10/04/2023

มาทำความรู้จักกับ Microsoft Private Cloud

โดย วิสิทธ์ ทองภู่ (ตีพิมพ์ในนิตยสาร Eworld ฉบับเดือน มีนาคม 2012)

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เรื่องราวที่ผมจะนำเสนอในบทความนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ Cloud Computing โดยใช้เทคโนโลยีและโซลูชั่นของทางไมโครซอฟท์ครับ ก่อนอื่นต้องบอกว่าเรื่อง ราวของ Cloud นั้นกำลังเป็นสิ่งที่หลายๆ องค์กรกำลังให้ความสนใจและเตรียมวางแผนที่จะใช้งาน Cloud เพื่อนำเอาเทคโนโลยีดังกล่าวมาช่วยปรับปรุงทำให้ ระบบคอมพิวเตอร์หรือไอทีสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วเพื่อตอบสนอง ความต้องการทางธุรกิจ อีกทั้ง Cloud ยังช่วยให้ระบบ คอมพิวเตอร์ขององค์กรมีความยืดหยุ่นและทำงานได้อย่างมี ประสิทธิภาพมากขึ้น และ สิ่งที่ขาดไม่ได้แน่นอนคือช่วยองค์กรประหยัดค่าใช้จ่ายอีกด้วย ครับ จากการที่ผมได้ พบปะและพูดคุยกับลูกค้า พบว่าหลาย ๆ ท่านยังขาดความเข้าใจและยังสับสนกับ Cloud โซลูชั่นที่มีอยู่ในท้องตลาดมากมาย ไม่ว่าจะเป็นของทาง Microsoft, Google และอื่นๆ อีกมากมาย อีกทั้ง Cloud ยังมีหลายชนิดให้เลือกใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น Private และ Public Cloud ครับ ดังนั้นผมจึงอยาก นะหยิบยกเอาเรื่องราวของ Cloud ของทางไมโครซอฟท์ มาให้ท่านผู้อ่านได้รับทราบและเข้าใจอย่างถูกต้องกันครับ เพื่อที่จะได้สามารถทำการวางแผนในการที่จะนำเอา Cloud เข้ามาใช้งานในองค์กร และ ก่อนอื่นเลยเรามาทำความรู้จักกับ Cloud กันก่อนว่าคืออะไรครับ

Cloud Computing คืออะไร ?

ก่อนอื่นต้องขอบอกท่านผู้อ่านเอาไว้ก่อนว่า คำนิยามของ Cloud Computing นั้นมีอยู่มากมายครับ แต่สำหรับผมแล้วผมได้พยายามเรียบเรียงให้ท่านผู้อ่าน สามารถทำความเข้าใจได้ง่ายว่า Cloud Computing คือ การให้บริการทางด้านไอทีหรือคอมพิวเตอร์ โดยเริ่มตั้งแต่ สายแลนที่เชื่อมต่อกันระหว่างเครื่องของผู้ใช้งานในองค์กร และเชื่อมต่อไปยังเครื่องเซิร์ฟเวอร์ต่างๆ นอกจากนั้นยังมีสายไฟที่นำกระแสไฟฟ้ามาให้เครื่องของเรา และเซิร์ฟเวอร์ทั้งหมดในองค์กรสามารถทำงานได้ และยังรวมไปถึงฮาร์ดแวร์ ต่างๆ ที่อยู่ในเครื่อง ไม่ว่าจะเป็น ซีพียู, แรม, ดิสก์ และเน็ตเวิร์ค นอกจากนี้ แล้วยังมีแอพพลิเคชั่นต่างๆ ที่ให้บริการกับผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น ระบบเมล, ระบบฐานข้อมูล ฯลฯ ดัง นั้นเราจึงนิยามว่า Cloud Computing คือ การให้บริการทางด้านไอทีที่ครอบคลุมทั้งหมด ไม่ได้เฉพาะเจาะจงถึงส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่น ไม่ได้ระบุหรือเฉพาะเจาะจงที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์อย่างเดียว หรือไม่ได้มองเฉพาะแค่แอพพลิเคชั่นอย่างเดียว แต่มองทั้งหมดว่านี่คือการให้บริการทางด้าน ไอที หรือเรียกว่า “IT as a Service” ครับ แต่มีสิ่งที่สำคัญคือ การให้บริการที่ว่านี้จะเป็นแบบ On-demand และทางผู้ใช้งานสามารถปรับเปลี่ยน, เพิ่มหรือลดและจัดการสิ่งที่อยู่ใน Cloud ได้ด้วยตัวเองไม่ต้องอาศัยผู้ดูแลระบบครับ เอาล่ะครับหลังจากทราบกัน แล้วว่า Cloud คืออะไรกันแล้ว ในส่วนที่ผมจะอธิบายต่อไป คือ คุณสมบัติของ Cloud ไม่ว่าจะเป็น Private หรือ Public ก็ จะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ครับ

