05/30/2023

Digital Transformation

Veeam ช่วยให้ KBank ประหยัดเวลาได้ 900 ชั่วโมง ประหยัดค่าใช้จ่ายด้านไอทีกว่า 70,000 ดอลลาร์

Veeam® Software ผู้นำด้านโซลูชันการสำรองข้อมูล การกู้คืน และการจัดการข้อมูลที่มีระบบปกป้องข้อมูลที่ทันสมัย ขอประกาศว่าปัจจุบันธนาคารกสิกรไทย (KBank) ซึ่งมีรายชื่ออยู่ใน Forbes Global 2000และเป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุดและประสบความสำเร็จมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย ได้แทนที่โซลูชันการสำรองข้อมูลแบบเดิมด้วย Veeam Availability Suite™ Veeam ดำเนินการปกป้องข้อมูลที่บริษัทเทคโนโลยีในเครือของธนาคาร กล่าวคือ กลุ่มเทคโนโลยีทางธุรกิจกสิกรไทย (KBTG) เพื่อสร้างธนาคารดิจิทัลแห่งอนาคตสำหรับลูกค้ากว่า 16.5 ล้านคน Veeam ยังรองรับข้อบังคับการปฏิบัติตามข้อกำหนดความเป็นส่วนตัวของข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย และช่วย KBank ประหยัดเวลาในงานธุรการ 900 ชั่วโมงในแต่ละเดือน และค่าใช้จ่ายด้านไอที 70,000 ดอลลาร์ในแต่ละปี
(more…)

บทความพิเศษ : การเปลี่ยนแปลงโมเดลธุรกิจจากการทำ Digital Transformation

ทีมวิทยากรของสถาบันไอเอ็มซี ได้มีโอกาสไปบรรยาย และทำ Workshop ในหัวข้อ Digital Transformation ให้กับหลาย ๆองค์กร สิ่งหนึ่งที่ทีมงานจะนำมาให้ผู้เรียนทำเสมอในตอนท้ายก็คือ การเขียน Business Model Canvas (BMC) สำหรับการจะเปลี่ยนแปลงธุรกิจ (Business Transformation) ในยุคของดิจิทัล เพราะการทำ Digital  Transformation  คือ การปรับกลยุทธ์และอาจต้องคิดโมเดลของธุรกิจใหม่โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นตัวช่วย มากกว่าที่จะคิดเพียงนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในองค์กรเพียงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานที่ยังมีโมเดลธุรกิจเดิมๆซึ่งอาจกำลังเกิด Digital Disruption

(more…)

Fujitsu ActivateNow 2020 งานแสดงวิสัยทัศน์ด้าน Digital Transformation ครั้งสำคัญของ Fujitsu

ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้ภาคธุรกิจมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบสู่วิถีความปกติใหม่ หรือ  New Normal ฟูจิตสึบริษัทไอทียักษ์ใหญ่ของประเทศญี่ปุ่นก็มีการปรับตัวในหลายๆ ด้าน ทั้งในส่วนของนโยบายทางการตลาดและการประชาสัมพันธ์เพื่ออัปเดตสินค้าและบริการต่างๆ แก่ลูกค้า

Fujitsu ActivateNow 2020.mp4_20201029_163151.015

ล่าสุด ฟูจิตสึจัดงานสัมมนาออนไลน์เต็มรูปแบบภายใต้ชื่อ Fujitsu ActivateNow งานที่ไม่ได้จัดขึ้นเฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเท่านั้น แต่ยังเป็นงานสำคัญซึ่งจัดขึ้นทั่วโลก เพื่อแสดงวิสัยทัศน์ด้าน Digital Transformation รวมถึงนำเสนอกรณีศึกษาของการนำเทคโนโลยีมาช่วยรับมือกับ COVID-19 ในประเทศต่างๆ

สำหรับในภูมิภาคเอเซียเริ่มต้นด้วยการกล่าวต้อนรับของ Takahito Tokita ผู้เป็นทั้ง CEO และ Chief DX Officer ของ Fujitsu ซึ่งได้มีการกล่าวถึงสถานการณ์การระบาดของไวรัส COVID-19 ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ชีวิตและดำเนินธุรกิจของทั้งโลกไปอย่างสิ้นเชิง ซึ่งแน่นอนว่าฟูจิตสึเองก็ต้องปรับตัวรับมือกับความเปลี่ยนแปลงนี้เช่นกัน โดยหนึ่งในความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญนั่นก็คือ การก้าวสู่ DX Company หรือบริษัทที่พร้อมช่วยให้ลูกค้าและองค์กรต่างๆ พร้อมสำหรับการปรับเปลี่ยนการดำเนินงานสู่ดิจิทัลหรือ Digital Transformation

TakahitoTokita

ในมุมของฟูจิตสึเอง บริษัทได้นำความเชี่ยวชาญด้านต่างๆ มารับมือ ยังคงสามารถเดินหน้าธุรกิจต่อไปท่ามกลางสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 และริเริ่ม Work Life Shift อันเป็นรูปแบบการทำงาน ซึ่งการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อให้พนักงานสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและสอดรับกับชีวิตวิถีใหม่ (New Normal)

จากนั้นสองผู้บริหารจากฟูจิตสึในภูมิภาคได้แก่  Arimichi Kunisawa, SVP, CEO, Head of Asia Region และ Alfee Lee, CTO, Asia Region มาร่วมให้ข้อมูลการทำงานร่วมกับลูกค้าในประเทศต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงเผยทิศทางการทำการตลาดในอนาคตของฟูจิตสึในภูมิภาคนี้

ธุรกิจของฟูจิตสึในเอเชียครอบคลุม 12 ประเทศรวมถึงประเทศไทย ดูแลลูกค้ามากกว่า 5,000 ราย และมีจำนวนดาต้าเซ็นเตอร์รวมทั้งสิ้น 16 แห่ง เช่นเดียวกับภูมิภาคต่างๆ เอเซียก็ได้รับผลกระทบอย่างมากจาก COVID-19 ซึ่งที่ผ่านมาฟูจิตสึเข้าไปมีส่วนช่วยองค์กรในเอเซียเพื่อปรับตัวรับมือกับการแข่งขันและผลกระทบจาก COVID-19 รวมถึงช่วยในการปรับเปลี่ยนการดำเนินงานสู่ดิจิทัล

004

ครอบคุลมทั้งด้านสังคม (Society) เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการใช้ชีวิต และยกระดับความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น  ด้านธุรกิจและประสบการณ์ที่ดีของลูกค้า (Business and Experience) เพื่อช่วยสร้างโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจ เพิ่มความปลอดภัยในการให้บริการลูกค้า และเพิ่มประสิทธิภาพรวมถึงความสะดวกแก่การทำงานในยุค New Normal

