“แอร์อิงค์” หมึกพิเศษผลิตจากเขม่าควันพิษ

ไทเกอร์เบียร์ร่วมกับ Graviky Labs และเอเจนซี่ยักษ์ใหญ่ Marcel Sydney เปิดตัวหมึกชนิดพิเศษ “แอร์อิงค์” (Air-Ink) ที่สร้างมาจากมลพิษทางอากาศ
โดยมลพิษทางอากาศที่ว่านั้นเป็นการเก็บคราบเขม่าจากควันท่อไอเสียของรถยนต์ เรือเฟอร์รี่ เขม่าบนปล่องไฟ หรือแม้กระทั่งบนปั้นจั่นจากทั่วเกาะฮ่องกง และอินเดีย จากนั้นก็นำสารพิษมาทำให้บริสุทธิ์ และปลอดภัยสำหรับ การใช้ขีดเขียนในชีวิตประจำวัน ซึ่งในเบื้องต้นสามารถผลิตหมึกได้ถึง 150 ลิตร หรือเปรียบเทียบได้กับการเผาไหม้ เครื่องยนต์ดีเซลติดต่อกันเป็นเวลา 2,500 ชั่วโมง
ส่วนการนำเสนอนวัตกรรมหมึก Air-ink ผ่านภาพเขียนบนกำแพงนั้นเป็นผลงานของศิลปินจากชาติอาเซียนอย่าง Bao Ho, Caratoes, Xeme และ Christopher H ที่นำหมึกดังกล่าวมาสร้างสรรค์เป็นผลงานโฆษณา
Mie-Leng Wong ผู้อำนวยการของไทเกอร์เบียร์ในภาคพื้นแปซิฟิกเผยว่า “พื้นที่ว่างอย่างถนนไม่ใช่พื้นที่ที่เหมาะ สำหรับการดื่มไทเกอร์เบียร์แต่เพียงอย่างเดียว หากแต่ยังเป็นพื้นที่แห่งการสร้างสรรค์ และจินตนาการด้วย เราเพียงแต่มอบเครื่องมือที่เราสร้างสรรค์ขึ้นมาจากมลพิษทางอากาศ ให้กับกลุ่มคนที่มีความครีเอทีฟในหัวใจนำไป สร้างสรรค์ผลงานต่อ
ด้าน Sharma ผู้ก่อตั้ง Gravity Labs และอดีตนวัตกรแห่งปีจาก MIT เผยว่า “สิ่งประดิษฐ์ดังกล่าวเป็นการทำงาน ร่วมกันที่สมบูรณ์แบบระหว่างเทคโนโลยี ศิลปะ และถนน ซึ่งการที่มันสำเร็จได้ต้องขอบคุณความร่วมแรงร่วมใจ ของทีมงาน ศิลปิน รวมถึงแบรนด์อย่างไทเกอร์เบียร์ที่ให้การสนับสนุน ผมภูมิใจมากกับสิ่งที่พวกเราได้สร้างขึ้น”
ด้าน David Nobay ผู้ก่อตั้ง Marcel Sydney เผยว่า การที่ Air-ink ได้รับการพูดถึงในวงกว้าง ทำให้ผมรู้สึกตื่นเต้น และทำให้ตระหนักว่าเราคือส่วนหนึ่งของการสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้ ขณะที่ Scott Huebscher ECD จาก Marcel Sydney มองว่า สิ่งที่เขาภูมิใจที่สุดอาจเป็นการพัฒนาให้หมึกดังกล่าวมีคุณภาพสูงพอที่จะใช้กับศิลปะ ข้างถนน ไปจนถึงงานอนิเมชันบนแผ่นฟิล์ม
ทั้งนี้ การพัฒนา Air-ink นั้นเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจในการสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนของไทเกอร์เบียร์ จากประโยคที่ว่า ‘uncage the Tiger inside’ ซึ่งทางไทเกอร์เบียร์มีแผนจะเปิดตัวหมึก Air-Ink นี้ในตลาดเอเชียช่วงปี 2017 โดยในปัจจุบัน ไทเกอร์เบียร์อยู่ระหว่างการพัฒนาหมึกดังกล่าวร่วมกับค่าย Gravity Labs เพื่อผลิตเป็น โปรดักซ์ใหม่ ๆ อยูนั่นเอง
ที่มา http://www.campaignbrief.com/