้พูดคุยและสนับสนุนลูกค้าอยู่อย่างต่อเนื่อง เพื่อคอยช่วยเหลือและดำเนินการต่างๆ ได้อย่างทันท่วงที ขณะเดียวกัน ทางรพ.รามาฯ ก็ตัดสินใจได้รวดเร็ว ช่วยให้เป้าหมายที่ตั้งไว้สำเร็จได้เร็วยิ่งขึ้นด้วย