05/30/2023

News

รวมปฏิทินงาน Event ไว้ใน Eworld Mobi ที่เดียว

เพราะเรารู้ว่า คนไอที ไม่ได้มีชีวิตเกี่ยวกับไอทีด้านเดียว เราจึงรวบรวมปฏิทินงาน Event ต่างๆ จากศูนย์การประชุมแห่งชาติ สิริกิตติ์, อิมแพค เมืองทอง และไบเทค บางนา มาไว้ในแอพ Eworld Mobi ที่เดียว นอกจากนี้ยังมี ปฏิทินงานประชุมวิชาการ (Conference) งานสัมนา การอบรม การดูงาน ของหน่วยงานต่างๆ อาทิ สภาอุตสาหกรรมแหงประเทศไทย, สถาบันส่งเสริมความเป็นเลิศทางเทคโนโลยี RFID แห่งประเทศไทย เป็นต้น เพื่อให้คุณสามารถทราบได้ล่วงหน้า โดยที่ไม่ต้องไปไล่เปิดเว็บเหล่านี้ทีละเว็บ

เพียงคุณติดตั้งแอพ Eworld Mobi แล้วเลื่อนไปที่เพจ 2 จากนั้นแท็บที่ไอคอน Exhibition (สำหรับดูปฏิทินงานแสดงสินค้า) หรือ Conference (เพื่อดูปฏิทินงานสัมนา งานประชุมวิชาการ การอบรม การดูงาน ทั้งที่ฟรี และมีค่าใช้จ่าย)

2013-02-04 11.07.22

แอพพลิเคชั่นจะแสดงรายการ Event ต่างๆ คุณสามารถแท็บแต่ละ Event เพื่อดูรายละเอียด

2013-02-04 11.06.11

นอกจากดูรายละเอียดการจัดงาน (วันที่ เวลา สถานที่) แล้ว คุณยังสามารถเลื่อนลงด้านล่าง ซึ่งจะพบปุ่ม Add to Calendar เพื่อให้คุณบันทึกลงใน Calendar ของคุณด้วย

2013-02-04 11.06.28

Eworld Mobi เปิดให้ดาวน์โหลดได้ “ฟรี” โดยในตอนนี้ จะมีเฉพาะเวอร์ชั่นบน Android ก่อน ส่วน iOS จะตามมาในเร็วๆ นี้ คุณสามารถใช้ Android Smartphone สแกน QR Code ต่อไปนี้ (ต้องเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตด้วย เพื่อดาวน์โหลดแอพ) หรือเข้าไปที่ http://goo.gl/Usy08

Eworld mobi

เอชทีซีจับมือดีแทค

เอชทีซีรุกหนักตั้งแต่ต้นปีจับมือดีแทคส่ง HTC Butterfly สมาร์ทโฟนจอFull HD 5 นิ้ว เครื่องแรก พร้อมผ่อน 0% นาน 10 เดือน และส่วนลดแพ็กเกจมากสุดถึง 6,480 บาท

เอชทีซีจับมือดีแทคเปิดตัว HTC Butterfly สุดยอดสมาร์ทโฟนหน้าจอ  Full HD 1080p 5 นิ้ว เครื่องแรก ของโลก HTC Butterfly สีขาวพร้อมวางจำหน่ายที่ศูนย์บริการดีแทคที่ร่วมรายการทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 19 มกราคมนี้ เป็นต้นไปในราคา 22,900 บาท พิเศษสำหรับเครื่องพร้อมแพ็กเกจจากดีแทครับสิทธิ์ผ่อน 0% นาน 10 เดือน และรับเครดิตเงินคืน 3% เมื่อผ่อนชำระผ่านบัตรเครดิตธนาคารไทยพาณิชย์ตามเงื่อนไขที่กำหนดและโปรโมชั่นแพ็กเกจสุดพิเศษจากดีแทคเพียงเดือนละ 539 บาท จาก 899 บาท นาน 18 รอบบิล โทรฟรีทุกเครือข่าย 550 นาที ต่อรอบบิลลูกค้าสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตบน dtac 3G/EDGE ได้ไม่จำกัดด้วยความเร็วสูงสุดจำนวน 2GB  และใช้งาน dtac wifi ได้ไม่จำกัด พร้อมเปิดประสบการณ์การฟังเพลงรูปแบบใหม่กว่า 18 ล้านเพลงทั่วโลกผ่าน dtac DEEZER เริ่มต้นเพียง 89 บาทต่อเดือน

HTC

นิตยสาร Eworld เปิดตัวแอพบนมือถือ Eworld Mobi

Eworld Mobi เป็นแอพบนสมาร์ตโฟนที่จะนำข่าวสารในวงการไอทีป้อนเข้าสู่สมาร์ตโฟนของคุณได้อย่างรวดเร็ว ทั้งข่าวเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ใหม่ บทความที่ตีพิมพ์ในนิตยสาร Eworld นอกจากนี้ ยังมีปฏิทินของงานแสดงสินค้า งานสัมนา งานประชุมวิชาการต่างๆ รวมอยู่ในที่เดียว คือ แอพพลิเคชั่น Eworld Mobi นี้

Eworld Mobi เปิดให้ดาวน์โหลดได้ “ฟรี” โดยในตอนนี้ จะมีเฉพาะเวอร์ชั่นบน Android ก่อน ส่วน iOS จะตามมาในเร็วๆ นี้ คุณสามารถใช้ Android Smartphone สแกน QR Code ต่อไปนี้ (ต้องเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตด้วย เพื่อดาวน์โหลดแอพ) หรือเข้าไปที่ http://goo.gl/Usy08

Eworld mobi

ฟูจิตสึ (ประเทศไทย) มอบทุนการศึกษา

บริษัท ฟูจิตสึ ซีสเต็ม บีสซีเนส (ประเทศไทย) จำกัด เดินหน้าทำกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเดินทางไปมอบทุนการศึกษา หนังสือและอุปกรณ์การเรียนให้กับโรงเรียนบ้านไผ่ อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อเพิ่มโอกาสและพัฒนาโรงเรียนให้มีคุณภาพทัดเทียมทางสังคม พร้อมยกระดับการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อีกด้วย

