ระบบความปลอดภัยอัตโนมัติที่ช่วยให้องค์กร จัดการกับภัยคุกคามได้อย่างทันท่วงที

ปัจจุบันนี้มีหลายองค์กรไม่ว่าจะขนาดเล็ก กลาง หรือใหญ่ ต่างประสบปัญหาความเสี่ยงที่เกินระดับที่ยอมรับได้ จากเหตุผลด้านความเสี่ยง ปริมาณ ความซับซ้อน และความสำเร็จในการโจมตีที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น รวมทั้งทีมงานด้านความปลอดภัยที่มักมีขนาดเล็กและถูกจำกัดทรัพยากร
จากรายงานของ Ponemon Institute พบว่า 74 เปอร์เซ็นต์ของการรั่วไหลของข้อมูลนั้น กลับไม่สามารถค้นพบได้เป็นเวลานานมากกว่า 6 เดือน ซึ่งในโลกธุรกิจยุคใหม่ที่มีความเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา องค์กรไม่สามารถยอมรับความเสียหายจากการคอยแก้ไขหลังเกิดเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยได้ การคอยตรวจพบปัญหาหลังได้รับการร้องเรียนจากผู้ใช้ แล้วค่อยส่งทีมงานด้านไอทีไปจัดการนั้นถือเป็นวิธีที่ไม่มีประสิทธิภาพอีกต่อไป
ภายในองค์กรทุกองค์กรต่างมีจุดเปิดรับส่งข้อมูลกับภายนอกหลายจุดที่อาจกลายเป็นช่องทางการโจมตีของอาชญากรไซเบอร์ได้ แม้หลายองค์กรต่างลงทุนกับการปกป้องทรัพยากรทางดิจิตอลจากการขโมยหรือรั่วไหลของข้อมูล แต่ความสามารถในการมองเห็นสถานะความปลอดภัยของเครือข่ายทั่วทั้งองค์กรกลับยังเป็นเรื่องที่ซับซ้อน และท้าทายอย่างยิ่ง
เปลี่ยนมุมมองด้านความปลอดภัยใหม่
หลายปีที่ผ่านมา ความปลอดภัยทั้งบนเครือข่ายและจุดปลายการเชื่อมต่อต่างถูกมองแยกเป็นสองระบบออกจากกัน โดยไม่ได้มองระบบความปลอดภัยด้านไอทีเป็นระบบนิเวศหนึ่งเดียว แต่ไปแยกแต่ละระบบเป็นเอกเทศโดยไม่ได้คำนึงถึงทรัพยากรหรือเหตุการณ์ที่ระบบเกี่ยวข้อง ผลิตภัณฑ์ความปลอดภัยกลุ่มนี้ถูกออกแบบมาเพื่อกีดกั้นเหตุการณ์ที่ไม่ปลอดภัยให้หยุดอยู่ที่ระบบใดระบบหนึ่ง
ซึ่งแนวคิดดังกล่าวมีความเสี่ยง และพบว่าไร้ประสิทธิภาพในการรับมือกับอันตรายที่มีความซับซ้อน ที่เคลื่อนไหวได้อย่างยืดหยุ่นและทำงานประสานกันเป็นทีมมากขึ้น ระบบความปลอดภัยที่ไม่ได้ทำงานผสานกันนี้อาจทำลายอันตรายบางส่วนได้ แต่ก็ไม่สามารถให้การมองเห็นและความคุมเครือข่ายเพื่อให้ตอบสนองและจัดการได้อย่างรวดเร็ว
อีกทั้งโซลูชั่นกลุ่มนี้ที่พัฒนาให้ซับซ้อน อิงกับชนิดอันตราย เน้นปริมาณอันตรายที่รับมือได้ และทำงานเชิงรับมากขึ้น ต่างมีราคาสูงขึ้นจนไม่เหมาะกับทีมงานด้านความปลอดภัยขององค์กรในปัจจุบันที่มีการจำกัดทรัพยากร
https://www.youtube.com/watch?v=DeeKumt9BaE
จะดีแค่ไหนถ้าระบบความปลอดภัยสามารถประสานงานระหว่างกันได้เหมือนอันตรายที่ซับซ้อนขึ้นในปัจจุบัน โดยเฉพาะการสื่อสารแบบเรียลไทม์ระหว่างเครือข่ายและจุดปลายการเชื่อมต่อ ทั่วทั้งเครือข่ายเพื่อให้ได้การปกป้องที่ดีกว่า
กล่าวคือ ธุรกิจไม่ว่าขนาดใดก็ตาม ย่อมต้องการระบบความปลอดภัยที่ทำงานผสานเป็นหนึ่งเดียวกัน อิงกับระบบนิเวศทางไอทีขององค์กรทั้งหมด และทำงานอย่างอัตโนมัติ รวมทั้งมีระบบข้อมูลอัจฉริยะขึ้นสูงที่ติดตั้งและใช้งานได้ง่ายไปพร้อมกัน
ระบบอัตโนมัติ และการตอบสนองต่ออันตรายอย่างรวดเร็ว
การทำงานแบบอัตโนมัติถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด และเป็นประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมมากที่สุดสำหรับระบบความปลอดภัยแบบซิงโครไนซ์ ที่แต่ละองค์ประกอบแบ่งปันข้อมูลระหว่างจุดปลายการเชื่อมต่อกับเครือข่าย เพื่อประสานงานการตอบสนองต่อพฤติกรรมต้องสงสัยได้อย่างเหมาะสมในทันที โดยที่มนุษย์เข้าไปยุ่งเกี่ยวน้อยมากหรือแทบจะไม่ต้องเข้าไปยุ่งเลย
ตัวอย่างเช่น ถ้ามีจุดปลายการเชื่อมต่อถูกโจมตี ระบบการป้องกันแบบซิงโครไนซ์จะจำกัดบริเวณจุดปลายการเชื่อมต่อดังกล่าวในทันที เพื่อป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลลับจากเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งขั้นตอนการค้นหาและตอบสนองต่อเหตุการณ์ความปลอดภัยลักษณะนี้มักใช้เวลาเป็นสัปดาห์หรือหลายเดือน แต่ด้วยระบบความปลอดภัยแบบซิงโครไนซ์ ทำให้ระยะเวลาตอบสนองลดลงเหลือเพียงไม่กี่วินาทีเท่านั้น
ด้วยระบบความปลอดภัยแบบซิงโครไนซ์ ธุรกิจต่างๆ จะได้ความสามารถในการตอบสนองที่เป็นแบบอัตโนมัติ และทำงานผสานร่วมกันเพื่อป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ ซึ่งช่วยลดเวลาและทรัพยากรที่ต้องใช้ในการตรวจสอบและค้นหาเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยลงได้เป็นอย่างมาก ทำให้เอาทรัพยากรที่ประหยัดได้ไปใช้กับกิจกรรมอื่นที่ทำรายได้ในบริษัท