ขณะเดียวกันฟูจิตสึก็มุ่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้า (Trust) ให้ความสำคัญสูงสุดต่อความปลอดภัยในชีวิตของลูกค้า  พันธมิตรธุรกิจ พนักงาน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดในชุมชน ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ฟูจิตสึเชี่ยวชาญไม่ว่าจะเป็น AI, Hybrid IT, 5G, การประมวลผล, การรักษาความปลอดภัยไซเบอร์, ข้อมูล และ IoT เพื่อช่วยให้องค์กรพร้อมพลิกฟื้นธุรกิจให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติอีกครั้ง เมื่อสถานการณ์คลี่คลาย

ฟูจิตสึ ประกาศวิสัยทัศน์องค์กรด้านเทคโนโลยี และบริการอย่างชัดเจน เน้น Digital Transformation

นายโทชิโร มิอุระ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟูจิตสึ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยถึง ทิศทางธุรกิจ กลยุทธ์การบริการด้านเทคโนโลยีในปี 2563 ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของหลากหลายอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนถ่ายและเดินหน้าสู่องค์กรดิจิทัล (Digital Transformation) อย่างต่อเนื่องและชัดเจน เพื่อสนองตอบความต้องการของตลาด ฟูจิตสีจึงกำหนดพันธกิจ 4 แนวทางหลักในการขับเคลื่อนองค์กรประกอบด้วย ประกอบด้วย 1) เปลี่ยนแปลงสู่บริษัทที่มุ่งเน้นการบริการครบวงจร (Service Oriented Company) ภายในปี 2565  2)  ผสานพันธมิตรเครือข่ายเพื่อสร้างมูลค่าธุรกิจให้ลูกค้าบรรลุเป้าหมายที่ดีที่สุด 3) ขยายบริการดิจิทัลควบคู่การแนะนำให้คำปรึกษา มุ่งเน้นกลุ่มบริการ  DX-Data Driven และ DX- Modernize และ 4) เพิ่มขีดความสามารถในการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าให้ได้มากยิ่งขึ้น

(more…)

ปัจจัยฉุดรั้งแผนการก้าวสู่ความสำเร็จ Digital Transformation

ยักษ์ใหญ่วงการสื่อสารและเทคโลยีชี้การสร้างความร่วมมือและทำงานร่วมกันระหว่างทีมไอทีและการขยายธุรกิจให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และการสร้างความตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในแผนกลยุทธ์ของการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ยุคดิจิทัล เป็นปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จของการทำ Digital Transformation

จากรายงาน Digital Means Business Report 2019 จัดทำโดยเอ็นทีที  พบว่ามีเพียง 11 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรธุรกิจที่พึงพอใจอย่างมากต่อการเป็นผู้นำในการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ยุคดิจิทัล (Digital Transformation) แม้ว่า 3 ใน 4 ขององค์กรเหล่านั้นยังอยู่ในระหว่างการเปลี่ยนผ่านองค์กร

Infographic_01

องค์กรธุรกิจหลายแห่งทั่วโลกประสบความสำเร็จในการทำ Digital Transformation ถึงกระนั้นก็ตามองค์กรเหล่านั้นยังมองว่าการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลที่ประสบความสำเร็จต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ และหากองค์กรไม่สามารถสร้างภาวะผู้นำในการเปลี่ยนผ่านที่เข้มแข็งได้ และไม่ให้ความสำคัญต่อการปรับเปลี่ยนบุคคลากรภายใน อาจทำให้แผนการดำเนินงานในการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ยุคดิจิทัลไม่ราบรื่นอย่างที่ควรจะเป็น

โดยรายงานพบว่า

  • 71 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรธุรกิจที่ดำเนินการเปลี่ยนผ่านในระยะเริ่มต้น เชื่อว่าการปรับโครงสร้างของธุรกิจและการปรับวิธีการดำเนินการเป็นพื้นฐานแรกของการทำ Digital Transformation
  • ขณะที่ 49 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อว่า ทีมผู้นำขององค์กรมีทักษะที่เหมาะสมในการจัดการและดำเนินการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ยุคดิจิทัล
  • อย่างไรก็ตาม การขาดการสนับสนุนจากผู้บริหารหรือเจ้าของกิจการถือเป็นอุปสรรคสำคัญต่อความสำเร็จของการทำ Digital Transformation

ปัจจัยดังกล่าวนี้ ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่ผู้นำองค์กรจะต้องปรับเปลี่ยนตัวเองเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งกำหนดลำดับความสำคัญของพฤติกรรมและตัวชี้วัดผลการดำเนินงานรูปแบบใหม่ เพื่อผลักดันแนวทางและวิธีการการเปลี่ยนผ่านองค์กรในเชิงรุกและกลยุทธ์ให้มากขึ้น

รายงานยังแสดงให้เห็นว่า องค์กรสามารถตระหนักถึงคุณค่าที่ขับเคลื่อนด้วยผลลัพธ์จากการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล ทั้งยังมีความสัมพันธ์โดยตรงต่อการเติบโตทางดิจิทัลอย่างสมบูรณ์แบบขององค์กร อย่างไรก็ตาม การขาดความร่วมมือที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันระหว่างทีมไอที และการขยายธุรกิจขององค์กร เป็นปัจจัยฉุดรั้งความก้าวหน้าขององค์กรต่อการทำ Digital Transformation

2019 Digital Means Business Benchmarking Report Overall Infographic

ทั้งนี้ รายงานพบว่า

  • มีเพียง 29 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรธุรกิจ ดำเนินการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ยุคดิจิทัลโดยสร้างความร่วมมือระหว่างทีมไอทีและหน่วยงานธุรกิจให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
  • ขณะที่ 42 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่า ทีมบริหารธุรกิจและทีมไอทีมีแนวทางการบูรณาการระหว่างกันมากขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนผ่าน Chief Digital Officer อย่างไรก็ตาม มีเพียง 12 เปอร์เซ็นต์ที่มีความพึงพอใจอย่างมาก และเห็นว่าการวางแผนต่างๆ ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
  • เกือบครึ่งโดยประมาณ 49 เปอร์เซ็นต์ ของการทำ Digital Transformation ในองค์กรยังคงดำเนินงานโดยทีมไอทีเป็นหลัก

Wayne Speechly, VP of Advanced Competencies บริษัท เอ็นทีที กล่าวว่า องค์กรต่างๆ จำเป็นต้องหาวิธีปรับเปลี่ยนธุรกิจเพื่อเป็นฐานในการต่อยอดการทำธุรกิจต่อไปในอนาคต การเข้ามาของเทคโนโลยีดิจิทัลจะช่วยสร้างโอกาสในเชิงคุณค่าทางธุรกิจให้กับองค์กรอย่างต่อเนื่องจากการที่องค์กรเริ่มมีการเปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่ยุคดิจิทัล