เริ่มด้วยคุณสมบัติแรกคือ Resource Pooling คือ การนำเอา Resources ต่างๆ มารวมและแชร์กันใช้งาน เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับองค์กร สิ่งที่ผมอยากให้ท่านผู้อ่านเข้าใจ คือ คำว่า “Resource” ในมุมของ Cloud คือ สิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • ซี พียู, แรม
  • ดิสก์ และสตอเรจ
  • เน็ต เวิร์ค
  • Virtual Machines

โดย Resource เหล่านี้จะถูกกำหนดให้ถูกนำไปใช้งานใน Cloud โดยผู้ใช้งานในองค์กรจะเป็นผู้ที่เข้ามาใช้งาน Resource Pool ดังกล่าวนี้ เพราะฉะนั้นในงานจริง เราจะต้องมีการวางแผนและเตรียมพร้อมฮาร์ดแวร์สำหรับที่จะนำมาทำเป็น Resource Pool เพื่อรอง รับการใช้งานในองค์กรครับ

คุณสมบัติต่อมาคือ Rapid Elasticity คือ ผู้ใช้งานหรือผู้ใช้บริการ Cloud สามารถปรับเปลี่ยน Resource ได้ตามความ ต้องการ เช่น ถ้าผมเปิดให้บริการ E-Commerce เว็ปไซต์ ผมมีการวางแผนและคาดการณ์ว่าในช่วงปีใหม่จนถึงตรุษจีน จะมีลูกค้ามาใช้บริการเว็ปไซต์ของผมเป็นจำนวนมาก เพราะฉะนั้นผมสามารถวางแผนในการปรับเปลี่ยนและเพิ่มเติม จำนวนเว็บเซิร์ฟเวอร์ของผมให้สามารถรองรับกับความต้องการและแผน ดังกล่าวนี้ได้ และ เมื่อผ่านพ้นช่วงเทศกาลไปแล้วผมสามารถปรับลดจำนวนเว็บเซิร์ฟเวอร์ ของผมลงให้เหลือตามปรกติ ซึ่ง กระบวนการทั้งปรับเพิ่มและลดจำนวนเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่ผมกล่าวไป นั้นคือการที่ผมสามารถทำได้โดยอัตโนมัติและได้ด้วยตัวเองครับ

คุณสมบัติต่อไปคือ On-demand Service ถือว่าเป็นคุณสมบัติที่สำคัญอีกอันหนึ่งสำหรับ Cloud คือ การที่ผู้ใช้งานสามารถปรับเปลี่ยน Resource ของตัวเองและทำด้วยตัวเอง ไม่ต้องเสียเวลารอผู้ดูแลระบบอีกต่อไป ผมยกตัวอย่างเรื่องของการสร้าง Virtual Machine ตามที่ผู้ใช้งานต้องการ ในปัจจุบันกระบวนการในการส ร้าง Virtual Machine สำหรับองค์กรที่นำเอาเทคโนโลยี Virtualization เข้ามาใช้งานนั้น การสร้างตลอดจนการจัดการ Virtual Machines จะเป็นหน้าที่ของผู้ดูแลระบบครับ เพราะฉะนั้นถ้าหากผมต้อง Virtual Machine สักตัวหนึ่งมาใช้งาน ผม จะต้องทำการติดต่อไปยังแผนกไอทีเพื่อช่วยจัดการเรื่องดังกล่าว แต่ไม่ได้ทำให้ผมทันทีแน่ นอนครับ อาจจะต้องรอสัก 1-2 วัน หรืออาจจะมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับนโยบายและขั้นตอนของแต่ละองค์กร แต่ถ้าผมใช้ Cloud ผมสามารถทำสิ่งที่ผมต้องการได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลารอครับ

ไปกันที่คุณสมบัติต่อไปคือ Measured Service คือ เราสามารถทำการติดตามข้อมูลการใช้งาน Resource ต่างๆ ที่อยู่ใน Cloud ได้ครับ และเราสามารถทำกระบวนที่เรียกว่า Chargeback หรือคิดค่าบริการกับผู้ใช้งานหรือหน่วยงานที่ใช้งาน Resource ที่อยู่ใน Cloud ได้ ตามที่ใช้จริงครับ

และคุณสมบัติสุดท้ายคือ Broad Network Access คือ ผู้ใช้งานหรือผู้ใช้บริการสามารถใช้งาน Cloud ได้จากทุกที่ ไม่ว่าจะอยู่ที่ออฟฟิศ, ที่บ้าน และที่ใดก็ได้ครับ

เรื่องต่อไปคือ Cloud Computing Service Models คือรูปแบบการให้บริการ Cloud จะมีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ ดังรูปด้านล่างครับ

เริ่มจากรูปแบบแรก คือ Infrastructure as a Service (IaaS)

คือ การให้บริการ Resources ต่างๆ (ดูความ หมายจากข้างต้นครับ) พร้อมกับการนำเอาเทคโนโลยี Virtualization เข้ามาช่วยกันทำงาน เพราะฉะนั้น IaaS คือการให้บริการในส่วนที่เป็น Infrastructure ให้กับองค์กร เพื่อใช้งาน และการให้บริการที่ว่านี้คือ การสร้าง Private Cloud นั่นเองครับ

รูปแบบที่สองคือ Platform as a Service (PaaS)

คือ การให้บริการในส่วนของ Platform ที่เราสามารถใช้ในการสร้างพัฒนา, ทดสอบ และอื่นๆ สำหรับแอพพลิเคชั่นและเซอร์วิสต่างๆ ตัวอย่างเช่น Microsoft Azure, GoogleAppEngine เป็นต้นครับ

รูปแบบที่สามคือ Software as a Service (Saas)

คือ การให้บริการแอพพลิเคชั่นบน Cloud เช่น MS. Office365, Exchange Online, SharePoint และอื่นๆ อีกมากมายครับมีอีกส่วนหนึ่งที่ผมจะอธิบายเพิ่มเติม คือ On-Premise (ด้านซ้ายสุดของรูป) คือ ระบบ Data Center ที่มีอยู่แล้วในแต่ละองค์กร โดยบางองค์กรอาจจะยังมี เซิร์ฟเวอร์ ที่เป็น Physical ทั้งหมดอยู่ใน Data Center หรือบางองค์กรเริ่มนำเอา Virtualization เทคโนโลยีเข้ามาใช้งาน เพื่อลดค่าใช้จ่ายและปรับปรุงให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น มาถึงตรงนี้สิ่งหนึ่งที่ผมอยากให้ท่านผู้อ่านสังเกตคือ เทคโนโลยี Cloud จะเป็นขั้นตอนต่อไปสำหรับองค์กรที่นำเอา Virtualization เทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็น Hyper-V, VMWare หรือ XenServer เข้ามาใช้งาน Cloud จะเป็นส่วนที่เข้ามาต่อยอด เพื่อทำให้การบริการมีความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยอาศัย Virtualization เป็นพื้นฐานครับ และรูป ด้านล่าง จะเป็นสิ่งที่แสดงถึงเส้นทางที่ท่านผู้อ่านสามารถจะปรับปรุงและ เปลี่ยนแปลงระบบจากปัจจุบันที่มีอยู่เข้าสู่ Cloud ครับผม