03

เรดแฮท เข้าร่วม HP Enterprise Services Technology Alliance

redhat-logo

เรดแฮท อิงค์ ผู้ให้บริการโซลูชั่นโอเพ่นซอร์สชั้นนำระดับโลกประกาศความร่วมมือกับเอชพี นำเสนอโปรแกรม ‘เอชพี เอ็นเทอร์ไพรส์ เซอร์วิส เทคโนโลยี อัลไลแอนซ์’ (HP Enterprise Services Technology Alliance)โดย เอชพี เอ็นเทอร์ไพรส์ เซอร์วิส (HP Enterprise Services) นำเสนอผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของเรดแฮทเข้าเป็นส่วนหนึ่งของแพลทฟอร์มปฏิบัติการมาตรฐาน (Standard Operating Platform) สำหรับลูกค้านอกองค์กร พร้อมทั้งนำเทคโนโลยี เรดแฮท เจบอสส์ มิดเดิ้ลแวร์ และเรดแฮท เอ็นเทอร์ไพร์ส ลินุกซ์ ไปใช้เป็นแพลทฟอร์มสำหรับการพัฒนาและการใช้งานโซลูชั่นต่างๆ เพื่อบริหารการบริการสำคัญต่างๆ ในองค์กร

นายอลัน แซงเชซ ผู้อำนวยการพันธมิตรกลยุทธ์ระดับโลก เรดแฮท กล่าวว่า “การเป็นส่วนหนึ่งของ เอชพี เอ็นเทอร์ไพรส์ เซอร์วิส เทคโนโลยี อัลไลแอนซ์ ทำให้งานที่เราทำร่วมกันในด้านการออกแบบ การสร้างและการนำโซลูชั่นไปใช้งานได้จริง มีความแข็งแกร่งมาก อยู่ในระดับที่มีความยืดหยุ่นสูงสุดสำหรับอุตสาหกรรม ในขณะที่ยังควบคุมค่าใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐานได้ โซลูชั่นเหล่านี้นำเสนอสิ่งที่ดีที่สุดให้กับทั้งองค์กรและลูกค้าของเรา และผลลัพธ์ปลายทางคือเป้าหมายทางธุรกิจที่ดีกว่า

นายเกร็ก โรบินส์ รองประธานด้านพันธมิตรของ เอชพี เอ็นเทอร์ไพรส์ เซอร์วิส กล่าวว่า ‘การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้านไอทีต้องการโซลูชั่นที่แข็งแกร่ง เทคโนโลยีของเรดแฮท ผนวกกับการให้บริการของเอชพี นำเสนอโซลูชั่นที่มีความยืดหยุ่น และมีสภาพแวดล้อมที่สามารถรับมือกับความต้องการขององค์กรได้ดี ให้กับลูกค้า

โซลูชั่น เอชพี เอ็นเทอร์ไพรส์ เซอร์วิส ออกแบบและสร้างขึ้นบนแพลทฟอร์มของเรดแฮท ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะนำเสนอประสิทธิภาพที่เหนือกว่า ปลอดภัย และมีความยืดหยุ่น ผ่านแพลทฟอร์มปฏิบัติการต่างๆ

โซลูชั่นต่างๆ รวมถึง
* HP Service Orchestration Manager (SOA), ออกแบบมาเพื่อการสร้างสรรค์ การทำงานร่วมกัน และติดตามตรวจสอบบริการต่างๆ ของ SOA และแอพพลิเคชั่นที่มีความเปราะบางต่างๆ ที่รวมเข้ามาในระบบเครือข่าย ติดตามการให้บริการด้านไอทีและ Web 2.0 กับผู้ที่เป็นสมาชิก และข้อมูลที่จะนำไปใช้งานต่างๆ

* HP SDP Service Governance Framework นำเสนอโปรแกรมแอพพลิเคชั่นที่อินเทอร์เฟซกับการบริหารการลงทะเบียน การตรวจสอบความถูกต้อง การอนุญาตให้เข้าใช้งาน เช่นเดียวกับคุณสมบัติที่เป็นนโยบายของ SOA และการให้บริการที่สร้างรายได้ต่างๆ ที่สนับสนุนการใช้ไอที และนักพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่เป็นบุคคลภายนอก

* HP Storefront and Mobility Gateway นำเสนอแอพพลิเคชั่นโซลูชั่นครบวงจรสำหรับการทำงานแบบเคลื่อนที่ให้กับผู้ให้บริการการสื่อสารเพื่อนำเสนอบริการที่เหนือกว่าให้กับลูกค้าทั้งในส่วนขององค์กรธุรกิจและผู้ใช้ทั่วไป โซลูชั่นเหล่านี้ขยายการสร้างงานด้วยการให้การสนับสนุนการใช้งานสมาร์ทโฟน และแทบเล็ตที่มาพร้อมกับแอพพลิเคชั่นครบวงจรด้านการรักษาความปลอดภัยเมื่อใช้งานนอกสำนักงาน

* HP Aggregation Platform for SaaS นำเสนอข้อมูลพื้นฐานสำหรับการเสนอบริการหลากหลาย ของ as-a-service โซลูชั่นนี้ผนวกรวมและทำให้กระบวนการบริหารการให้บริการที่สำคัญๆ ทำงานโดยอัตโนมัติ เช่น การตั้งสำรอง การเปิดใช้งาน การรายงาน การใช้บริการ และการชำระภาษี

พันธมิตรของ เอชพี เอ็นเทอร์ไพรส์ เซอร์วิส เทคโนโลยี อัลไลแอนซ์’ คือองค์กรระดับโลกที่ได้รับการยอมรับ ซึ่งพัฒนางานร่วมกับเอชพี และร่วมกันนำเสนอบริการที่เหมาะสมให้กับตลาดต่างๆ พันธมิตรเหล่านี้สนใจเทคโนโลยีที่เฉพาะเจาะจงหรือโดเมนต่างๆ และนำเสนอหลักปฏิบัติที่อาจกลายเป็นส่วนที่สำคัญส่วนหนึ่งของกรอบการทำงานของผลิตภัณฑ์และการให้บริการต่างๆ

Sanook! Application ขึ้นอันดับหนึ่งทั้ง 2 App Store

1st14feb2013

นายกฤตธี มโนลีหกุล กรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจเนื้อหาและบริการ บริษัท สนุก ออนไลน์ จำกัด กล่าวว่า “เราเชื่อมั่นว่าสาเหตุที่ Sanook! Application ได้รับการตอบรับที่ดี เพราะเป็นแอพพลิเคชั่นเดียว ที่ได้รวบรวมเนื้อหาที่โดนใจผู้ใช้สมาร์ทโฟนชาวไทย ไม่ว่าจะเป็น ข่าวฮอต ข่าวบันเทิง ข่าวกีฬา ดูดวง และตรวจฉลาก โดยเฉพาะในหมวดหมู่ข่าวและข้อมูล สนุก! ได้ให้ข้อมูลเนื้อหาโดยละเอียด ทำให้ผู้ใช้งานได้ติดตามข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและครบครัน อีกทั้งในเวอร์ชั่นใหม่นี้ ได้นำเทคนิคใหม่ๆ มาใช้ในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นทำให้การใช้งานง่าย ทั้งรูปแบบการอ่านข้อมูลแบบ Grid View ที่ช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงเนื้อหาได้ง่าย พร้อมทั้งการแสดงรูปภาพในแบบ Thumbnail ที่เห็นภาพชัด ทั้งยังประมวลผลและรับ-ส่งข้อมูลข่าวสารอย่างฉับไวแบบเรียลไทม์ (Real-Time) และสามารถแบ่งปันเนื้อหาที่ชื่นชอบสู่โลกออนไลน์ได้โดยตรงจากหน้าแอพพลิเคชั่น เราจึงมั่นใจว่าปัจจัยเหล่านี้ทำให้ Sanook! Application ขึ้นแท่นอันดับหนึ่งไปได้อย่างง่ายดาย”
นอกจากเนื้อหาด้านข่าวสารข้อมูล แล้ว Sanook! Application ยังให้บริการข้อมูลต่างๆ บนหน้าสมาร์ทโฟน ทั้งดูดวง ท่องเที่ยว เกมส์-ไอที รถยนต์ เว็บบอร์ด และหน้าบริการอื่นๆ ที่เปรียบเสมือนยกหน้าเว็บไซต์สนุกดอทคอมมาไว้อย่างครบครันบนสมาร์ทโฟน ให้ความสะดวกสบายเคลื่อนที่ไปกับผู้ใช้งานอย่างง่ายดาย

