06/09/2023

บริการจัดการข้อมูลสถานีไฮโดรเจนสำหรับรถยนต์ Toyota Mirai

นวัตกรรมเพื่อมนุษยชาติ

การถือกำเนิดของยานพาหนะเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell) และสถานีไฮโดรเจนถือเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีอันน่าตื่นเต้นซึ่งมีศักยภาพในการสร้างสภาพแวดล้อมของเราให้สะอาดและเป็นสีเขียวมากขึ้น เพื่อช่วยเปิดให้เทคโนโลยีมีการใช้งานกันในวงกว้างมากขึ้นนั้น ฟูจิตสึจึงได้เริ่มให้บริการจัดการข้อมูลสถานีไฮโดรเจน และโตโยต้าก็มีการนำบริการนี้ไปใช้เพื่อให้ข้อมูล ด้านสถานที่ตั้งและความพร้อมองสถานีไฮโดรเจนทั่วทั้งประเทศญี่ปุ่น โดยบริการที่ว่านี้ถือเป็น แพลตฟอรม์ที่เปิดทางให้มีการจัดตั้งระบบนิเวศแบบเปิดซึ่งผู้ผลิตรถยนต์และบริษัทพลังงานรายอื่นสามารถเข้าร่วมได้

001

ยานพาหนะเซลล์เชื้อเพลิงใหม่เพื่อสังคมสีเขียว

การดำเนินชีวิตประจำวัน ธุรกิจและสังคมของมนุษย์ต่างต้องพึ่งพาการบริโภคพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติเป็นจำนวนมหาศาล อย่างที่ทราบกันดีว่าการบริโภคพลังงานในปริมาณมากจะส่งผลร้ายแรงกับโลกมากเช่นกัน ในปัจจุบันจึงมีมาตรการมากมายเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม และรถยนต์พลังงานเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel cell vehicle – FCV) ก็ได้กลายเป็นสิ่งที่หลายคนจับตามอง โดย FCV ซึ่งใช้ไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิง อาจทำให้ในอนาคตเราจะมีรถที่ไม่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาเลย แต่กระนั้นการที่จะทำให้มีการใช้งานรถยนต์พลังงานเซลล์เชื้อเพลิงกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น เรากลับไม่มีโครงสร้างพื้นฐานที่คอยให้พลังงานไฮโดรเจน อย่างเช่น สถานีเติมเชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่เปิดให้บริการอย่างเพียงพอกับความต้องการแม้ว่าประเทศญี่ปุ่นจะล้ำหน้าประเทศอื่นในเรื่องการสร้างโครงสร้างพื้นฐานการให้พลังงานไฮโดเจน แต่สถานีไฮโดรเจนในประเทศก็ยังคงมีอยู่น้อยมากเมื่อเทียบกับสถานีน้ำมัน นอกจากนี้ ผู้ขับขี่เองก็หาสถานีไฮโดรเจนเองได้ยาก เพราะไม่มีข้อมูลเพียงพอ และเพื่อช่วยเสริมกำลังสถานีไฮโดรเจนที่มีอยู่น้อย จึงได้มีการจัดตั้งสถานีไฮโดรเจนแบบเคลื่อนที่ขึ้น แต่กระนั้นผู้ขับขี่รถก็ยังหาสถานีเคลื่อนที่ได้ยากกว่าสถานีปกติอยู่ดี ดังนั้นในการทำให้มีคนหันมาใช้ FCV มากขึ้น เราจึงจำเป็นต้องสร้างหนทางที่ให้ผู้ขับขี่หาจุดเติมเชื้อเพลิงได้ง่ายมากขึ้น โดยหนทางการแก้ปัญหานี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งผู้ผลิตรถยนต์และบริษัทพลังงาน

