06/05/2023

รถยนต์ไฟฟ้าจากการดัดแปลงรถยนต์ใช้แล้ว นวัตกรรมของคนไทยที่ต้องปรบมือให้

002

ที่ผ่านมา เราได้นำเสนอข่าวของการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าของประเทศเพื่อนบ้านในย่านอาเซียนมาพอสมควร ก็ได้แต่เฝ้ารอว่าเมื่อไหร่จะมีนววัตกรรมรถไฟฟ้าของคนไทยบ้าง

วันนี้ความฝันของเราน่าจะใกล้ความเป็นจริงแล้วเมื่อสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติจับมือกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พัฒนาต้นแบบรถไฟฟ้าจากการดัดแปลงรถใช้แล้ว สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงคันนี้ มีความจุแบตเตอรี่ระบบไฟฟ้าอยู่ด้านหลัง และมีกำลังถึง 19.8 กิโลวัตต์-ชั่วโมง (kWh) ซึ่งมีกำลังไม่ต่างจากรถยนต์ทั่วไปที่มีความจุอยู่ 24 kWh โดยจะใช้เวลาในการชาร์ตแบตเตอรี่ประมาณ 4 ชั่วโมง โดยแท่นชาร์ตจะทำงานเมื่อนำการ์ด RFID แสกนที่ตัวแท่นชาร์ต จะทำให้วิ่งได้ในระยะทางไม่เกิน 130 กิโลเมตร โดยอัตราความเร็ว 70-80 กิโลเมตร/ชั่วโมง

 

ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ส่งมอบต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้า จากการดัดแปลงรถยนต์ใช้แล้ว จำนวน 1 คัน โดยมีนายสุนชัย คำนูณเศรษฐ์ ผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นผู้รับมอบ เพื่อนำไปใช้งาน และจะเก็บผลทดสอบสำหรับนำไปปรับปรุงและพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าในอนาคต ย้ำความสำเร็จครั้งนี้จะช่วยกระตุ้นการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าที่ลดมลภาวะ และสร้างความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้กับประเทศต่อไป

010

007
ภาพภายในห้องเครื่องรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงต้นแบบ ติดตั้งชุดจ่ายกระแสไฟฟ้า อีซียูและมอเตอร์กำลังสูง
011
แบตเตอรี่ติดตั้งอยู่ส่วนท้ายของห้องโดยสาร

ดร. ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวถึงผลการร่วมมือระหว่าง กฟผ. กับ สวทช. ว่า เมื่อปี 2553 กฟผ. ได้มีแนวคิดริเริ่มการพัฒนารถยนต์นั่งเป็นยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งในขณะนั้นยานยนต์ไฟฟ้ายังไม่เป็นที่นิยม และผู้ว่าการ กฟผ. ได้เล็งเห็นถึงบทบาทของเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าที่จะมีบทบาทสำคัญต่ออนาคตของ ประเทศ จึงได้ให้เกียรติกับ สวทช. โดยการสนับสนุนทุนวิจัยให้กับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อดัด แปลงรถไฟฟ้า โดยการดำเนินการดัดแปลงรถมี 2 รุ่น คือ Honda Jazz และ Toyota Vios ซึ่งยานยนต์ไฟฟ้าถือว่าเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายของรัฐบาลที่อยู่ในแผนของ ประเทศ โดยบรรจุอยู่ในอุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ คือ อุตสาหกรรมยายนต์สมัยใหม่ ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าใน ภูมิภาค