IDC ประเทศไทยเผย 10 แนวโน้มสำคัญที่จะผลักดันตลาด IT ไทย

ความท้าทายหลายประการที่มาจากสภาพเศรษฐกิจและรูปแบบความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ส่งผลต่ออุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย (ตลาดไอซีที) อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขยายตัวและความต้องการสินค้าประเภทอุปกรณ์พกพาในกลุ่มสมาร์ทดีไวซ์ (Smartdevices) และรูปแบบการให้บริการด้านไอซีทีที่เปลี่ยนแปลงไป ได้ก่อให้เกิดการปรับตัวทั้งจากฝั่งผู้ประกอบการ (SMB) ผู้ให้บริการด้านไอที รวมถึงผู้บริโภคทั้งระดับองค์กรและรายย่อย ในด้านการเลือกซื้อสินค้าและบริการเหล่านี้ ก่อให้เกิดแนวคิดโมบิลิตี้ควบรวมกับกระแสคอนซูเมอร์ไรเซชั่น (IT Consumerization) อย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้   ไอดีซีเชื่อว่า การเติบโตและการใช้งานทางด้านไอซีทีของประเทศไทยในปีนี้ จะมาจากแรงขับเคลื่อนหลักทั้ง 4 ประการ ได้แก่ คลาวด์  โมบิลิตี้ โซเชียล บิซิเบส และ บิ๊กดาด้า

Image 

นายอรรถพล สาธิตคณิตกุล ผู้จัดการฝ่ายงานวิจัยและที่ปรึกษาประจำประเทศไทย (IDC Asia/Pacific’s Research Manager for Cross products & Consulting)    เผยว่า “ในปี  2556 ถือเป็นอีกหนึ่งปีที่อุตสาหกรรมไอซีทีในประเทศยังคงถูกท้าทายจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะมาจากแรงขับเคลื่อนหลักด้านโมบิลิตี้ทั้งจากผู้บริโภคและกลุ่มองค์กร รูปแบบการดำเนินธุรกิจขององค์กรได้ส่งผลต่อการใช้จ่ายทางด้านเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป หรือแม้กระทั่งการแข่งขันการให้บริการโทรคมนาคมภายใต้การสื่อสารแบบ 3G ที่จะเกิดขึ้นจริงในประเทศไทย สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนส่งผลต่อการเติบโตในอุตสาหกรรมไอซีทีของประเทศไทยด้วยกันทั้งสิ้น”   ตัวเลขการคาดการณ์ล่าสุดของไอดีซีแสดงให้เห็นว่าตลาดไอซีทีของไทย (นับรวมทั้งไอที และโทรคมนาคม) น่าจะสามารถเติบโตได้ถึง 9.8% โดยมีมูลค่าตลาดประมาณ 21 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2556

ไอดีซีได้ใช้ข้อมูลที่ได้จากงานศึกษาวิจัยล่าสุด ประกอบกับข้อมูลที่ได้จากการระดมสมองของนักวิเคราะห์ทั้งที่ประจำประเทศไทยและประจำภูมิภาค มาจัดทำเป็นงานวิจัยเรื่องการคาดการณ์ถึงแนวโน้มสำคัญ 10 ประการที่จะส่งผลกระทบมากที่สุดต่อทิศทางของอุตสาหกรรมไอซีทีในประเทศไทยโดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1.   การใช้จ่ายด้านไอซีทีของประเทศไทยยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่งแม้ว่าจะถูกท้าทายจากเทคโนโลยีใหม่ ๆ

การใช้จ่ายและการลงทุนด้านไอซีที ในปี 2556 จะได้รับแรงหนุนจากตลาดในกลุ่มองค์กร (Enterprise market) เพิ่มมากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา และได้รับอานิสงค์จากกลุ่มผู้บริโภค (Consumer market) เช่นกัน โดย 3 กลุ่มอุตสาหกรรมหลักที่ยังคงใช้จ่ายด้านไอซีอย่างต่อเนื่องได้แก่ อุตสาหกรรมการเงินการธนาคาร อุตสาหกรรมโทรคมนาคม และกลุ่มงานภาครัฐฯ จะได้เห็นจากการลงทุนด้านโซลูชั่นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมา โดยการใช้จ่ายด้าน hardware ยังคงเป็นส่วนประกอบหลักในปีนี้ อย่างไรก็ตามกลุ่มองค์กรเองยังต้องเผชิญกับการรับเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาประยุกต์ ใช้ ได้แก่ บิ๊กดาต้าและอานาไลติก (Big data and analytic) หรือเทคโนโลยีคลาวน์ ภาครัฐฯเองก็มีการลงทุนอย่างต่อเนื่องด้านระบบสารสนเทศที่จะติดต่อกับโครงการ Government Cloud (G-cloud) และ Government Information Network (GIN) เพื่อให้สอดคล้องกับแผนสมาร์ทไทยแลนด์ (Smart Thailand) นอกจากนี้การเติบโตด้านไอซีทีในปีนี้ยังได้รับปัจจัยหนุนจากการลงทุนด้านโครงข่าย 3G และโครงสร้างพื้นฐานทางโทรคมนาคมอย่างต่อเนื่องอีกด้วย    ไอดีซีคาดการณ์ว่ามูลลาดรวมไอซีทีทั้งหมดของไทยจะสามารถเติบโตได้ไม่ต่ำกว่า 9.8% ไปสู่ระดับ 21 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ได้ โดยมูลค่าการใช้จ่ายเฉพาะด้านไอทีจะอยู่ที่ประมาณ 12.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปีนี้

2.   บริการข้อมูลไร้สายยังเป็นดาวเด่นของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม

ไอดีซีคาดการณ์มูลค่าตลาดการสื่อสารและโทรคมนาคมของประเทศไทยในปี 2556 ว่าบริการด้านข้อมูลไร้สายยังคงมีการเติบโตที่สดใส เนื่องมาจากการให้บริการข้อมูล ผ่านโครงข่ายไร้สาย (Wireless network) จากผู้ให้บริการหลักที่มีปริมาณความต้องการสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับบริการข้อมูลผ่านโครงข่าย 3G อย่างเต็มรูปแบบที่จะเกิดขึ้นในช่วงปลายไตรมาสที่ 2 เป็นต้นไป ไอดีซีคาดว่าการเติบโตในปีนี้จะสูงกว่า 14% โดยมีมูลค่าตลาดไม่ต่ำกว่า 1.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ นอกจากนี้ การเติบโตของอุปกรณ์ประเภทสมาร์ทดีไวซ์ ยังถือเป็นแรงกระตุ้นหลักให้ปริมาณความต้องการใช้ข้อมูลผ่านโครงข่ายไร้สายให้สูงขึ้นอีกด้วย

3.   รูปแบบใหม่ของการให้บริการไอทีแบบครบวงจรจากกลุ่มผู้ประกอบการ

ในตลาดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าบริการด้านไอที (IT Services) ถือเป็นหนึ่งในองค์ประกอบหลักที่มีการใช้จ่ายเป็นอันดับที่ 2 รองจากการใช้จ่ายด้านฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์ด้านการเครือข่าย (IT hardware and networking system) และสามารถใช้เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดหลักในการประเมินความเป็นมืออาชีพรวมถึงความสามารถในการให้บริการจากฝั่งผู้ประกอบการด้านการให้บริการติดตั้งระบบแบบครบวงจร (IT Services Provider and System Integrator) รูปแบบการให้บริการในปีนี้จะเปลี่ยนจากกลุ่มงานบริการที่ผูกติดกับอุปกรณ์   มาสู่รูปแบบการนำเสนอบริการที่เน้นคุณค่าของกระบวนการทางธุรกิจ และตอบโจทย์ทางธุรกิจมากขึ้น  โดยลดความสำคัญของการให้บริการแบบบำรุงรักษาระบบทั่วไปลงเนื่องจากการแข่งขันที่รุนแรงในตลาดและไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ดังนั้นการสร้างมูลค่าในการให้บริการใหม่ ๆ ดังกล่าวจะส่งผลดีต่อทั้งผู้ให้บริการเองในแง่ของการสร้างมูลค่าเพิ่มในการให้บริการ ตัวอย่างโมเดลของรูปแบบการให้บริการแบบใหม่นั้นรวมถึง Outsourcing 3.0 การดำเนินกลยุทธ์การให้บริการบริหารจัดการอุปกรณ์ที่มาจากผู้ผลิตและสภาพแวดล้อมในการใช้งานที่ต่างกัน (Multi-vendors management service) หรือแม้กระทั่งการนำเสนอบริการดูแลระบบแบบเหมารวมทั้งอุปกรณ์โดยที่ลูกค้าองค์กรสามารถเรียกใช้บริการได้ตามความจำเป็น เป็นต้น ในปี 2556 นี้ ไอดีซีคาดการณ์ว่า มูลค่าตลาดบริการด้านไอทีในประเทศไทยจะเติบโตได้ถึง 14.2% และมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 1.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

4.   สิ้นสุดยุคแห่งการเติบโตที่แข็งแกร่งของพีซี

เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือเดสก์ท็อป และ เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลแบบพกพกหรือแล็ปท็อป เคยเป็นผลิตภัณฑ์ส่วนบุคคลที่มียอดขายเติบโตอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาช้านาน แต่ในทุกวันนี้จะต้องหลีกทางให้กับอุปกรณ์พกพาที่เกิดใหม่ทั้งสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต ไอดีซีเชื่อว่า ตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นไป ตลาดพีซีในประเทศไทยจะขยายตัวอย่างยากลำบาก โดยการเติบโตของตลาดพีซีตั้งแต่ปี 2556 นั้นมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างแข็งแกร่งเหมืนในปีที่ผ่านมา และอาจจะถึงการเติบโตแบบติดลบอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายพีซีต้องปรับตัวใช้กลยุทธ์ใหม่ๆ เพื่อรักษาฐานตลาดเดิมของตนไว้ ไอดีซีคาดการณ์ตลาดพีซีของประเทศไทยในปี 2556 จะขยายตัวน้อยกว่า 4% โดยมียอดจัดส่งเพียงแค่ 4 ล้านเครื่องเท่านั้น

5.   Mobile OS:  ตลาดสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตจะกลายเป็นสมรภูมิรบใหม่

ความนิยมที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ของสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตได้ทำให้ตลาดของดีไวซ์เหล่านี้เติบโตอย่างก้าวกระโดด ไอดีซีคาดการณ์ว่าด้วยแรงซื้อที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับความพร้อมของการให้บริการ 3G จะทำให้ตลาดสมาร์ทโฟนในปี 2556 มีแนวโน้มที่จะขยายตัวได้สูงถึง 40% ด้วยยอดจัดส่งทั้งหมด 7.3 ล้านเครื่อง ส่วนตลาดแท็บเล็ตเองก็มีแนวโน้มที่จะเติบโตในอัตราใกล้เคียงกัน ซึ่งหมายถึงยอดจัดส่งทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 3.5 ล้านเครื่องในปีนี้

ด้วยกำลังซื้อที่เพิ่มสูงขึ้นนี้มาพร้อมกับการแข่งขันที่เข้มข้นขึ้น ในหมู่ผู้ผลิตและผู้จำหน่าย โดย เฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการเลือกระบบปฏิบัติการณ์มากกว่าจะมองที่ความ สามารถของฮาร์ดแวร์เพียงประการเดียว ในปี 2556 ไอดีซีเชื่อว่าระบบปฏิบัติการณ์ไอโอเอส (iOS) และแอนดรอยด์ (Android) จะต้องแข่งขันกันอย่างดุเดือดเพื่อขึ้นเป็นอันดับหนึ่งในใจของผู้บริโภค ส่วนระบบปฏิบัติการที่เกิดใหม่อย่างวินโดวส์โฟน 8 (Windows Phone 8) และแบล็กเบอร์รี 10 (Blackberry 10) จำเป็นจะต้องทุ่มสุดตัวเพื่อหาพื้นที่ในตลาดเพื่อรองรับการเติบโตในอนาคต ซึ่งแต่ละระบบปฏิบัติการก็ต้องประสบกับความท้าทายที่แตกต่างกัน ไอโอเอสจำเป็นต้องปกป้องฐานผู้บริโภคเดิมในขณะที่แอนดรอยด์และวินโดวส์ จำเป็นต้องรุกเพื่อดึงส่วนแบ่งตลาดจากไอโอเอส มากขึ้น ส่วนแบล็กเบอร์รีต้องพยายามกลับเข้าสู่ตลาดอีกครั้งเพื่อเป็นทางเลือกที่ 3 รองจากระบปฏิบัติการยอดนิยมอย่างไอโอเอสและแอนดรอยด์