นาย Wayne กล่าวต่อว่า องค์กรควรลดความสำคัญต่อการทำแผนดิจิทัลที่สมบูรณ์แบบให้น้อยลง โดยมุ่งเน้นไปที่ขั้นตอนการดำเนินการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ยุคดิจิทัลให้รอบคอบและถี่ถ้วนมากขึ้น เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าและมีการดำเนินการที่ชัดเจน การเปลี่ยนแปลงต่างๆ จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้นำที่จริงจังและมีความตระหนักรู้ถึงการเปลี่ยนแปลง

งานวิจัยดังกล่าว จัดทำขึ้นโดยการสำรวจความคิดเห็นจาก 1,150 ผู้บริหารชั้นนำใน 11 กลุ่มอุตสาหกรรม จาก 15 ประเทศในภูมิภาคอเมริกาเหนือ ยุโรป ตะวันออกกลางและแอฟริกา รวมถึงภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ผลการสำรวจให้ข้อมูลเชิงลึกต่อวิธีการที่ผู้บริหารมองเห็นโอกาสทางธุรกิจจากการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ยุคดิจิทัล รวมถึงความท้าทายจากประสบการณ์ที่ได้รับจากการทำกลยุทธ์ด้าน Digital Transformation รวมทั้งคุณค่าทางธุรกิจที่เกิดจากการเปลี่ยนผ่านองค์กรเพื่อไปสู่ความสำเร็จในอนาคต

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Digital Means Business Report 2019 สามารถดาวน์โหลดได้ที่ เว็บไซต์

กลุ่มบริษัทจินดาสุขก้าวสู่ยุค Digital Transformation ด้วยการลงทุนอย่างชาญฉลาด

ย้อนไปในอดีตกว่า 67 ปีที่ผ่านมา ในปี พ.ศ. 2493 กลุ่มบริษัทจินดาสุขเริ่มต้นธุรกิจค้าขายท่อน้ำและอุปกรณ์ประปา และได้เป็นตัวแทนจำหน่ายมิเตอร์น้ำในชื่อแบรนด์ ASAHI จากประเทศญี่ปุ่นให้การประปานครหลวง จากนั้นโรงงานผลิตในประเทศญี่ปุ่นได้ให้สิทธิการผลิตแก่คุณอุดม จินดาสุข ในการผลิตมิเตอร์น้ำ ASAHI ในประเทศไทยจึงเป็นจุดเริ่มต้นของบริษัทในกลุ่มบริษัทจินดาสุข

นับจากวันนั้นธุรกิจของกลุ่มบริษัทจินดาสุขก็เติบโตอย่างต่อเนื่อง และได้ก่อตั้งบริษัท อาซาฮี-ไทย อัลลอย จำกัด ในปี พ.ศ. 2524 ซึ่งต่อมาก็ได้ถือกำเนิดแบรนด์ Sanwa เป็นผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงที่ผลิตจากทองเหลืองแท้ พัฒนาขึ้นเพื่อตอบโจทย์การขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีความต้องการสินค้าประเภท ก๊อกน้ำ วาล์วน้ำ มิเตอร์น้ำ ครอบคลุมระบบประปาทั้งระบบทุกโครงสร้าง ทำให้กลุ่มบริษัทจินดาสุขเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น

นอกจากแบรนด์คุณภาพสูงอย่าง Sanwa แล้ว กลุ่มบริษัทจินดาสุขยังนำความเชี่ยวชาญด้านการจัดการน้ำและระบบประปาไปสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ได้แก่ ATACO ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ประปาคุณภาพสูงสำหรับองค์กรขนาดใหญ่และหน่วยงานราชการ Rambo ผลิตภัณฑ์ราคาประหยัดและทนทาน Drago เป็นเทคโนโลยีระบบการจัดการน้ำอัจฉริยะ ด้วยมาตรวัดน้ำไฮเทคผ่านระบบคอมพิวเตอร์ รวมถึงก่อตั้งบริษัท อาซาฮี บราส-ร็อด จำกัด เพื่อดำเนินกิจการโรงงานแปรรูปทองเหลืองที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน สามารถผลิตทองเหลืองเส้นและทองเหลืองขึ้นรูปป้อนเข้าสายการผลิตทั้ง 5 แบรนด์สินค้า และจำหน่ายทองเหลืองให้ผู้ผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ รวมถึงขยายออกสู่ตลาดอาเซียน

เจษฎา จินดาสุข ผู้จัดการฝ่ายขายและการตลาด กลุ่มบริษัทจินดาสุข

เช่นเดียวกับทุกองค์กร กลุ่มบริษัทจินดาสุข ก็เป็นอีกหนึ่งองค์กรที่ก้าวสู่ยุค Digital Transformation ด้วยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ เข้ามาประยุกต์ใช้งาน เพื่อการเปลี่ยนจากการจดข้อมูลลงบนกระดาษไปสู่การใช้อุปกรณ์โมบายและระบบคอมพิวเตอร์ โดยมีวิสัยทัศน์จากผู้บริหารและทีมไอทีภายใต้การนำของคุณพิภพ คุณากรบดินทร์ ผู้จัดการแผนกระบบสารสนเทศ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่เพียงต้องการระบบไอทีที่มีประสิทธิภาพเท่านั้น แต่ยังต้องการความร่วมมือร่วมใจของทั้งผู้บริหารและพนักงานทุกระดับ รวมถึงต้องมีพาร์ทเนอร์ด้านไอทีที่วางใจได้อีกด้วย

 

เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ทางธุรกิจ

คงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ คือหัวใจสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจของทุกองค์กรแทบทุกแห่ง แต่ก็ใช่ว่าองค์กรที่ประสบความสำเร็จจะเป็นองค์กรที่นำระบบไอทีมาใช้อย่างเต็มรูปแบบในทุกกระบวนการทำงานเสมอไป แต่การเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมและสอดคล้องต่อยุทธศาสตร์การดำเนินงานทั้งในปัจจุบันและอนาคตต่างหากคือหัวใจการลงทุนด้านไอทีขององค์กรยุคดิจิทัล

กลุ่มบริษัทจินดาสุข ค่อยๆ ก้าวสู่องค์กรยุคดิจิทัล ทีละขั้นอย่างเป็นระบบ ล่าสุดเมื่อธุรกิจของกลุ่มเติบโตทั้งในแง่ของกำลังการผลิตและส่วนแบ่งการตลาด ทำให้ต้องมีการปรับปรุงระบบไอทีที่มีอยู่เดิมให้มีประสิทธิภาพและตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงของตลาดได้ดีขึ้น จึงเป็นที่มาของการนำระบบไอทีเพื่อเชื่อมโยงกระบวนการทำงานของส่วนงานต่างๆ ถึงกัน ทำให้สามารถรับรู้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตได้อย่างรวดเร็ว และสามารถกำหนดกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจได้อย่างถูกต้องแม่นยำ