“อย่างไรก็ดี รถที่มีอายุการใช้งานมากแล้วจะเป็นเป้าหมายในการดัดแปลงให้เป็นรถไฟฟ้า สวทช. ได้ดำเนินการดัดแปลงชิ้นส่วนสำคัญเช่น การวางแบตเตอรี่ ระบบระบายอากาศ ระบบจัดการแบตเตอรี่ ดัดแปลงตัวถังจากบางอุปกรณ์ รวมถึงจัดตั้งอุปกรณ์ติดตามข้อมูล เป็นต้น ทำให้สามารถใช้ในการขับเคลื่อนได้จริง นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการจดทะเบียนเป็นรถไฟฟ้าสำเร็จเรียบร้อยแล้ว จึงขอส่งมอบรถยนต์ไฟฟ้าซึ่งดัดแปลงจากรถยนตร์ Honda Jazz ให้กับ กฟผ. เพื่อนำไปใช้งานจริง และทาง สวทช. ได้เก็บข้อมูลเพื่อนำผลทดสอบมาปรับปรุงและพัฒนาเทคโนโลยีในอนาคต พร้อมทั้งเชื่อมั่นว่าความสำเร็จจากความร่วมมือกันในครั้งนี้จะสร้าง ประโยชน์ให้กับประเทศชาติ และแสดงให้เห็นถึงประโยชน์จากการวิจัยที่นำไปใช้งานได้จริงในภาคเอกชน และภาคอุตสาหกรรม รวมถึงกระตุ้นให้มีส่วนช่วยในการลดมลภาวะ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” ดร. ทวีศักดิ์ กล่าวทิ้งท้าย

 

003
หัวจ่ายชาร์ทแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า สามารถใช้บัตรแตะเพื่อเปิดใช้งานการชาร์ทแบตเตอรี่เข้ารถยนต์ไฟฟ้าต้นแบบ

005-1

 

ด้าน นายสุนชัย คำนูณเศรษฐ์ ผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า “กฟผ. ได้ร่วมกับ สวทช. พัฒนาต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้าจากการดัดแปลงรถยนต์ใช้แล้ว ภายใต้ “โครงการร่วมสนับสนุนทุนวิจัยและพัฒนา กฟผ.-สวทช.” โดยออกแบบชิ้นส่วนหลักของรถยนต์ให้สามารถขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าจากพลังงาน แบตเตอรี่ (Battery Electrical Vehicle: BEV) นับเป็นรถยนต์พลังงานทางเลือกที่ประหยัดพลังงาน และลดการเกิดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุการเกิดภาวะโลกร้อน ตั้งแต่ปี 2553 ทั้งนี้ ต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงคันดังกล่าว จะถูกดำเนินการทดสอบและเก็บข้อมูลการใช้งานจริงในเขตกรุงเทพมหานครและ ปริมณฑล เพื่อนำผลการทดสอบที่ได้มาต่อยอดในการพัฒนาและขยายผลรถยนต์ไฟฟ้าอื่นๆ ต่อไป”

นายวราวุธ ศิริผล ผู้ช่วยผู้ว่าการนโยบาย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า รถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงคันนี้จะนำมาใช้งานจริง โดยนำไปไว้ที่ฝ่ายบริการ (อบก.) เพื่อให้บริการแก่ผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. ในการจะออกไปปฏิบัติงานนอกสถานที่ที่มีระยะทางไม่เกิน 100 กิโลเมตร ซึ่งจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ของ กฟผ. และแสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยีอนาคตและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนนโยบายการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา

005

ทั้งนี้ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์บ้านเมืองระบุว่า สำหรับงบประมาณที่ใช้ในการดัดแปลงตั้งไว้ประมาณ 2-3 แสนบาท ซึ่งเป็นราคาที่เหมาะสมหากเทียบกับราคารถไฟฟ้าใหม่ที่ตกอยู่คันละประมาณ 3-6 ล้านบาท และยิ่งเป็นฝีมือของคนไทย ก็เป็นเรื่องที่น่าภาคภูมิใจ ควรที่จะสนับสนุนและโครงการนี้จะมีการพัฒนา ปรับปรุงรถไฟฟ้าต้นแบบต่อไป เนื่องจากนโยบายส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (BEV) เป็นนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางที่จะพัฒนารถ BEV ต่อไป

Leave a Reply