สำหรับเรื่องราวต่างๆ ข้าง ต้นจะเป็นเรื่องของ Cloud ทางด้านทฤษฏีครับ เรื่องถัดไปผมจะนำเสนอ Cloud ของทางไมโครซอฟท์ครับ ว่ามีคอนเซปอย่างไร ตลอดจนส่วนประกอบและวิธีในการสร้างและใช้งาน Cloud ของทางไมโครซอฟท์ว่าเป็นอย่างไร

Microsoft Private Cloud คืออะไร

คือ การจัดเตรียม Resources ต่างๆ ขึ้นมาเพื่อให้บริการกับองค์กรเดียวเท่านั้น เช่น ถ้าท่านผู้อ่านทำการสร้าง Cloud ขึ้นมา และกำหนดให้สำหรับออฟฟิศของท่านผู้อ่านใช้อ่านเพียงองค์กรเดียว แบบนี้แหละครับเราจะเรียก Cloud ที่สร้างขึ้นมาในลักษณะแบบนี้ว่า Private Cloud ครับผม และรูปด้านล่างจะเป็นโซลูชั่นของทางไมโครซอฟท์ที่เตรียม ไว้ให้เราใช้งาน โดย ครอบคลุมทั้ง 3 Cloud Service Models ครับ

สำหรับบทความนี้ผมจะโฟกัสไปที่ Iaas Service Model หรือการสร้าง Private Cloud โดยใช้โซลูชั่นของทางไมโครซอฟท์ โดยประกอบไปด้วย Microsoft Windows Server 2008 R2 Hyper-V และ Microsoft System Center 2012 Suite ย้ำ นะครับถ้าจะสร้าง Private Cloud ผมแนะนำครับว่าจะต้องใช้ทั้ง Windows Server 2008 R2 และ System Center 2012 ครับ โดย เฉพาะตัวของ System Center 2012 นั้นถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการบริหารและจัดการ Cloud ไม่ว่าจะเป็น Private และ Public Clouds ดังนั้นถ้า เราต้องการสร้าง Private Cloud โดยใช้โซลูชั่นของไมโครซอฟท์ เราจะต้องมี Windows Server 2008 R2 Hyper-V ซึ่งเป็น Hypervisor ที่จัดทำหน้าที่ในการบริหารและจัดการ Resources ครับ ส่วนการ บริหารและจัดการ Cloud จะเป็นหน้าที่ของ System Center 2012 ดังรูป

มาถึงตรงนี้ผมมีคำถามนึงที่อยากจะถามท่านผู้อ่านครับ ซึ่งคำถามนี้เป็นคำถามที่ผมถูกถามบ่อยมากครับ เพราะลูกค้าที่มาเรียนหรือที่ผมเป็นที่ปรึกษาให้ยังมีความ สับสน เอาล่ะครับมาลองดู คำถามกันเลย “ถ้าองค์กรที่ มีการย้ายระบบ Datacenter ที่มีเซิร์ฟเวอร์เป็น Physical ไปเป็น Virtual Machines แล้ว นั่นหมายความว่าได้นำเอา Virtualization เทคโนโลยีมาใช้แล้ว จะย้ายระบบดังกล่าวเข้าสู่ Private Cloud ได้ อย่างไร และจำเป็นต้อง ย้ายเซิร์ฟเวอร์ที่เป็น Physical มาเป็น Virtual Machines หรือไม่ และระบบปัจจุบันที่ใช้ Virtualization แล้ว มีความแตกต่างจาก Private Cloud อย่างไร” นี่แหละครับ คำถามทั้งยาว และสร้างความสับสนได้มากพอสมควรทีเดียวครับ ถ้าท่านผู้อ่านเป็นผมจะตอบหรืออธิบายอย่างไรครับ หรือท่านผู้อ่านบางท่านที่ อ่านบทความตอนนี้และมาถึงจุดนี้อาจจะมีคำถามคล้ายๆ แบบนี้ก็ได้ครับ ผมให้ เวลาท่านผู้อ่านสัก 1-2 นาทีครับ…..