ไอดีซีเชื่อว่า การแข่งขันที่สูงขึ้นนี้  จะทำให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์ในแง่ของความหลายหลายของสินค้าและราคาที่ปรับตัวลดลง ในขณะที่ผู้ผลิตจำเป็นต้องวางกลยุทธ์ใหม่ๆ ควบคู่ไปกับการเพิ่มความร่วมมือกับผู้จำหน่ายในประเทศเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งตลาด

6.   ความนิยมของสมาร์ทดีไวซ์ (Smartdevices) เป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการใช้งานดิจิตอลคอนเท็นต์

กระแสความนิยมของสมาร์ทดีไวซ์ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่สมาร์ทโฟน หรืออุปกรณ์พกพาแบบแท็บเล็ตได้ส่งผลต่อการใช้งานสื่อดิจิตอลคอนเท็นต์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นคอนเท็นต์แอพพลิเคชั่นทางด้านธุรกิจ ด้านสันทนาการ ไปจนถึงคอนเท็นต์แอพพลิเคชั่นที่เกี่ยวข้องกับไลฟ์สไตล์ของแต่ละบุคคล จากผลการศึกษา Consumerscape 360 ระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของไอดีซีในปลายปี 2555 ที่ผ่านมาพบว่า ทั้งกลุ่มผู้ใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตกว่า 55% นิยมดาวน์โหลดคอนเท็นต์แอพพลิเคชั่นประเภทเกมส์มากเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือแอพพลิเคชั่นประเภทโซเชียลเน็ตเวิร์ค และเพลง เป็นอันดับที่สองและสาม ในขณะที่คอนเท็นต์แอพพลิเคชั่นด้านการเดินทาง และการถ่ายรูปได้รับความนิยมน้อยที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับความนิยมของผู้ใช้งานสมาร์ทดีไวซ์ในประเทศไทยที่พบว่า ส่วนใหญ่นิยมใช้งานคอนเท็นต์แอพพลิเคชั่นประเภทโซเชียลเน็ตเวิร์คเป็นลำดับต้น ๆ ซึ่งความนิยมนี้ได้ส่งผลต่อการเติบโตของปริมาณการใช้ข้อมูลจากผู้บริโภคและองค์กร

7.   Consumerization to personal ecosystem: สภาพแวดล้อมส่วนบุคคลผ่านสมาร์ทดีไวซ์

 ปี 2555 ที่ผ่านมา กระแสการใช้งานอุปกรณ์ประมวลผลส่วนบุคคลโดยเฉพาะสมาร์ทดีไวซ์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทำงานในองค์กรนั้น ถือว่าได้รับความนิยมอย่างสูง หลายองค์กรเองได้กำหนดนโยบายการนำอุปกรณ์ส่วนตัวเหล่านี้มาติดต่อกับระบบไอทีขององค์กรได้อย่างดีเยี่ยม และมีส่วนช่วยในการเพิ่มศักยภาพในการทำงานที่ยืดหยุ่นและทันต่อการสนองตอบทางธุรกิจมากขึ้น ในปี 2556 นี้ แนวคิดการประยุกต์การใช้งานในลักษณะ Consumerization มิได้ลดลงเลย แต่กลับกลายเป็นแรงกระตุ้นให้ผู้ใช้งานส่วนบุคคลหรือผู้บริโภค (consumer / personal user) ได้ใช้สมาร์ทดีไวซ์เพื่อการจัดการภาระงานและกิจกรรมส่วนบุคคลอันหลากหลาย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน ได้แก่ โทรศัพท์สมาร์ทโฟน 1 เครื่องสามารถเป็นได้ทั้งอุปกรณ์จดบันทึก อุปกรณ์สื่อสารทั้งข้อมูลและเสียง ฟังเพลง แลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้งาน หรือการเข้าถึงข้อมูลมัลติมีเดียในชีวิตประจำวัน เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้บริโภคเองยังได้มองหาอุปกรณ์เสริมตัวที่สองหรือพยายามสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับตนเองเพื่ออำนวยความสะดวกหรือสนับสนุนการทำงาน    หรือเชื่อมต่ออุปกรณ์แต่ละประเภทเข้าด้วยกันเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลภายใต้สถาพแวดล้อมที่สามารถควบคุมได้จากเจ้าของอุปกรณ์เหล่านี้ อาทิ การฝากข้อมูลหรือการหาพื้นที่ออนไลน์ในการเก็บหรือสำรองข้อมูล (Online –virtual storage) ส่วนบุคคลเพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างอุปกรณ์   สมาร์ทดีไวซ์ประเภทต่าง ๆ ที่ตนเองครอบครองอยู่ หรือแม้กระทั่งการหาพื้นที่เสมือนในการแบ่งปันข้อมูลระหว่างผู้ใช้งานในกลุ่มเดียวกัน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดได้แก่ การสร้างเครือข่ายระหว่างอุปกรณ์ต่าง ๆ กับระบบคลาวน์ เพื่อประโยชน์ในการสำรองและถ่ายเทข้อมูล หรือการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องเล่นมัลติมีเดียโดยผ่านช่องทางบลูทูชเพื่อเก็บเป็นโปรไฟล์ส่วนบุคคล พฤติกรรมต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นตามปรกติในชีวิตประจำวันสำหรับผู้ใช้สมาร์ทดีไวซ์ในปี 2556 

8.   การเติบโตของคลาวน์ในประเทศยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่องควบคู่กับความท้าทายหลายประการ

แม้ว่าสถานการณ์การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคลาวน์รวมถึงบริการคลาวน์ภายในประเทศยังคงเป็นไปค่อนข้างช้าเนื่องมาจากความกังวล 2 ประการได้แก่ ระบบรักษาความปลอดภัยในการใช้งาน และความปลอดภัยของข้อมูล จะเป็นปัจจัยหลักในการเลี่ยงจากกการใช้งานคลาวน์เต็มรูปแบบ ไอดีซียังคงเชื่อว่า การให้บริการคลาวน์ยังคงเกิดขึ้นในประเทศต่อไป โดยรูปแบบจะเป็นการให้บริการในลักษณะ Public Cloud มากขึ้นจากปีที่ผ่านมา นอกจากนี้โครงการการลงทุนระบบคลาวน์ภาครัฐฯ หรือ Government Cloud ที่จะนำมาเป็นส่วนเทคโนโลยีหลักในการให้บริการภาครัฐฯ เอง ก็เป็นแรงผลักดันอีกประการหนึ่ง ที่จะช่วยกระตุ้นส่งเสริมให้เกิดความมั่นใจในการใช้งานเทคโนโลยีประเภทนี้ ส่วนรูปแบบการใช้งานของคลาวน์ในประเทศในปีนี้ จะมุ่งเน้นไปที่ Application-as-a-Service (AaaS) ได้แก่ แอพพลิเคชั่นด้าน Collaboration และ Productivities เป็นหลัก