 002

ก้าวข้ามขีดจำกัดของอุตสาหกรรมและกฎเกณฑ์ในแบบเดิมๆ

ในการขยายการใช้งานรถยนต์พลังงานเซลล์เชื้อเพลิงสู่วงกว้างจึงต้องมีการแก้ไขปัญหาหลายประการด้วยกัน อย่างแรกสุด คือจะต้องเพิ่มความสบายใจให้กับผู้ขับขี่ยานพาหนะ FCV โดยการให้ข้อมูลสถานที่ตั้งของสถานีไฮโดรเจน เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาที่ว่านี้และช่วยให้ FCV เป็นที่ยอมรับมากขึ้น เมื่อเร็วๆ นี้ฟูจิตสึได้เปิดตัวบริการจัดการข้อมูลสถานีไฮโดรเจน ซึ่งทำงานอยู่บน SPATIOWL ซึ่งเป็นโซลูชั่นด้านสังคมอัจฉริยะของฟูจิตสึ โดย SPATIOWL เป็นบริการคลาวด์ของฟูจิตสึสำหรับการจัดการข้อมูลสถานที่ตั้ง ซึ่งให้ผู้ขับขี่ได้ข้อมูลจากฐานข้อมูลด้านสถานที่ขนาดใหญ่ บริการที่ว่านี้มาพร้อมกับองค์ประกอบฟังก์ชั่นมากมาย อย่าง เทเลแมติกส์ (Telematics), ระบบข้อมูล การจราจรแบบเชิงลึก, การสังเคราะห์เสียงพูด (Speech Synthesis) และกลไกการปกป้องข้อมูลส่วนตัว SPATIOWL สามารถใช้งานแบบแพลตฟอร์มในรูปแบบบริการ (Platform as a Service – Paas) แบบเปิดโดยแพลตฟอร์มนี้เปิดโอกาสให้องค์กรต่างๆ ได้พัฒนาบริการให้ข้อมูลสถานที่ที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองได้อย่างรวดเร็ว แพลตฟอร์มแบบเปิดนี้ช่วยให้ผู้บริการข้อมูลสถานที่ตั้งและผู้ใช้ข้อมูลนี้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในระบบนิเวศได้ง่ายขึ้นและมีการคาดการณ์ว่าบริการจัดการข้อมูลสถานีไฮโดรเจนนี้จะมีบทบาทสำคัญในการขยายระบบนิเวศไปสู่ผู้ผลิตรถยนต์รายอื่น ซึ่งส่งให้มีการใช้งาน FCV ในวงกว้างมากขึ้น

 

ในเดือนธันวาคม 2014 ที่ผ่านมา ทางโตโยต้าได้เปิดตัวรถรุ่นมิไร (Mirai) ซึ่งเป็นรถพลังงานเซลล์เชื้อเพลิงรุ่นแรกที่ผลิตออกมาในเชิงพานิชย์ โดยโตโยต้ารุ่นมิไรนี้ขับเคลื่อนโดยใช้ไฟฟ้าที่เกิดจากการที่ก๊าซไฮโดรเจนทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ นอกจากรถรุ่นมิไรแล้ว โตโยต้ายังได้จดสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับรถพลังงานเซลล์เชื้อเพลิงอีกประมาณ 5,680 สิทธิบัตรรวมถึงสิทธิบัตรที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบและเปิดให้ประชาชนทั่วไปได้ใช้ด้วย

 