 

“เนื่องจากกลุ่มบริษัทจินดาสุข ไม่ได้เป็นบริษัททางด้านเทคโนโลยี ไม่มีแนวคิดในการนำระบบไอทีเป็นเครื่องกำหนดทิศทางพัฒนาองค์กร แต่การนำไอทีที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้เพื่อตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ขององค์กรได้ดีที่สุดต่างหากคือแนวคิดด้านไอทีของเรา” คุณพิภพ กล่าว “เนื่องจากกลุ่มบริษัทจินดาสุข คือผู้ผลิตและผู้จำหน่ายสินค้า ดังนั้นเทคโนโลยีไอทีที่เราเลือกเพื่อนำมาใช้ในองค์กร จึงเป็นระบบที่ถูกออกแบบและถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในการทำงานต่างๆ ให้กับพนักงาน รวมถึงช่วยควบคุมบริหารจัดการการใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นให้ถูกต้องเหมาะสมไปพร้อมๆ กัน”

 

เลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสม

อย่างไรก็ตาม การนำระบบไอทีที่ดีมาใช้งานจะประสบความสำเร็จนั้นไม่ได้มีเพียงซอฟต์แวร์หรือความร่วมมือของผู้ใช้เท่านั้น แต่จำเป็นต้องมีโครงสร้างพื้นฐานระบบที่ดีด้วย ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานระบบเครือข่ายประสิทธิภาพสูงคือหัวใจสำคัญ

 

ดังนั้นการเลือกโซลูชันเครือข่ายที่สมบูรณ์ทั้งประสิทธิภาพและเสถียรภาพ รวมถึงสามารถตอบสนองต่อการใช้งานในปัจจุบันและสามารถขยายประสิทธิภาพตามการเติบโตขององค์กรได้ในระยะยาวจึงเป็นสิ่งสำคัญ หลังจากการพิจารณาและทดสอบการใช้งาน ในที่สุดกลุ่มบริษัทจินดาสุขจึงตัดสินใจเลือกใช้โซลูชันระบบเครือข่ายระดับโลกจากซิสโก้ (Cisco)

 

ระบบเครือข่ายไร้สายและอุปกรณ์โมบาย

ในยุคเริ่มต้นของการนำระบบไอทีเข้ามาประยุกต์ใช้งาน ระบบงานบางส่วนภายในโรงงานยังคงต้องจดข้อมูลลงบนกระดาษ แล้วค่อยนำไปกรอกเข้าระบบคอมพิวเตอร์ สิ่งที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากความล่าช้าในการจดข้อมูลแล้ว จะมีโอกาสเกิดความผิดพลาดได้ทั้งในขั้นตอนการจด และการกรอกข้อมูลเข้าไปในระบบ ทำให้เกิดความล่าช้าในการรายงานผลการผลิต

 

ด้วยเหตุนี้ ผู้บริหารจึงมีแนวคิดที่จะนำอุปกรณ์โมบายอย่างเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตเข้ามาใช้งานในโรงงาน นั่นจึงเป็นที่มาของการนำระบบเครือข่ายไร้สายเข้ามาใช้งาน ภายใต้สภาพแวดล้อมการทำงานภายในโรงงานที่มีอุณหภูมิสูง และปัจจัยเสี่ยงต่อความเสียหายของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์เครือข่ายไร้สายมาตรฐาน 802.11n ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อการใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรมของซิสโก้ จึงถูกเลือกมาใช้งาน

“เราได้ปรับปรุงระบบขั้นตอนการผลิตสินค้าในโรงงาน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้การรายงานผลการผลิต เป็นไปได้อย่างรวดเร็วและต่อเนื่องมากขึ้น ดังนั้นจึงได้นำเอาระบบที่ช่วยให้สายการผลิต สามารถรายงานผลการผลิตผ่านโปรแกรมที่ถูกออกแบบขึ้นโดยเฉพาะ ทำงานผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต เพื่อให้มีความคล่องตัวในการปฏิบัติงานในพื้นที่โรงงาน และรายงานผลการผลิตจากจุดที่ผลการผลิตนั้นถูกผลิตขึ้นอย่างรวดเร็วผ่านระบบเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงของซิสโก้” คุณพิภพ กล่าว “การรายงานผลการผลิต จากเดิมที่ทำด้วยการจดรายงานในกระดาษ แล้วส่งไปให้ธุรการช่วยคีย์เข้าระบบ ทำให้เกิดความล่าช้าในการรายงานผลการผลิต การนำระบบเครือข่ายไร้สายจากซิสโก้ มาใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต และโปรแกรมเฉพาะที่เราพัฒนาขึ้นเอง ช่วยตอบโจทย์ในการรายงานผลการผลิตที่รวดเร็วกว่าเดิม และสามารถรายงานผลการผลิตได้ทุก 2 ชั่วโมง”

 

นอกเหนือจากระบบเครือข่ายแบบใช้สายและไร้สายภายในโรงงานผลิตที่จังหวัดสมุทรปราการแล้ว ระบบไอทีทั้งหมดยังเชื่อมโยงไปยังสำนักงานใหญ่ของกลุ่มบริษัทจินดาสุข ซึ่งตั้งอยู่ที่ถนนวรจักร กรุงเทพมหานคร อีกด้วย

 

ความท้าทายในการปรับเปลี่ยน

เป็นเรื่องธรรมดาที่ทุกการเปลี่ยนแปลงย่อมต้องเผชิญกับความท้าทายต่างๆ แต่ด้วยความมุ่งมั่นของทุกๆ ส่วนงาน การเริ่มต้นปรับเปลี่ยนไปสู่องค์กรยุคดิจิทัลของกลุ่มบริษัทจินดาสุขจึงสามารถก้าวข้ามอุปสรรคต่างๆ มาได้ “การนำเอาเทคโนโลยีใหม่เข้ามา เพื่อให้พนักงานที่คุ้นเคยกับการทำงานด้วยระบบเดิมๆ มายาวนานกว่า 10 ปี เป็นความท้าทายที่สำคัญ เพราะนอกจากจะมีปัญหาในด้านการพัฒนาระบบใหม่ให้ใช้งานได้ดีแล้ว บุคลากรที่มีอยู่ก็ต้องสามารถใช้งานระบบนี้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

 

