App Killer ใหม่ทางธุรกิจ
โดย พงษ์ ผาวิจิตร (ตีพิมพ์ในนิตยสาร Eworld ฉบับเดือน มิถุนายน 2011)
Killer Application (หรือ App Killer แล้วแต่จะเรียกกัน) ในยุคแรกๆ ของวงการคอมพิวเตอร์ที่ทุกคนขาดเสียไม่ได้คือโปรแกรมจำพวก Word และ Spreadsheet แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไป กลายเป็นของธรรมดาสามัญที่ทุกคนขาดเสียไม่ได้ แถมยังต้องอัพเกรดกันเป็นระยะๆ
แล้วในทางเศรษฐกิจและสังคม จะมีนโยบายที่เหมือนกับ App Killer บ้างไหม?…ว่ากันว่าโลกในรอบหนึ่งร้อยปีที่ผ่านมา มีพัฒนาการที่เร็วมาก บางประเทศก้าวจากประเทศล้าหลังเป็นประเทศแนวหน้า เพราะมีการปรับใช้ App Killer 6 ตัว นั่นคือ การศึกษา การพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์สมัยใหม่ ประชาธิปไตย กฏหมายทรัพย์สินทางปัญญา และทุนนิยม ซึ่งก็ไม่ต่างจาก App ในวงการคอมพิวเตอร์ที่มีการอัพเกรดสม่ำเสมอ พร้อมกับแนะนำตัวใหม่ๆ เข้าไปเสริม ซึ่ง App Killer ตัวใหม่ๆ ที่เข้าไปเสริม ก็หนีไม่พ้น Buzz Word ที่มีให้ได้ยิน ได้เห็นกันอยู่ทุกวันในสื่อต่างๆ ในแทบทุกวงการ ซึ่งประกอบไปด้วย นวัตกรรม เศรษฐกิจสร้างสรรค์ พลังานสีเขียว จิตอาสา และตัวสุดท้ายที่ผู้เขียนขอเรียกว่า “การเป็นอยู่อย่างขี้เกียจอย่างสร้างสรรค์” เพราะไม่รู้ว่าจะแปลคำว่า Sustainable Living เป็นภาษาไทยให้มีความหมายได้อย่างไร รวมๆ แล้วสังคมยุคใหม่ที่จะถือว่าวิวัฒนายั่งยืนต่อไปได้ จึงประกอบด้วย App Killer ทางเศรษฐกิจรวมๆ กันแล้วไม่น้อยกว่า 10 ตัว บางประเทศไปไกลกว่านั้นด้วยซ้ำ โดยมากเป็นประเทศเล็กๆ อย่างเดนมาร์ก สิงคโปร์ เพราะโดยธรรมชาติของการอยู่รอดแล้ว คนตัวเล็กต้องมีอะไรดีกว่าคนตัวใหญ่ มิเช่นนั้นแล้ว นอกจากจะไม่ได้รับการยอมรับจากคนตัวใหญ่แล้ว อาจถูกรังแกได้ง่ายๆ ด้วยซ้ำ
อย่างประเทศสิงคโปร์ นอกจากเขียนพิมพ์เขียวในการนำชาติไปสู่ความมั่งคั่งยั่งยืนไม่ต่างจากชาวบ้านแล้ว เขายังไปไกลเกินประเทศตัวเอง กล่าวคือในแผนของสิงคโปร์ เขากำหนดไว้ด้วยว่า เขาจะเป็นประเทศที่มีความพร้อมในการเข้าไปให้คำปรึกษาและแก้ปัญหาให้กับประเทศที่จะมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับต้นๆ สองประเทศคือ จีน และอินเดีย ซึ่งครั้งแรกที่ผู้เขียนอ่าน รู้สึกทึ่งเป็นอย่างยิ่งว่าเขาคิดเรื่องอย่างนี้ได้อย่างไร? สาเหตุที่เขามองเห็นปัญหาของยักษ์ใหญ่ของโลกเป็นโอกาสของเขา เพราะเขารู้ว่าด้วยขนาดที่ใหญ่โต อุ้ยอ้าย มีปัญหาภายในเยอะ ไม่สามารถจัดการด้วยตัวเองได้ง่าย จึงต้องอาศัยบริการจากเหาฉลามในการทำเรื่องที่นักการเมืองภายในไม่กล้าหาญพอที่จะทำ หากเขาสามารถคิดในเรื่องเศรษฐกิจได้ แล้วทำไมในอนาคตอันใกล้ เขาจะคิดเรื่องการเมืองได้ เชื่อว่าประเทศไทยอาจเป็นประเทศแรกที่ใช้บริการของสิงคโปร์ ก็ในเมื่อเราไม่สามารถสร้างนักการเมืองที่มืออาชีพจริงๆ ขึ้นมาบริหารประเทศได้สักที ทั้งๆ ที่อายุการมีประชาธิปไตยของเรายาวนานกว่าประวัติศาสตร์ชาติสิงคโปร์ด้วยซ้ำ ก็ต้องยอมรับว่า “ซื้อ” เขาใช้น่าจะถูกกว่า (ประหยัดค่าคอร์รัปชั่น) และรวดเร็วกว่า (ไม่ต้องออกมาเดินประท้วง)
