ผลสำรวจความสุขของคนกรุงเทพ
Life’s Good Poll แบบสำรวจความสุขของคนกรุงเทพมหานครโดยความร่วมมือระหว่าง บริษัท แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด และสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เผยผลสำรวจด้านทัศนคติของคนกรุงเทพฯ ที่มีต่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมซึ่งส่งผลต่อชีวิตที่มีความสุขว่า
– คนกรุงเทพฯ ยกให้โทรศัพท์มือถือเป็นสิ่งที่ช่วยเติมเต็มให้ชีวิตมีความสุขเป็นอันดับ หนึ่ง (ร้อยละ 32)
– โทรทัศน์และโน้ตบุ๊คเป็นอันดับรองลงมา (ร้อยละ 24 และ 19 ตามลำดับ)
– เทคโนโลยีที่จะช่วยให้พวกเขามีความสุขมากขึ้น คือการมีสัญญาณ W-iFi ฟรีและแรงครอบคลุมทั่วพื้นที่กรุงเทพฯ
คนกรุงเทพฯที่ร่วมการสำรวจ ยังเชื่อว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าและแก็ดเจ็ตทั้งหลายช่วยให้ชีวิตง่าย สะดวกมากขึ้น (ร้อยละ 35)
ในขณะที่เทรนด์ของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่คนกรุงเทพฯ ต้องการคือ มีราคาที่เหมาะสม (ร้อยละ 36) รวมถึงการมีคุณภาพที่ดี ทนทานและใช้งานง่าย (ร้อยละ 20, 18 และ 11 ตามลำดับ)
เมื่อถามถึงทัศนคติด้านความสุขของตนเองและสังคม เชื่อว่า
– ปัญหาด้านเศรษฐกิจและค่าครองชีพเป็นปัญหาสังคมที่จะส่งผลต่อชีวิตให้มีความ สุขมากยิ่งขึ้น หากได้รับการแก้ไข (ร้อยละ 32)
– รองลงมาคือปัญหาด้านการเมือง คอร์รัปชั่น และความสามัคคีภายในชาติ (ร้อยละ 16 เท่ากัน)
และสำหรับประเด็นเรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ซึ่งจะส่งผลต่อคนไทยในปี 2558 ที่จะถึงนี้ ปรากฏว่า
– ร้อยละ 35 เชื่อว่าคนไทยจะเสียเปรียบมากกว่า เพราะแรงงานต่างชาติจะเข้ามาแย่งแรงงานไทย
– ร้อยละ 12 ไม่รู้จักและไม่รู้เลยว่า AEC จะส่งผลต่อคนไทยอย่างไร
– จำนวนที่เหลือเชื่อว่า AEC จะช่วยให้เกิดการสร้างงาน และกระตุ้นเศรษฐกิจไทย และช่วยให้แรงงานไทยทำงานต่างประเทศได้มากขึ้น
ผลสำรวจของ Life’s Good Poll เผยว่าความสุขในภาพรวมของคนกรุงเทพฯ มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.37 โดย
– คนที่คิดว่าตนเองมีความสุขมากถึงมากที่สุดมีเพียงร้อยละ 7
– มีความสุขปานกลาง ร้อยละ 54
– และน้อยถึงน้อยที่สุด ร้อยละ 39
เมื่อจำแนกตามช่วงอายุ กลุ่มที่มีความสุขน้อยที่สุดคือ 20-25 ปี ผลสำรวจยังแสดงให้เห็นว่านิยามของชีวิตที่มีความสุขนั้นแตกต่างกันตามช่วง อายุ
– คนกรุงเทพฯ อายุ 30 ปีขึ้นไป (ร้อยละ 26) เชื่อว่าชีวิตที่มีความสุขคือ การมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ไร้โรคภัยไข้เจ็บ
– กลุ่มหนุ่มสาวอายุ 20-25 ปี (ร้อยละ 23) จะมีความสุขหากได้ทำในสิ่งที่ตัวเองรักและใช้ชีวิตตามที่ต้องการ
นอกจากนี้ การมีเพื่อนร่วมงานที่ดีกลับมีความสำคัญต่อความสุขในการทำงานของคนกลุ่มนี้ มากกว่าความก้าวหน้าในหน้าที่การงานซึ่งส่งผลต่อความสุขของกลุ่มคนอายุ 36 ปีขึ้นไป (ร้อยละ 25)