นอกจากนี้ ด้วยพื้นที่โรงงานที่มีขนาดใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ซึ่งมีความยาว 900 เมตร และมีอาคารโรงงานจำนวน 10 อาคาร การออกแบบระบบเครือข่ายไร้สาย เพื่อให้สามารถทำงานครอบคลุมทุกจุดของโรงงานก็เป็นหนึ่งความท้าทาย แต่ท้ายสุดทีมงานไอทีภายใต้การดูแลของคุณพิภพและพาร์ทเนอร์ได้แก่บริษัท Net Bright ก็สามารถทำได้สำเร็จลุล่วงด้วยดี

ระบบไอทีที่ดีต้องมีพาร์ทเนอร์ที่วางใจได้

เมื่อระบบไอทีได้ก้าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินธุรกิจ เสถียรภาพจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง นอกเหนือจากประสิทธิภาพของอุปกรณ์แล้ว การมีพาร์ทเนอร์ด้านไอทีที่มีประสบการณ์ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน

 

ด้วยประสบการณ์ในวงการไอทีและระบบเครือข่ายระดับองค์กรมากกว่า 20 ปี จึงทำให้กลุ่มบริษัทจินดาสุข เลือกบริษัท Net Bright เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการด้านไอที ครอบคลุมงานด้านระบบเครือข่ายทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์เครือข่ายแบบใช้สาย Core Switch : Cisco Catalyst 3750 และ Access Switch : Cisco Catalyst 2960 อุปกรณ์เครือข่ายไร้สายครอบคลุมทั้งอุปกรณ์ Cisco 5500 Series Wireless Controllers และ Cisco Aironet 2800 ที่ติดตั้งอยู่ตามจุดต่างๆ ของสำนักงานและโรงงาน รวมถึงอุปกรณ์ Firewall เพื่อรักษาความปลอดภัยให้แก่ระบบเครือข่ายทั้งหมดของเครือบริษัทจินดาสุข

 

นอกเหนือจากการจัดหาและติดตั้งโซลูชันด้านเครือข่ายแล้ว Net Bright ยังเข้ามาช่วยวางแผนและออกแบบระบบเครือข่ายให้สามารถรองรับการเติบโตของธุรกิจทั้งในปัจจุบันและอนาคต

 

“เนื่องจากระบบไอทีมีความสำคัญอย่างมากต่อการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัทจินดาสุข ดังนั้นเราจึงให้ความสำคัญต่อการคัดเลือกผู้ให้บริการเป็นอย่างมาก โดยเรามองทั้งบริการก่อนและหลังการขาย การให้คำแนะนำต่างๆ และงบประมาณการลงทุนที่สมเหตุสมผล ด้วยปัจจัยดังกล่าว เราวางใจ Net Bright เป็นผู้ให้บริการที่ดูแลการใช้งานของอุปกรณ์ระบบเครือข่ายเกือบทั้งหมด อีกทั้งยังเป็นที่ปรึกษาที่ดีในการพัฒนาและปรับปรุงระบบเครือข่ายในองค์กร ให้เป็นไปในแนวทางที่เหมาะสมกับมาตรฐานการสร้างระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ควรจะเป็น” คุณพิภพ กล่าวทิ้งท้าย

 

ท้ายสุด แนวคิดการทำ Digital Transformation อย่างชาญฉลาดของกลุ่มบริษัทจินดาสุข คือเทคโนโลยีต่างๆ ที่นำมาใช้ต้องตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ทางธุรกิจขององค์กรเป็นหลัก และต้องเป็นเทคโนโลยีหรือระบบที่ได้ผ่านการพิจารณาและตัดสินใจมาแล้วว่า จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานต่างๆ ได้ดีขึ้น และช่วยให้การทำงานแบบดั้งเดิมมีความสะดวก ถูกต้อง แม่นยำมากขึ้นด้วย ภายใต้แนวคิดดังกล่าว ทำให้ปัจจุบันกลุ่มบริษัทจินดาสุขยังคงความเป็นผู้นำในการผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์ประปาคุณภาพสูงและขยายตัวสู่ตลาดอาเซียน

 

สนใจข้อมูลเพิ่มเติม www.netbright.co.th

บริษัท เน็ต ไบร์ท จำกัด

เลขที่ 65/150 อาคารชำนาญเพ็ญชาติ บิสเนส เซ็นเตอร์ ชั้น 18 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310

โทร. +66 2 643 8811 แฟกซ์ +66 2 643 8811

Email : sales@netbright.co.th

Youtube Channel : Net Bright

Line Official : @netbright

ฟอร์ติเน็ตเปิดตัว FortiOS 6.0 เพื่อรับมือภัยคุกคามในยุค Digital Transformation

ในงานสัมมนา Accelerate 18 จัดขึ้นโดยฟอร์ติเน็ตระหว่างวันที่ 27 – 28 กุมภาพันธ์ ณ ลาสเวกัส ประเทศสหรัฐอเมริกา ฟอร์ติเน็ตได้เปิดตัวระบบปฏิบัติการ FortiOS 6.0 รุ่นใหม่ล่าสุด เพื่อยกระดับประสิทธิภาพของซีเคียวริตี้แฟบริค (Security Fabric) โซลูชันของฟอร์ติเน็ตให้สามารถป้องกันภัยคุกคามในยุคดิจิตัลทรานสฟอร์เมชั่นได้อย่างครอบคลุมทุกเครือข่ายที่แตกต่างและลึกถึงระดับแอปพลิเคชั่น

fortios6-1

นายไมเคิล ซีผู้ก่อตั้งและดำรงตำแหน่งประธานและซีทีโอของฟอร์ติเน็ตได้กล่าวว่า ดิจิตัลทรานสฟอร์เมชั่นได้ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ อาทิ ไอโอที โมบายคอมพิวติ้ง และบริการของคลาวด์สร้างประโยชน์กับผู้ใช้ในหลายด้าน ซึ่งเป็นการเพิ่มพื้นที่ที่เป็นเป้าการโจมตีให้กว้างขึ้นด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ด้วยความเร็วที่ภัยคุกคามพัฒนาตัวเองอย่างรวดเร็วนั้น ระบบความมั่นคงปลอดภัยจึงจำเป็นต้องหลอมรวมตัวเองเข้าไปในทุกภาคของดิจิตัลทรานสฟอร์เมชั่นเช่นกัน และต้องมีศักยภาพสูงสามารถตอบสนองการทำงานของธุรกิจที่เป็นแบบอัตโนมัติได้อย่างอัตโนมัติได้ ฟอร์ติเน็ตจึงได้เร่งพัฒนา FortiOS 6.0 ให้มาพร้อมกับความสามารถใหม่ๆ กว่าสองร้อยประการ ที่ช่วยให้สามารถมองเห็นภาพกว้างได้ ผสานกับข้อมูลภัยคุกคามอันชาญฉลาด (Threat intelligence) และเพิ่มความสามารถตอบสนองได้อย่างอัตโนมัติซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อธุรกิจ