แพลตฟอร์มคลาวด์แบบเปิดช่วยให้การเข้าร่วมในระบบนิเวศทำได้ง่ายขึ้น

โตโยต้าได้เปิดให้บริการใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อรถมิไรโดยเฉพาะบนแพลตฟอร์มให้บริการเทเลแมติกส์ของโตโยต้าที่เรียกว่าT-Connect โดยบริการนี้จะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ขับขี่รถมิไร ซึ่งมีการดึงข้อมูลการจัดการข้อมูลสถานีไฮโดรเจนSPATIOWL ผู้ขับขี่สามารถตรวจสอบข้อมูลสถานีได้จากแอพ 2 ตัว โดยแอพตัวแรกคือ Hydrogen Station List (รายชื่อสถานีไฮโดรเจน) ซึ่งติดตั้งอยู่ในระบบนำทางของรถ โดยโปรแกรมHydrogen Station List นี้จะดึงข้อมูลสถานีไฮโดรเจนที่อยู่ใกล้ที่สุด 3 สถานี และแสดงบนหน้าจอโดยอัตโนมัติ ส่วนแอพที่ 2 ก็คือ Pocket Mirai ซึ่งเป็นแอพที่ใช้งานบนสมาร์ตโฟนที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานีไฮโดรเจนในญี่ปุ่นแบบเรียลไทม์ รวมถึงสถานที่ตั้ง และเวลาให้บริการ นอกจากนี้ Pocket Mirai ยังแสดงข้อมูลปริมาณก๊าซไฮโดรเจนที่เหลือในรถและระยะทางที่สามารถวิ่งได้ โดยข้อมูลที่แสดงทั้งใน Hydrogen Station List และ Pocket Mirai นั้นจะมอบความปลอดภัย ความอุ่นใจ และความสะดวกสบายให้กับผู้ขับขี่

003

บริการจัดการข้อมูลสถานีไฮโดรเจนยังได้เตรียมฟังก์ชั่นเพื่อผู้ให้บริการไฮโดรเจนลงทะเบียนสถานีไฮโดรเจนของตนในระบบโดยการกดปุ่มแผนที่ที่เบราเซอร์เว็บ และ SPATIOWL ก็จะทำการคำนวณละติจูดและลองจิจูดของสถานีไฮโดรเจนบนแผนที่โดยอัตโนมัติ พร้อมกับลงทะเบียนสถานีนั้นไว้ในระบบซึ่งจะปรากฏบนหน้าจอของ โปรแกรม Hydrogen Station Listและ Pocket Mirai โดยทันที คุณลักษณะนี้เปิดโอกาสให้ผู้ให้บริการไฮโดรเจนได้ลงทะเบียนและอัพเดตข้อมูลสถานีไฮโดรเจนได้อย่างง่ายดาย โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งระบบใหม่

Takako Yamada จากแผนก Telematics Business หน่วยงาน e-Toyota ระบุไว้ว่า “จากการร่วมมือของผู้ให้บริการไฮโดรเจน และบริการที่ทางฟูจิตสึออกแบบให้ตรงกับความต้องการของเราโดยเฉพาะนั้น เราจึงสามารถเปิดให้บริการจัดการข้อมูลสถานีไฮโดรเจน ได้พร้อมๆ กับการเปิดตัวรถมิไร เราคิดว่าบริการนี้จะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ผู้ขับขี่รถมิไรและเราจะยังคงเดินหน้าพัฒนาบริการโดยการนำความคิดเห็นของลูกค้า และผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามายกระดับการให้บริการให้ดีขึ้น

 

ฟูจิตสึกำลังจัดทำฟังก์ชั่นใหม่อย่างเช่น Web API สำหรับ SPATIOWL เพื่อที่ผู้ให้บริการไฮโดรเจนจะได้ลงทะเบียนสถานีให้บริการไฮโดรเจนของตนโดยอัตโนมัติจากระบบของตนเองการกระทำเช่นนี้เปิดโอกาสให้ผู้ให้บริการได้ร่วมระบบนิเวศ FCV ได้โดยสะดวก และส่งผลให้ฟูจิตสึกลายเป็นผู้ที่มีส่วนในการทำให้ไฮโดรเจนเป็นทางเลือกที่ดีอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ขับขี่

อุตสาหกรรมรถยนต์ พลังงาน และไอซีทีทำงานร่วมกันเพื่อจัดตั้งระบบนิเวศขึ้นมาใหม่ ซึ่งจะก้าวข้ามขีดจำกัดของอุตสาหกรรมแบบเดิมๆ เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมของเราให้ดีขึ้น

 

Customer Profile

Toyota Motor Corporation

Address : Toyota City, Aichi Prefecture, Japan

Founded : 1937

Employees : 338,875 (consolidated)

URL : http://www.toyota-global.com/

Leave a Reply