9.   การตอบรับจากกลุ่มองค์กรต่อความต้องการโซลูชั่นที่ผนวกโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที

กระแสของ Converged solution นั้นเริ่มมีให้เห็นอย่างชัดเจนมากขึ้นในอุตสาหกรรมไอที  และผู้ใช้งานระดับองค์กรได้ตระหนักถึงประโยชน์ของการปรับให้ converged solution เหล่านี้ ผู้ให้บริการระบบจึงมีความพยายามที่จะนำเสนอ consolidated solution เพื่อความสะดวกในการบริหารจัดการและควบคุมทรัพยากรด้านไอที โดยโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีนั้นกำลังก้าวไปไกลกว่าเพียงแค่ระบบเน็ตเวิร์คเพียงอย่างเดียว บรรดาผู้ผลิตอุปกรณ์เครื่องแม่ข่าย อุปกรณ์การจัดเก็บข้อมูล อุปกรณ์เน็ตเวิร์คและซอฟท์แวร์เองต่างก็พยายามนำเสนอโซลูชั่นแบบหนึ่งเดียวที่ได้รวมเอาโซลูชั่นปลีกย่อยตั้งแต่ระดับโครงสร้างพื้นฐานไปจนถึงแอพพลิเคชั่นซึ่งสามารถสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับผู้ใช้งานระดับองค์กร 

ด้วยระดับการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับความต้องการของกลุ่มลูกค้าองค์กรในการปกป้องโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีของตนจากสถานการณ์ที่ไม่คาดดิค ได้กดดันให้ผู้ผลิตอุปกรณ์ต่างๆ ต้องนำเสนอโซลูชันที่สามารถทำงานประสานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและพร้อมที่จะตอบสนองต่อความต้องการอันหลากหลายขององค์กรต่างๆ ไอดีซีคาดการณ์ว่า ตลาดระบบโครงสร้างพื้นฐานจะขยายตัวได้ประมาณ 11% ในปี 2556 โดยมีจุดเด่นที่สำคัญคือการผนวกระบบรักษาความปลอดภัยเข้าไปเป็นหนึ่งโซลูชั่นที่จะนำเสนอให้กับกลุ่มลูกค้าองค์กร

10.  ระบบการจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data and Analytics) ยังคงสร้างกระแสในอุตสาหกรรมไอที

บิ๊กดาต้าได้มีส่วนสำคัญในการผลักดันให้เกิดการลงทุนด้านไอทีในช่วงที่ผ่านมา และได้กลายเป็นหัวข้อสามัญที่เหล่าองค์กรต่างๆ ต้องหยิบยกขึ้นมาอภิปรายอยู่เสมอๆ ผู้ผลิตสินค้าและบริการด้านไอทีเองก็มีส่วนในการสร้างความตระหนักถึงการมาถึง และการใช้ประโยชน์จากบิ๊กดาต้า อนึ่งความต้องการที่จะใช้ระบบการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง และ ซับซ้อน เริ่มเกิดขึ้นในองค์กรขนาดใหญ่ และองค์กรขนาดกลางได้เริ่มพิจารณาถึงประเด็นนี้ด้วยเช่นกันระบบการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงและซับซ้อน จะกลายเป็นกลไกสำคัญในกระบวนการบริหารจัดการระบบฐานข้อมูลเพื่อให้องค์กรสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลให้ได้สูงสุด

กระบวนการคอนซูเมอร์ไรเซชันของสมาร์ทโฟนและแท็ปเล็ต ประกอบกับการที่องค์กรต่างๆ ได้อนุญาตให้พนักงานเข้าถึงแอปพลิเคชันผ่านอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ ได้ทำให้ไอดีซีเชื่ออว่าตลาด Information Management Analytics จะสามารถเติบโตได้ถึง 12% ในปี 2556

Fujitsu เปิดตัวสแกนเนอร์รุ่นใหม่ล่าสุด ScanSnap iX500 Desktop Scanner

ScanSnap iX500 เป็นสแกนเนอร์แบบตั้งโต๊ะ ที่ใช้เทคโนโลยีประมวลผลภาพ “GI” รองรับ Wi-Fi และ USB 3.0 ทำให้สามารถสแกนเอกสารและบันทึกไฟล์เอกสาร (PDF หรือ JPG) โดยตรงจากสแกนเนอร์สู่อุปกรณ์สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตได้ทันทีผ่านระบบเครือข่ายไร้สายที่ใช้งานด้วยกันอยู่ในแต่ละพื้นที่ ไม่จำเป็นต้องเปิดคอมพิวเตอร์

ScanSnap iX500 สามารถสแกนได้เร็ว 25 แผ่นต่อนาที (เพิ่มความเร็วกว่า 25% เมื่อเทียบกับรุ่นเดิม) พร้อมกับความสามารถในการสแกนให้ได้ภาพที่ถูกต้องอย่างอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็นขนาด การตรวจจับสี หรือการลบหน้าว่างออก ScanSnap iX500 ใช้กระบวนการแยกเอกสารประสิทธิภาพสูงด้วยเบรกโรลเลอร์ (brake rollers) มีความทนทานสูง ที่มีใช้งานอยู่ในรุ่นชั้นนำของฟูจิตสึตระกูล fi-Series ที่เป็นสแกนเนอร์ประสิทธิภาพสูง และยังติดตั้งเซนเซอร์อัลตราโซนิค ที่สามารถ ตรวจจับเอกสารที่ซ้อนกันอยู่ไม่ว่าสองแผ่นหรือมากกว่านั้น เพื่อลดปัญหาการป้อนกระดาษซ้อนและให้ผู้ใช้ไม่พลาดการสแกนเอกสารทุกหน้า

ด้านซอฟต์แวร์เสริม ก็มี QuickMenu ซึ่งเป็นเมนูลัดสำหรับให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกเมนูในการสแกนเอกสารได้อย่างรวดเร็ว โดยเมนูที่ชอบใช้เป็นประจำ จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือกแอพพลิเคชันที่ตนเองใช้งานบ่อยขึ้นมาหลังสแกนได้ทันที ในขณะที่เมนูแนะนำ คือ ระบบจะเลือกโปรแกรมที่เหมาะสมขึ้นมาให้เลือกทำงานหลังการสแกนเอกสารอย่างอัตโนมัติ