Michael Xie_Co Founder Fortinet
นายไมเคิล ซีผู้ก่อตั้งและดำรงตำแหน่งประธานและซีทีโอ ฟอร์ติเน็ต

maxresdefault

ข้อมูลด้านเทคนิค

ความสามารถใหม่ๆ จาก FortiOS 6.0 รุ่นใหม่ล่าสุด มีดังนี้

1.ความปลอดภัยในเครือข่าย

  • พัฒนาความสามารถการควบคุมเส้นทางของ SD-WAN ให้รองรับกับ Transaction ที่เกิดขึ้นจากงานของแอปพลิเคชันที่สำคัญต่อธุรกิจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของแอปพลิเคชั่น เช่น SaaS, VoIP และอื่นๆ รวมถึงความสามารถทำ Fail-over ได้อัตโนมัติ นอกจากนี้ ยังรองรับการสร้างเส้นทางระหว่างสาขาได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย เช่น งาน VPN เป็นต้น

2.ความปลอดภัยของ Multi-Cloud

  • ซีเคียวริตี้แฟบริคจะเชื่อมต่อกับเข้ากับผู้ให้บริการ Cloud Connectors ใน Private Cloud (VMware NSX, Cisco ACI และ Nokia Nuage) และ Public Cloud (AWS, Microsoft Azure, Google Cloud และ Oracle Cloud) นอกจากนี้ ยังรองรับ SaaS Cloud ด้วยCASB (Salesforce.com, Office 365, Dropbox, Box, AWS และอื่นๆ)  โดยจะช่วยให้องค์กรสามารถมองเห็นภาพของความมั่นคงปลอดภัยที่เกิดขึ้นในเครือข่ายของคลาวด์ที่เชื่อมโยงกับทราฟฟิคของเครือข่ายผ่านหน้าบริหารจัดการเพียงหน้าเดียว
  • นอกจากนี้ FortiCASB 1.2 จะถูกผสานเข้ากับ Antivirus และ FortiCloud Sandbox เพื่อเสริมความสามารถด้านการตรวจจับและป้องกัน รวมถึงสามารถรายงานการค้นพบShadow IT ที่เป็นสินทรัพย์ด้านไอทีขององค์กรที่องค์กรไม่ได้เป็นเจ้าของหรือไม่ได้ควบคุมดูแล โดย CASB ยังสามารถรองรับกับผู้ใช้งาน AWS เพื่อจัดทำรายงานและวิเคราะห์การใช้งานเพื่อให้ตรงกับกฏระเบียบข้อบังคับระดับองค์กรอีกด้วย

3. ความมั่นคงปลอดภัยของอุปกรณ์ IoT ปลายทาง

  • FortiClient 6.0 จะรองรับผู้ใช้งานบน Linux ให้สามารถเก็บข้อมูลของผู้ใช้ได้มากขึ้น เช่น ชนิดและแอปพลิเคชันจากอุปกรณ์ปลายทาง
  • Fabric Agent ใหม่จะสามารถส่งข้อมูลจากอุปกรณ์ปลายทางมายังตัวแพลทฟอร์มซีเคียวริตี้แฟบริค เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมและหาช่องโหว่ที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น โดยทำงานร่วมกับอุปกรณ์ปลายทางที่ร่วมเป็นพาร์ทเนอร์ในซีเคียวริตี้แฟบริค (Fabric-Ready endpoint security partners)

4. Advance Threat Protection (ATP)

  • สามารถทำการตรวจสอบอย่างอัตโนมัติด้านความมั่นคงปลอดภัยระดับเครือข่ายที่สำคัญในองค์กรให้เป็นไปตาม Best Practice เพื่อตอบโจทย์ข้อกำหนดของ General Data Protection Regulation(GDPR –May 2018) ซึ่งบริการใหม่จาก FortiGuard Security Rating Service จะช่วยปรับการตรวจสอบให้เหมาะสมกับเครือข่ายและสามารถออกรายงาน Regulatory และ Compliance ให้ได้ตามความต้องการ
  • บริการ FortiGuard Virus Outbreak Service (VOS) ช่วยปิดช่องว่างระหว่างการอัปเดต Antivirus กับ FortiCloud Sandbox เพื่อวิเคราะห์ตรวจหาและหยุดยั้งภัยร้ายจากมัลแวร์ที่ค้นพบระหว่างการอัปเดตก่อนที่มันจะแพร่กระจายออกไปในองค์กร
  • FortiGuard Content Disarm and Reconstruction Service (CDR) ช่วยป้องกันเนื้อหาอันตรายที่ฝังอยู่ภายในไฟล์ Microsoft Office และ Adobe โดยจะจัดการกับรูปแบบของไฟล์ที่มักจะถูกใช้กระจายมัลแวร์ ซึ่งจะช่วยลดโอกาสของการติดมัลแวร์ในการโจมตีแบบ Social Engineering หรือจากความผิดพลาดของผู้ใช้งานเอง
  • FortiGuard Indicators of Compromise (IOC) Service จะช่วยให้อัปเดตลิสต์รายการของปัจจัยที่เลวร้ายและสแกนหาอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อยู่กับซีเคียวริตี้แฟบริค เพื่อหาอุปกรณ์ที่ถูกแทรกแทรงและจัดการได้อย่างทันท่วงที
  • FortiSandbox ATP สำหรับ AWS ช่วยให้องค์กรต่อสู้กับภัยคุกคามทางคลาวด์ได้โดยเฉพาะ และจะทำงานไปควบคู่กับโซลูชันความมั่นคงปลอดภัยของเครือข่าย อีเมล อุปกรณ์ปลายทาง และอื่นๆ ได้อีกด้วย

5. อีเมลและเว็ปแอปพลิเคชัน

  • ด้วยการผสานระหว่าง VOS และ CDR ทำให้อุปกรณ์ FortiMail ช่วยป้องกันการกระจายของการโจมตีได้อย่างรวดเร็วและสามารถตรวจสอบหาเนื้อภายในที่ฝัง Code Execution มาเพื่อสร้างการโจมตีได้
  • สามารถแสดงภาพของอีเมลและเว็บแอปพลิเคชันในเครือข่ายทั้งหมดได้จากศูนย์กลางด้วยWidget แบบใหม่