สำหรับประเทศขนาดใหญ่ที่มี App Killer ตัวหลักๆ ใช้ได้อย่างครบครันที่สุด ก็เห็นจะเป็นประเทศญี่ปุ่น และเหตุการณ์สึนามิครั้งล่าสุด พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ญี่ปุ่นสามารถ Implement แอปตัวใหม่ๆ ให้กับสังคมได้อย่างเป็นผล เช่นเรื่องจิตอาสา ซึ่งหลังจากเกิดเหตุการณ์ขึ้น คนญี่ปุ่นเดินทางออกนอกประเทศน้อยมาก เพราะเขารู้สึกว่าเมื่อชาติอยู่ในภาวะคับขัน จำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือ แต่ในช่วงปี 2540 ที่เราเจอวิกฤติเศรษฐกิจครั้งแรก คนไทยกลุ่มใหญ่ๆ เลือกที่จะหนีไปตั้งหลักรอที่ประเทศสหรัฐอเมริกา คนแก่ชาวญี่ปุ่นคนหนึ่งที่ติดในซากปรักหักพัง หลังจากรอดออกมาได้ คำถามแรกที่ลุงแกถามคือ “..จากนี้ไป ประเทศของเราจะเตรียมตัวรับมือกับปัญหานี้ได้อย่างไร” ..แนะ.. คือแกไม่ได้ห่วงตัวแกเลย แต่กลับห่วงอนาคตของประเทศ ทั้งๆ ที่อนาคตของแก อาจมีชีวิตไม่ยืนยาวได้เห็นอนาคตของชาติ ผิดกับดินแดนสุวรรณภูมิ เวลาน้ำท่วม ชาวบ้านออกมาโวยวายว่าทางการยังไม่มีถุงยังชีพไปให้ ไม่มีใครให้ความช่วยเหลือสักที รออยู่สองสามวันแล้ว นี่ผู้เขียนเห็นจากข่าวที่หญิงสาววัยไม่ถึงสามสิบคนหนึ่งออกมาต่อว่าใส่อารมณ์ให้สื่อที่ไปสัมภาษณ์แก แทนที่แกคิดจะช่วยเหลือตัวเองในสองสามวันนั้น แกเลือกที่จะรอขอความช่วยเหลือจากทางการ แต่ดูจากหน้าตาของเธอแล้ว เชื่อว่าชาตินี้คงไม่เคยเสียภาษี สังคมน่าจะถามเธอกลับว่า ..แล้วที่ผ่านมาเคยช่วยเสียภาษีให้กับรัฐบาลบ้างไหม?
อย่างไรก็ตาม การที่เรามี App Killer ทางเศรษฐกิจดีๆ หลายตัว อย่างเช่น ความตื่นตัวในเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งถือว่าเป็นประเทศแรกๆ ในโลก (หวังลึกๆ ว่า คงไม่ใช่ประเทศท้ายๆ ที่ทำสำเร็จ) ก็ไม่ได้เป็นหลักประกันว่าจะก้าวหน้าพรวดๆ ได้เร็วกว่าชาติอื่น เหมือนกับ App Killer ตัวใหม่ๆ ในวงการคอมพิวเตอร์ที่ต้องการซีพียูแรงๆ หากเราใส่ App Killer ในซีพียูรุ่นเก่า ไม่เพียงแต่จะไม่เพิ่มประสิทธิภาพเท่านั้น กลับเป็นการหน่วงประสิทธิภาพให้ช้าลงเสียอีก ท่านผู้อ่านคงเคยประสบกับตัวเองแล้วว่า บางครั้งติดตั้งโปรแกรมตัวใหม่ๆ กับเครื่องเก่าแล้ว ทำให้เครื่องทำงานช้าลงจนชงกาแฟหมดไปหลายกาแล้ว ยังไม่เริ่มทำงานสักที และเบอร์รุ่นซีพียูเก่าๆ ก็คือ คุณภาพของคนในสังคม และระบบสังคม ความล่าช้าและทัศนคติเจ้าขุนมูลนายของราชการก็ถือเป็นซีพียูรุ่นเก่าตกสเปกเหมือนกัน เชื่อเถอะว่า ข้าราชการร้อยละ 99.99 % จะปฏิเสธว่าไม่จริง แถมโกรธด้วยที่ไปกล่าวหาเขาเช่นนั้น แต่พฤติกรรมหลายๆ อย่างก็พิสูจน์ว่าสิ่งที่ปฏิเสธไม่ตรงกับสิ่งที่เป็นจริงในสายตาของประชาชน เช่นการหวงตำแหน่ง ต้องกันที่จอดรถไว้ให้เจ้านาย เวลาเจ้านายเรียกประชุมโดยไม่ได้นัดหมาย พวกท่านก็พร้อมที่จะเบี้ยวนัดเอกชนที่นัดล่วงหน้าได้เสมอ เป็นอาทิ
โจทย์สำคัญสำหรับพวกเราที่อยู่ร่วมโชค หรือจะเรียกว่าชะตากรรมก็แล้วแต่ในสังคมนี้ ที่ต้องทำการบ้านกันต่อไปคือ.
..จะถอดรหัสแอปแต่ละตัวอย่างไร ..อย่างเช่นการศึกษาที่เราเคยถอดรหัสว่า อ่านออกเขียนได้ ในสมัยนี้คอมพิวเตอร์ก็อ่านออกเขียนได้ ลิงชิมแปนซีก็เริ่มอ่านออกเขียนได้ แถมยังคิดเลขเบื้องต้นได้ด้วยซ้ำ ดังนั้น การศึกษาจึงเป็นเรื่องที่ลึกซึ้งกว่าแค่ที่เราพูดตามๆ กันมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ห้าเป็นต้นมา
…เราจะอัพเกรดยกเครื่องใหม่หมดทั้ง ซีพียู และ App ใหม่ๆ ได้อย่างไร.. อย่างน้อยๆ ก็เริ่มจากตัวเองก่อน แล้วค่อยเป็นองค์กร สังคมเล็กๆ ที่อยู่