ในการสแกนเอกสาร สามารถทำ OCR เพื่อให้ได้ไฟล์เอกสาร PDF ที่รองรับการค้นหาข้อความได้ โดยสามารถลดเวลาในการประมวลผลระหว่างการสแกนลงได้มากกว่า 45% เมื่อเทียบกับรุ่นก่อนๆ นอกจากนี้ยังมีซอฟต์แวร์ต่างๆ มาให้ด้วย ได้แก่ ซอฟต์แวร์บริหารจัดการนามบัตร “CardMinder” ซึ่งรองรับนามบัตรถึง 11 ภาษา, ซอฟต์แวร์จัดเก็บเอกสาร Rack2 Filer Smart V1.0, Magic Desktop V1.0 ส่วน ScanSnap Connect Application นั้น เวอร์ชันล่าสุดนั้น สามารถดาวน์โหลด2 ได้ฟรีผ่าน Google Play และ AppStore

Fujitsu Scanner ix500

Adobe เปิดตัวบริการ “Creative Cloud” ในเมืองไทย

Adobe Systems เผยโฉมบริการ Creative Cloud ซึ่งเป็น Membership-based Service ผู้ใช้จะสามารถดาวน์โหลดและติดตั้งแอพพลิเคชั่น Creative Suite ได้อย่างไม่จำกัด พร้อมด้วยเครื่องมือและบริการ Photoshop Lightroom, Adobe Muse, Adobe Edge รวมถึงเครื่องมือสำหรับนักพัฒนาเกมและการผนวกรวมเข้ากับ Photoshop Touch Apps การให้บริการ Adobe Creative Cloud สำหรับทีมงาน (teams) เป็นบริการแรกสุดที่พร้อมใช้งานสำหรับสมาชิก Creative Cloud ในเมืองไทย

วิคกี้ สกิ๊ปป์ ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของอะโดบี กล่าวว่า “นับตั้งแต่ที่มีการเปิดตัวในสหรัฐฯ เมื่อเดือนเมษายน 2555 บุคลากรด้านครีเอทีฟให้การตอบรับที่ดีเป็นอย่างมาก เพียงแค่ 7 เดือน บริการของเราขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยมีผู้ใช้มากกว่า 1 ล้านรายในสหรัฐฯและประเทศอื่นๆทั่วโลก เป้าหมายหลักของเราคือการทำให้ Creative Cloud เป็นศูนย์กลางสำหรับทีมงานด้านครีเอทีฟที่ช่วยให้พวกเขาสามารถเข้าถึง เครื่องมือที่ดีที่สุดในโลก พร้อมทั้งการจัดเก็บ การประสานงานร่วมกันทั่วทั้งสถานที่ทำงาน และสามารถแชร์ผลงานได้อย่างทั่วถึงในทุกที่”

นอกเหนือจากเครื่องมือเดสก์ท็อป บริการออนไลน์สำหรับการจัดพิมพ์และแบ่งปันไฟล์ (File Sharing) การอัพเกรดโปรแกรม และฟีเจอร์ต่างๆสามารถอัพเดตทันที่ที่รีลีส บริการ Adobe Creative Cloud สำหรับ “ทีมงาน” (teams) ยังประกอบด้วยการบริหารจัดการที่สะดวกง่ายดายสำหรับเวิร์กกรุ๊ปแบบเสมือน จริง (virtual workgroup) พร้อมพื้นที่เก็บข้อมูลบนระบบคลาวด์ 100GB ต่อผู้ใช้แต่ละคน (เทียบกับ 20GB สำหรับบริการ Creative Cloud สำหรับผู้ใช้รายย่อย – Individual Creative) นอกจากนี้ยังมีบริการสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญ การบริหารจัดการแบบรวมศูนย์สำหรับการเพิ่มผู้ใช้ใหม่อย่างรวดเร็วและง่ายดาย พร้อมด้วยระบบเรียกเก็บเงินแบบรวมศูนย์ และการจัดการไลเซ่นส์อย่างมีประสิทธิภาพ

“บริการ Creative Cloud สำหรับทีมงานจะเพิ่มความสะดวกให้แก่ทีมงานที่ทำงานเป็นกลุ่ม (workgroup) ในการสร้างและประสานงานเกี่ยวกับโครงการต่างๆ นอกจากนั้น ผู้ประกอบการยังสามารถอัพเกรดฟีเจอร์ใหม่ๆได้โดยอัตโนมัติทันทีที่รีลีส” วิคกี้ สกิ๊ปป์ กล่าว “ลูกค้าจะสามารถใช้งานเครื่องมือและเทคนิคใหม่ๆ ได้ทันที โดยไม่ต้องเสียเวลารอคอยการเปิดตัวโปรแกรมรุ่นใหม่อีกต่อไป  บริการ Creative Cloud สำหรับทีมงานจะช่วยเพิ่มความสะดวกให้แก่องค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมใน การเข้าใช้ผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายของเรา และได้รับสิทธิประโยชน์มากมายอย่างครบถ้วนจากเครื่องมือและบริการของอะโดบี”

ราคาและการวางจำหน่าย
บริการ Adobe Creative Cloud สำหรับทีมงาน ค่าบริการประมาณ 840 ดอลลาร์ ต่อผู้ใช้หนึ่งคนสำหรับระยะเวลาหนึ่งปี ลูกค้าปัจจุบันที่ใช้ Creative Suite 3 ขึ้นไป และเคยซื้อซอฟต์แวร์ Creative Suite ผ่านทางโครงการ Volume Licensing อาจมีสิทธิ์ซื้อบริการในอัตราพิเศษ 600 ดอลลาร์ ต่อผู้ใช้หนึ่งคนสำหรับระยะเวลาหนึ่งปี ลูกค้าสามารถสมัครสมาชิกระดับทีมงาน (Team memberships) ผ่านทางเครือข่ายตัวแทนจำหน่ายทั่วโลก ดูรายชื่อตัวแทนจำหน่ายทั้งหมดได้ที่  http://www.adobe.com/sea และดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการ Adobe Creative Cloud สำหรับทีมงานได้ที่ http://www.adobe.com/sea/products/creativecloud/teams.html

เบลกิ้น ประกาศแผนการควบรวมกิจการ home networking ของ Cisco

25 มกราคม 2556 – เบลกิ้น บริษัทที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ แคลิฟอร์เนีย และมีฐานปฏิบัติการในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก ได้ประกาศการเจรจาข้อตกลงระหว่างเบลกิ้น และ บริษัท Cisco ถึงการซื้อธุรกิจส่วน ระบบเครือข่ายในบ้านของ Cisco ซึ่งประกอบ ด้วย ผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยี แบรนด์ Linksys และ พนักงาน ปัจจุบัน Linksys มีเครือข่ายสำนักงานอยู่ทั่วโลก โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ แคลิฟอร์เนีย เช่นเดียวกัน