6. การวิเคราะห์และบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัย

  • ความสามารถในการตอบสนองเหตุการณ์ผิดปกติแบบใหม่บนซีเคียวริตี้แฟบริค จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถตอบสนองเหตุการณ์ได้อัตโนมัติตามที่กำหนดไว้ (System Event, Threat Alert, User และสถานะของอุปกรณ์) หรือตามกิจกรรมที่เกิดขึ้น(ITSM) วิธีการตอบสนองนั้นประกอบด้วย การกักกัน แจ้งเตือน ปรับปรุงการตั้งค่า และออกรายงาน ช่วยให้องค์กรสามารถควบคุมสภาพแวดล้อมของการทำงานได้แบบเรียลไทม์
  • ฟีเจอร์การ Hardening อย่างอัตโนมัติจะช่วยแนะนำและให้ข้อมูลแนวโน้มของการบังคับใช้ความมั่นคงปลอดภัยระดับองค์กรให้เป็นไปตาม Best Practice

7. Unified Access

  • Switch และ Access Point ของฟอร์ติเน็ตจะสามารถตอบสนองเหตุการณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัยได้อย่างอัตโนมัติ เช่น กักกัน แบ่งแย่ง และบล็อก Switch หรือ Access Point ที่มีการละเมิดนโยบายที่กำหนด

8. การแบ่งแยกการใช้งานของธุรกิจเพื่อรองรับ Intent-based network security

  • ฟอร์ติเน็ตยังได้เพิ่มความสามารถให้มีการแบ่งแยกตามการใช้งานของธุรกิจได้ด้วยการติด Tag อุปกรณ์ อินเตอร์เฟส หรือตามวัตถุประสงค์ของธุรกิจ องค์ประกอบ และตามระดับของเครือข่ายเพื่อสามารถสร้าง Policy ในการบังคับใช้กับอุปกรณ์ที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ในเครือข่าย ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของคอนเซปต์Intent-based network security เพราะจะส่งผลให้ธุรกิจสามารถแบ่งแยกการใช้งานและบริหารจัดการรวมถึงควบคุมอุปกรณ์ทุกอย่างในเครือข่ายได้อย่างอัตโนมัติต่อไป
  • FortiGuard ยังได้เพิ่มความสามารถในระบบการตรวจจับ Advance Threat ด้วย Artificial Intelligence อีกด้วย

ฟอร์ติเน็ต ย้ำหากจะทำ Digital Transformation อย่าลืมเรื่อง Digital Security

ทุกวันนี้องค์กรต่างต้องปรับตัว เพื่อรับมือกับสภาวะการแข่งขันที่รุนแรงและความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป และแนวคิดการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและระบบไอทีเข้ามาประยุกต์ใช้งานหรือรู้จักกันภายใต้วลีฮิตอย่าง Digital Transformation เป็นสิ่งที่หลายาองค์กรกำลังมุ่งไป แต่ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวคงไม่สามารถประสบความสำเร็จได้หากระบบไอทีขององค์กรไม่มีการรักษาความปลอดภัยที่ดีพอ

data01

โดยองค์กรวิจัยไอดีซีได้รายงานมูลค่ารวมของตลาดระบบความปลอดภัยเครือข่าย ทั้งโลกของปีคศ. 2016 ไว้ที่ 11.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ  โดยเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์  2017 ฟอร์ติเน็ตประกาศผลประกอบการประจำปี โดยแสดงรายได้ (Full year revenue) จากหน่วยงานธุรกิจทั่วโลกขององค์กรมากถึง 1.28 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นอัตราการเจริญเติบโตสูงขึ้น 26%  จากปี 2015 โดยปี 2017 ไอดีซีได้ประมาณมูลค่ารวมของตลาดระบบความปลอดภัยเครือข่ายที่ 12.23 พันล้านเหรียญสหรัฐ

มร. อัลวิน ร้อดดิเก้ หัวหน้าฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ด้านความปลอดภัย  ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค  ฟอร์ติเน็ตเห็นว่า ในการปฏิรูปองค์กรเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันโดยอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Transformation) นั้น ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีที่องค์กรดำเนินธุรกิจและวิธีการที่ปฏิบัติงาน   โดยมีเป้าหมายคือ องค์กรจะตอบสนองสิ่งที่ลูกค้าต้องการได้อย่างไร และจะให้มากกว่าที่ลูกค้าคาดหวังได้อย่างไร

แต่ยุคดิจิทัลทรานสฟอร์เมชั่นนี้ ก็มาพร้อมกับความเสี่ยงต่อภัยคุกคามมากขึ้น เริ่มต้นจากวิธีการที่เรารู้จัก อาทิ การยืนยันตัวตนเข้าใช้งาน (Authentication) ภัยคุกคามที่อุปกรณ์เกทเวย์ที่บรรจุข้อมูลสำคัญ (Information Gateway) คลาวด์ (Cloud) สิ่งแวดล้อมเสมือน (Virtualized environment) และอื่นๆ อีกมาก จากผลการสำรวจ “2017 Global Enterprise Security Survey” ของฟอร์ติเน็ต พบว่าองค์กรส่วนใหญ่ประสบภัยคุกคามใหญ่ๆ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และที่น่าสนใจ คือ ภัยที่มุ่งคุกคามที่ข้อมูลและพบการเกิดภัยแรนซัมแวร์เรียกค่าไถ่เป็นจำนวนสูงมากติดอันดับ Top 2   และเกิดภัยที่มุ่งคุกคามที่ธุรกิจดิจิทัลเป็นอันดับ  Top 5

Fortinet_Press interview on 14 11 2017

ซึ่งหมายความว่า ในแวลูเชนขององค์กรในยุคดิจิทัลทรานสฟอร์เมชั่นนี้ ยังมีช่องโหว่อยู่ เช่น ภัยคุกคามใหม่ๆ (Unknown threats) โจมตีที่ระบบวิเคราะห์ข้อมูล  ภัยคุกคามทีทำให้การใช้งานขององค์กรและบริการของลูกค้าบนโมบายหยุดชะงัก เป็นต้น

ฟอร์ติเน็ตแนะนำว่า ในการสร้างความปลอดภัยให้กับดิจิทัลทรานสฟอร์เมชั่น  องค์กรควรตระหนักถึงภัยที่อาจเกิดขึ้น และวางแผนป้องกันที่มีประสิทธิภาพ โดยควรจะเริ่มต้นใช้อุปกรณ์ที่สร้างขึ้นบนมาตรฐานเปิดแทนที่จะใช้อุปกรณ์แบบเดิมๆ และแทนแพลทฟอร์มด้านความปลอดภัยที่แยกกันอยู่  ซึ่งจะช่วยท่านใช้ระบบความปลอดภัยและกรอบด้านความปลอดภัยที่เป็นมาตรฐานได้ และสิ่งที่สำคัญทีสุด คือการประสานระบบความปลอดภัยเข้ากับหัวใจทางธุรกิจขององค์กร