เอาล่ะครับได้เวลาตอบคำถามแล้วครับ ถ้าท่านผู้อ่านท่านใดมีคำตอบ แล้ว เรามาลองดูครับว่าตรงกับคำตอบที่ผมกำลังจะเฉลยและอธิบายหรือ ไม่ คำตอบ คือ องค์กรที่ได้ย้ายระบบที่เป็น Physical เข้าสู่ Virtualization แล้วต้องบอกว่าสามารถปรับปรุงเพิ่มเติมระบบเข้าสู่ Private Cloud ได้ครับ และถ้าท่านผู้อ่านสังเกตบทความนี้ของผม ในตอนต้นผมได้อธิบายไปแล้วว่า Virtualization เป็นพื้นฐานที่สำคัญให้กับระบบไอทีขององค์กรที่จะก้าวเข้าสู่ Cloud ครับ สำหรับคำถามที่ถามถึงความแตกต่างระหว่างระบบที่ได้นำเอา Virtualization มาใช้แล้วกับ Private Cloud นั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร ผมขอตอบว่ามีความแตกต่างกันแน่นอนครับ ผมขออธิบาย จากรูปด้านล่างครับ

รูปดังกล่าวนี้แสดงถึงการบริหารและจัดการระบบไอทีใน องค์กรที่มีการนำเอา Virtualization มาใช้งานแล้ว ซึ่งผมขอเรียกว่า “Traditional Virtualization” ปัญหาหรือ ข้อจำกัดของ Traditional Virtualization คือ การบริหารและจัดการ Resources ต่างๆ จะเป็นหน้าที่ของผู้ดูแลระบบแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น ดังนั้นหากผู้ใช้งานใน องค์กรต้องการ Virtual Machine มาใช้งานแอพพลิเคชั่นของแผนก ก็จะต้องทำการร้องขอทางเมล, ทางโทรศัพท์ หรือทางอื่นๆ แล้วแต่นโยบายของแต่ละองค์กร สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ ผู้ใช้งานที่ร้องขอจะต้องรอจนกว่าผู้ดูแลระบบจะทำการสร้าง Virtual Machine และติดตั้งระบบปฏิบัติตามที่ได้ร้องขอเอาไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งอาจจะใช้เวลานาน และนอกจากนี้แล้วหลังจาก ที่ได้ Virtual Machine แล้ว หากผู้ใช้งานมีความต้องการ อื่นๆ เพิ่มเติมอีก เช่น ต้องการ Virtual Machine เพิ่ม หรือต้องการปรับเปลี่ยนค่าต่างๆ ใน Virtual Machine เช่น ต้องการ Virtual Processor, Virtual Memory และอื่นๆ เป็นต้น ซึ่งการร้องขอเพิ่มเติมก็จะพบปัญหาเดียวกันคือ การใช้เวลานานในการจะทำสิ่งต่างๆ ที่ต้องการ เพราะจะต้องรอให้ผู้ดูแลระบบเป็นผู้จัดการอีกเช่นเดียวกัน นี่คือปัญหาหรือข้อจำกัด ของ Traditional Virtualization ครับ แต่ถ้าผมจะบอกว่าความต้องการดังกล่าวของผู้ใช้งานจาก ตัวอย่างนี้ สามารถจัดการทุกอย่างได้ด้วยตัวของเขาเอง ไม่ต้องรอหรือให้ผู้ดูแลระบบมาจัดการให้เหมือนเช่นเคย นอกจากนี้แล้วหากผู้ใช้งานต้องการอะไรเพิ่มเติมก็สามารถทำ ได้แบบ On-demand ทันทีเช่นกัน และการกระบวนการดังกล่าวจะทำให้โดยอัตโนมัติ และผู้ใช้งานที่ร้องขอไม่จำเป็นที่จะต้องทราบเรื่องราวของ Virtualization ต่างๆ เลย แต่สามารถที่จะทำการสร้าง Virtual Machine ได้ด้วยตัวเอง และคำตอบที่ผมตอบและอธิบายนี้คือความแตกต่างระหว่าง Traditional Virtualization กับ Private Cloud ครับ และในเวลาเดียวกันท่านผู้อ่านจะทราบถึงข้อจำกัดของ Traditional Virtualization ไปด้วยครับ สำหรับรูปต่อมา จะแสดงถึงคอนเซปการทำงานของ Private Cloud ที่มีความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพมากกว่า