“เรารู้สึกตื่นเต้นเป็นอย่างมากกับการประกาศครั้งนี้” เช็ต พิพคิน ประธานบริหาร เบลกิ้น กล่าว “ทั้งสองบริษัทมีอะไรที่คล้ายคลึงกันหลายอย่าง ตั้งแต่การก่อตั้งธุรกิจ ไปจนถึง การมุ่งมั่นตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค ภายใต้วัฒนธรรมองค์กรที่ผลักดันให้พนักงานมีความคิดริเริ่ม เป้าหมายของเบลกิ้นคือการก้าวขึ้นเป็นผู้นำระบบเครือข่ายในบ้าน ในระดับสากล และการเข้าซื้อธุรกิจครั้งนี้จึงเป็นก้าวสำคัญสู่ความสำเร็จอีกก้าว หนึ่ง”

เบลกิ้นวางแผนว่าจะรักษาแบรนด์ Linksys ไว้ และให้การสนับสนุนในการผลักดันผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด ทั้งนี้การเบลกิ้นจะเป็นผู้รับรองผลิตภัณฑ์ Linksys ที่ได้วางขายอยู่ปัจจุบันและในอนาคต ทันทีที่การลงนามสัญญาเกิดขั้น เบลกิ้นจะมีสัดส่วนในตลาดระบบเครือข่ายในบ้านและบริษัทขนาดย่อม ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ ในสหรัฐอเมริกา

“Linksys นับเป็นผู้ริเริ่มในการผลิตอุปกรณ์เพื่อการเชื่อมโยง แบบไร้สาย และเป็นที่รู้จักในตลาดพรีเมียมเป็นอย่างดี ฐานลูกค้าที่มั่นคง และให้การไว้วางใจมาโดยตลอด ผู้บริโภคจึงรู้สึกอุ่นใจเมื่อซื้อสินค้า Linksys มาใช้ภายในบ้าน ในส่วนของเบลกิ้นเอง เรามีความเข้าใจความต้องการของผู้บริโภคในเชิงลึก ประกอบกับประสบการณ์ ความชำนาญในด้านโซลูชั่นส์ และผลิตภัณฑ์ คุณภาพสูงต่างๆที่เราให้วางจำหน่าย อย่างเช่น WeMo ระบบควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้าน ซึ่งล้วนแล้วแต่จะช่วยส่งเสริมตำแหน่งทางการตลาดของ Linksys ไปในเวลาเดียวกัน”

“Linksys เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการระบบเครือข่ายในบ้าน เราได้ออกแบบผลิตภัณฑ์และการบริการชั้นนำเพื่อตอบสนองความต้องการ ของผู้บริโภคมาอย่างต่อเนื่อง” ฮิลตัน โรมันสกี รองประธานบริหาร ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ Cisco กล่าว “Linksys ภายใต้แบรนด์แม่ Cisco ได้มีการพัฒนาและสร้างความแข็งแกร่งให้แก่แบรนด์ เพื่อเป็นผู้นำในตลาด โดย Cisco มองว่า ความสัมพันธ์กับเบลกิ้นในครั้งนี้จะเป็นการสานต่อความสำเร็จของ Linksys ต่อไป”

“การรวมเป็นหนึ่งเดียวกันของเบลกิ้นและ Linksys จะนำเบลกิ้นขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำใน ตลาดระบบเครือข่ายของสหรัฐอเมริกา จากการผสมผสานนวัตกรรม และกลยุทธ์ ที่จะมอบประสบการณ์ที่แปลกใหม่ให้แก่ผู้บริโภค รวมถึงโอกาสใหม่ๆให้แก่ตัวแทนจำหน่ายทึกๆราย เบลกิ้นยังได้ฐานลูกค้าขนาดใหญ่ที่มีอุปกรณ์ใช้อยู่แล้ว ที่จะได้รับประโยชน์จากการอัพเกรดเครือข่ายภายในบ้านให้มีประสิทธิภาพมาก ขึ้น เพื่อการใช้สมาร์ทโฟน แท๊บเล็ต โน๊ตบุ๊ค หรือ ระบบควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างาสะดวกสบาย” พิพคิน กล่าว “นอกจากนั้น Linksys จะช่วยตอกย้ำ ศักยภาพการตอบโจทย์ความต้องการในผู้บริโภค ทั้ง เซอร์วิสโพรไวเดอร์ และ ธุรกิจขนาดย่อม”

เบลกิ้น และ Cisco มุ่งมั่นเดินหน้าพัฒนาความสัมพันธ์นี้ในหลายภาค ส่วน ได้แก่ การจัดจำหน่ายในรูปแบบปลีก การวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด และการพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับตลาด เซอร์วิสโพรไวเดอร์ การนำซอฟต์แวร์ โซลูชั่นส์ ของ Cisco มาใช้กับผลิตภัณฑ์ของเบลกิ้น จะทำให้ลูกค้าได้ประสบการณ์เหนือระดับ ด้วยการนำนวัตกรรมของทั้งสองบริษัทมาผสมผสานกัน จะได้แพลตฟอร์มที่มีศักยภาพในการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับเครือข่ายใน บ้านที่มีความล้ำหน้า

“ที่เบลกิ้น เรามีความตั้งใจที่จะมอบประสบการณ์เหนือชั้นสำหรับเทคโนโลยีไร้สาย และ ระบบควบคุมอุปกรณ์ภายในบ้าน” พิพคิน กล่าว “การเข้าซื้อธุรกิจ Linksys รวมถึงการผสมผสาน ความเชี่ยวชาญระหว่างเบลกิ้นและ Linksys จะช่วยให้ เราอยู่ในตำแหน่งที่สามารถตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของผู้ บริโภคในยุค ปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตามการพัฒนาของเทคโนโลยี เราตั้งตารอการได้แบรนด์ที่มีชื่อเสียงอย่าง Linksys มาเป็นส่วนหนึ่งของเรา และ พัฒนาสินค้าต่างๆภายใต้ Linksys ต่อ ไป เราจะร่วมกันมอบแพลตฟอร์มเครือข่ายไร้สายที่มีประสิทธิภาพสูง และ ใช้งานง่าย สู่ผู้บริโภคในตลาดของเรารอบโลก”

รายละเอียดทางการเงินเกี่ยวกับการซื้อขายในครั้งยังไม่ถูก เปิดเผยสู่สาธารณะ ข้อตกลงทางธุรกิจในครั้งนี้ยังอยู่ในกระบวนการพิจารณา และ มีกำหนดสิ้นสุดการตกลงภายในเดือนมีนาคม 2556

You may have missed