ข้อแนะนำที่เพื่อไม่ให้ธุรกิจตกยุค Digital Transformation

ต้องยอมรับว่าเรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคของการนำเทคโนโลยีดิจิตัลมาประยุกต์ฬช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการดำเนินธุรกิจหรือ Digital Transformation นั่นเอง

shutterstock_533634832-2

สำหรับธุรกิจที่ไม่อยากตกยุคของ DX Economy ทีมงาน Eworld มีข้อแนะนำที่คุณต้องลงมือปฏิบัติดังต่อไปนี้

 

  1. ยอมรับ เพราะการยอมรับว่า DX นั้นมาถึงแล้ว จะทำให้คุณเตรียมตัวรับมือมันได้ดีขึ้น
  2. เข้าใจลูกค้าและสภาพการแข่งขัน เพื่อนำไปสู่การใช้ Big Data อย่างเข้าใจมากขึ้น
  3. สร้างพันธมิตร อย่าพัฒนาแอปพลิเคชันที่ไม่สามารถใช้งานร่วมกับใครได้เลย แต่ควรสร้างพาร์ทเนอร์เพื่อขยายการทำงานของแอปพลิเคชันและบริการ
  4. การทำ DX ต้องเกิดขึ้นบน 5 แกน นั่นคือ ต้องสร้างนวัตกรรม จากนั้นต้องมีการรีวิวระบบการจัดการ, มีการรีวิวการใช้ข้อมูลขององค์กร, มีการรีวิววิธีที่ธุรกิจมีส่วนร่วมกับลูกค้า และรีวิววิธีการสร้าง Talent ภายในองค์กร

7 ข้อคิดสำหรับองค์กรที่ต้องการทำ Digital Transformation

เมื่อเอ่ยถึงสิ่งที่หลาย องค์กรให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ ในตอนนี้ หนึ่งในนั้น คงหนีไม่พ้นเรื่อง Digital Transformation เพื่อให้องค์กรพร้อมสำหรับการแข่งขันในอนาคต แต่การเกิดขึ้นของเทคโนโลยีจำนวนมากอาจมีส่วนทำให้ภาคธุรกิจเกิดความสับสน ว่าจะเลือกเทคโนโลยีตัวใดมาปรับใช้กับโปรดักซ์ หรือเซอร์วิสภายในองค์กรดี

8J8uCZtuqtkT43M8N5CEhB-970-80

Jon Topper ผู้ก่อตั้งและที่ปรึกษาของ The Scale Factory จึงได้ให้คำแนะนำเอาไว้อย่างน่าสนใจ โดยเขาระบุว่า สิ่งที่ธุรกิจควรให้ความสำคัญกับโลกในยุค Digital Transformation ก็คือตัวของธุรกิจเอง ไม่ใช่การโฟกัสในเทคโนโลยีจนเสียศูนย์ ส่วนเทคโนโลยีที่มีมากมายหลายแบบให้เลือกนั้น ขอให้พิจารณาเลือกใช้เทคโนโลยีที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้องค์กรได้สูงสุด และสามารถให้บริการลูกค้าและสังคมรอบข้างได้สูงสุดจะดีกว่า

เหนือสิ่งอื่นใด สิ่งที่จะต้องเกิดก่อนใครเพื่อนก็คือการปรับทัศนคติของคนในองค์กร เพราะในอดีตที่ผ่านมา ฝ่ายไอที มักเป็นหน่วยงานด้านการซัพพอร์ตอย่างแท้จริง แต่ในยุค Digital Transformation บทบาทของฝ่ายไอทีจะต้องเปลี่ยนสู่การเป็นผู้นำให้องค์กรสามารถก้าวผ่านการเปลี่ยนแปลงไปได้อย่างราบรื่น รวมถึงสามารถประยุกต์ธุรกิจขององค์กรให้สามารถเจาะตลาดหรือสร้างโปรดักซ์ใหม่ ๆ ได้ด้วย

สำหรับองค์กรใดที่ทัศนคติพร้อมแล้ว เรามีเช็คลิสต์เกี่ยวกับการทำ Digital Transformation ที่ควรปรับใช้มาฝากกันดังนี้

  1. ก้าวสู่ Cloud เพราะคลาวด์ถือเป็นจุดเริ่มต้นของทุกอย่างในยุคนี้เลยก็ว่าได้
  2. ใช้แนวคิดแบบสตาร์ทอัป ในอดีตองค์กรขนาดใหญ่มักเคลื่อนตัวช้าทำอะไรไม่ทันใจ แต่แนวคิดแบบสตาร์ทอัปเป็นตรงกันข้าม นั่นคือเริ่มเร็ว ล้มเร็ว และลุกมาเริ่มใหม่เร็ว ซึ่งถือเป็นแนวคิดที่ตอบโจทย์ตลาดยุคนี้
  3. ปฏิบัติต่อคนรอบข้างเหมือนทุกคนเป็นลูกค้า ข้อนี้แม้จะดูไม่เกี่ยวกับเทคโนโลยี แต่มีส่วนมากต่อการทำ Digital Transformation เพราะในโลกยุคต่อไป รูปแบบการทำงานจะเปลี่ยนเป็นการจับมือกันมากขึ้นเพื่อช่วยขับเคลื่อนธุรกิจ ซึ่งองค์กรต้องจับมือกันให้ได้มากที่สุด
  1. ต้องรักษาความปลอดภัยของข้อมูล โดยธุรกิจต้องศึกษาเรื่องระบบรักษาความปลอดภัย ทั้งการเข้ารหัส หรือการทำ two-factor authentication เอาไว้เป็นเบื้องต้น จึงค่อยเดินหน้าต่อ แต่ถ้าไม่มีทั้งสองสิ่งนี้ การก้าวต่อไปในยุค Digital Transformation คงเป็นไปไม่ได้
  2. เลือกแพลตฟอร์ม SaaS ให้ดี
  3. สิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับคือ บริษัทไม่จำเป็นต้องพุ่งลงไปในทุกเทคโนโลยีที่มีให้ทดลองใช้งาน เพราะเป็นไปไม่ได้ อยากให้มองว่า Digital Transformation เป็นการตั้งเป้าหมายระยะยาวมากกว่า
  4. ตัดส่วนที่ไม่จำเป็นออก โดยเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่ เมื่อต้องเปลี่ยนแปลง บางทีต้องมีการปรับโครงสร้างองค์กรกันเลยทีเดียว เพราะงานบางอย่างก็จะไม่ได้ไปต่อสำหรับธุรกิจในยุคต่อไป ซึ่งในจุดนี้ ผู้บริหารต้องมีวิสัยทัศน์มากพอที่จะมองออกว่า สินค้าหรือบริการตัวไหนคือสิ่งที่ธุรกิจสามารถนำไปด้วยได้

ที่มา : http://www.itproportal.com

You may have missed