โดยเริ่มจากผู้ดูแลระบบทำการสร้าง Private Cloud เตรียมไว้ก่อน จากนั้นทำการกำหนดผู้ใช้งานว่ามีใครบ้างที่สามารถใช้งานได้ นอกจากนี้แล้วผู้ดูแลระบบยังสามารถกำหนด Quota (โควต้า) ของ Resources ใน Cloud ได้ว่าจะมี Capacity เท่าใด และยังสามารถ กำหนดบทบาทต่างๆ ให้กับ ผู้ใช้งานได้ตามความเหมะสมอีกด้วย รูปต่อไปจะเป็นรูปที่แสดงถึง Products ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Windows Server 2008 R2 Hyper-V และ System Center 2012 Suite ที่จะใช้ในการสร้าง Microsoft Private Cloud

จุดที่น่าสนใจคือในส่วนที่เป็น Hypervisor นั้น Microsoft Private Cloud สามารถบริหารจัดการ Hypervisor ได้หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น Hyper-V, VMWare ESX/ESXi และ Citrix XenServer ดังรูป

และ System Center Suite จะเป็นส่วนที่มาบริหารและจัดการ Clouds ครับ สำหรับ รายละเอียดของ System Center 2012 นั้นผมจะทยอยนำมาเล่าให้ท่านผู้อ่านได้ทราบกันเร็ว ๆ นี้ครับ ผมมีหน้าตาของ VMM 2012 ซึ่งเป็น Product ตัวหนึ่งใน System Center 2012 และเป็นตัวที่ใช้ในการบริหารและจัดการ Clouds ดังรูปด้านล่างครับ

รูปด้านบนคือ การสร้าง Cloud ใน VMM 2012 และ รูปต่อมาเป็นการกำหนด Capacity ใน Cloud ที่เรา สร้างขึ้น

และรูปต่อมาจะเป็น Self-Service Portal ที่ผู้ใช้งานสามารถใช้ในการบริหารและจัดการ Cloud ได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องรอผู้ดูแลระบบ

ผู้ใช้งานสามารถใช้ Self-Service Portal ในการสร้าง Virtual Machine ด้วยตัวเอง ดังรูป

และนี่คือเรื่องราวเกี่ยวกับ Cloud ที่ผมได้นำเสนอครับ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านผู้อ่านที่รักของผมคงจะได้ ประโยชน์ไปบ้างไม่มากก็น้อย และสามารถนำเอาบทความของผมนำไปใช้เป็นข้อมูลประกอบในการ วางแผนในการเตรียมพร้อมระบบสำหรับการก้าวเข้าสู่ Cloud และ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับท่านผู้อ่านท่านใดที่สนใจเรื่องราว ของ Microsoft Private Cloud สามารถเข้าไปดูได้ที่เว็บไซต์ของทางไมโครซอฟท์ได้เลยครับ ตามลิงก์นี้ครับผม

นอกจากผมยังมี Facebook และ Blog สำหรับให้ท่านผู้อ่านสามารถติดต่อสอบถาม หรือติดตามข่าวสารต่าง ๆ ทางด้าน IT ลองแวะเข้าไปดูกันนะครับ และสำหรับตอนนี้หมดเนื้อที่ แล้วครับ แล้วพบกันใหม่ใน ฉบับหน้าครับผม

Leave a Reply

You may have missed